30 มิ..ย.2560 เครือข่ายองค์ภาคประชาสังคม ร่วมกันออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบจากการออกกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ 2560 แถลงการณ์ฉบับนี้รวบรวมและสรุปความคิดเห็นจากนักวิชาการ และภาคประชาชน ที่ศึกษาและได้รับผลกระทบ
จากข้อพิพาทการเสนอแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือกฎหมาย "บัตรทอง" ระหว่างภาคประชาชนกับกระทรวงสาธารณสุข ฝั่งภาคประชาชนชี้แจงบางมาตราที่จริงๆ ก็เห็นด้วยกัน และบางมาตราที่ต้องคัดค้าน
องค์กรสิทธิมนุษยชน 86 แห่ง และคนทำงานภาคประชาสังคม 71 รายชื่อ ร่วมกันออกจดหมายเปิดผนึกถึงประธาน สนช. และ กรธ. เรื่องการออกพ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอให้ยึดหลักการสนธิสัญญาปารีส ให้องค์กรมีความเป็นอิสระ เห็นด้วย "เซ็ตซีโร่"
แถลงการณ์ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม และเครือข่ายองค์กรพันธมิตร เรื่องขอให้รัฐบาลชะลอการผลักดันร่าง พ.ร.บ. 4 ฉบับ และเปิดให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในมาตรา 77
ประสบการณ์หลายสิบปีของการต่อสู้เพื่อขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพของ “กลุ่มคนรักประกันสุขภาพ” กับสถานการณ์ร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ฉบับใหม่ เราคุยกับ นิมิตร์ เทียมอุดม ตัวแทนจากกลุ่มเครือข่ายคนรักประกันสุขภาพ และบอร์ดสปสช. ถึงปัญหาของร่างพ.ร.บ.ใหม่ ว่าทำไมถึงต้องค้าน!
จากการพยายามแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ออกมาคัดค้านเพราะเนื้อหากฎหมายกำลังลดทอนสิทธิและขัดต่อเจตนารมณ์เดิมของกฎหมาย ร่วมไปถึงกระบวนการออกกฎหมายก็ขาดซึ่งการมีส่วนร่วม
องค์กรภาคประชาสังคมออกแถลงการณ์ร่วมเรียกร้องรัฐบาลไทยและภาคธุรกิจให้เคารพสิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมตัดสินใจการดำเนินโครงการ ให้นักปกป้องสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการดำเนินคดีอาญา ฯลฯ
เวทีรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศ พ.ร.บ. คอมฯ ตีความว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊ก คือ ผู้ให้บริการ ไม่ต้องรับผิดกับเนื้อหาที่คนอื่นมาโพสต์หากสามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นการประมวลผลโดยอัตโนมัติ และลบข้อมูลภายในระยะเวลาที่กำหนด ด้าน ISP เห็นด้วยกับขั้นตอนการแจ้งเตือน แต่ต้องมีการพิสูจน์ความผิดด้วย ยังมีคำถามว่า ร่างประกาศนี้จะนำไปสู่การเซนเซอร์ตัวเองของผู้ใช้เน็ตและผู้ให้บริการหรือไม่
อาจารย์ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ แสดงข้อกังวล 12 ข้อในทางกฎหมาย ต่อร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ ที่ให้อำนาจรัฐไร้การตรวจสอบ ชี้รัฐยังสับสนระหว่างเรื่องความปลอดภัยกับการทำสงครามไซเบอร์ ย้ำรัฐไม่ได้มีแค่หน้าที่รักษาความมั่นคง แต่ต้องส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลด้วย
สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวในงานเสวนา "คำพิพากศาล" ว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกลไกรัฐในการสร้างความกลัว และเป็นกระบวนการยุติธรรมเชิงบีบบังคับให้จนมุม ด้าน สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มช. มองว่าปัจจุบันสังคมไทยอยู่ในภาวะ 1 ระบบ 3 มาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ขึ้นอยู่กับว่า บังคับใช้กับใคร กลุ่มประชาชนทั่วไป ผู้ต่อต้าน หรือสนับสนุนรัฐ