ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทำร่างแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมฯ ฉบับใหม่เสร็จสิ้น และส่งต่อให้เข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ไปแล้วนั้น วันที่ 7 ธันวาคม 2560 ที่ศูนย์ประชุมพญาไทพลาซ่า จึงมีการจัดเสวนาเรื่อง “วิเคราะห์ ร่าง พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อม กับ เจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญ 2560” โดยมีผู้ร่วมพูดคุยประกอบด้วย ดร.สมิทธ์ ตุงคะสมติ อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต, ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พมิล เครือข่ายนักวิชาการ EHIA อดีตอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รศ.ดร.อภิชาติ สถิตนิรามัย นักเศรษฐศาสตร์การเมือง อภิปรายว่า รัฐต้องส่งเสริมเศรษฐกิจที่มีนวัตกรรม และต้องมีมาตรการควบคุมเอกชนที่ได้รับการส่งเสริม พร้อมชี้ยุทธศาสตร์ชาติตอนนี้เป็นพียงพิมพ์เขียวของชนชั้นนำกลุ่มเล็กๆ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะออกจากอุโมงค์นี้ได้ยาก
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) อภิปราย ‘ยุทธศาสตร์ชาติกับอนาคตประเทศไทย’ ในการประชุมวิชาการประจำปีสถาบันพระปกเกล้า ‘ประชาธิปไตยไทย: ความท้าทายใหม่ อุดมคติ สิ่งที่เป็นจริง' วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2560
แถลงการณ์เครือข่ายนักพัฒนาองค์กรเอกชน แสดงจุดยืนการไม่ร่วมกับกลไกกับดักสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลทหาร ระบุสามปีผลงานประจักษ์นำประเทศไปสู่ความทุกข์ยาก เอื้อประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ ลดทอนสิทธิชุมชน เพิกเฉยการมีส่วนร่วมและหลักประกันสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชน
เวทีเสวนา ประชารัฐคืออะไร เพื่อคนไทยหรือเพื่อนายทุน? ชี้ประชารัฐไม่ได้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างถ้วนหน้าทุนใหญ่เข้าควบคุมกลไกตลาด เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจเอกเชนขนาดใหญ่มากกว่าคนที่มีรายได้น้อย ทั้งนโยบายนี้ยังเสี่ยงต่อการขยายช่องว่างของความเหลื่อมล้ำของไทยให้มากขึ้นไปอีก
ร่างพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ เข้าสู่ สนช. แล้ว แต่หลักการที่จะบูรณาการอำนาจการจัดการดูแลน่าจะล้มเหลวแต่เริ่ม เพราะ คสช. ก็ใช้มาตรา 44 ตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ขึ้นมาคู่ขนาน หลักการของกฎหมายดูจะรวบอำนาจสู่ศูนย์กลาง และเอื้อให้ธุรกิจขนาดใหญ่
นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม รับทราบข้อกล่าวหาในคดีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวหาเขาในข้อหาหมิ่นประมาทจากการโพสต์วิจารณ์โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ ไอลอว์ถามต่อเรื่องการเคลื่อนไหวในยุคที่ประชาชนต้องร่วมจ่ายความมั่นคงทางพลังงานด้วยเสรีภาพ
ในวันที่รัฐกำลังเร่งผลักดัน โครงการ 'เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก' หรือ 'อีอีซี' เราเลือกจะมาคุยกับ 'สมนึก จงมีวศิน' นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อถอดบทเรียนบาดแผลการพัฒนาก่อนจะก้าวพลาดซ้ำรอยแผลเดิมอีกครั้ง
เครือข่ายปฏิรูปการประกันตัวเพื่อคนจน จัดงานเสวนา “ปฏิรูปการประกันตัวเพื่อความเสมอภาคในสังคม : ร่วมกันแสวงหามาตรการทดแทนการขังระหว่างพิจารณา” เสนอเปลี่ยนระบบใช้เงินประกันตัว เป็นการออกแบบฐานข้อมูลประเมินความเสี่ยงหลบหนี ช่วยคนไม่มีเงินไม่ต้องติดคุก
วงเสวนาวิชาการ มองว่า ความไม่ชัดเจนของระบบการจัดซื้อยาใหม่ จะทำให้การจัดซื้อยาเกิดความล่าช้า และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย