ขั้นตอนกว่าจะประกาศ “ภาวะรวมใจแก้วิกฤตสาธารณภัย”

ข้อเสนอร่าง พ.ร.บ.รวมใจแก้วิกฤตสาธารณภัย สำหรับพิจารณาโดยประชาชน

เมื่อ 7 พ.ย. 2554
ออกแบบ
1

ขั้นตอนกว่าจะประกาศ “ภาวะรวมใจแก้วิกฤตสาธารณภัย”


 

มาตรา ๑๒  เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่ามีสาธารณภัยเกิดขึ้นซึ่งรุนแรงถึงขั้นวิกฤตหรือกำลังจะถึงขั้นวิกฤต และจำเป็นต้องใช้จ่ายงบประมาณเพื่อป้องกัน แก้ไข หรือ เยียวยาเป็นการฉุกเฉิน แต่งบประมาณและทรัพยากรที่รัฐมีอยู่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรืออาจนำมาใช้จ่ายได้ไม่ทันการ หรืออาจก่อปัญหาต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการคลัง ในการนี้ หากคณะรัฐมนตรีเห็นว่าการแก้ไขปัญหาไม่สมควรดำเนินการโดยการตราพระราชกำหนด ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจขอความเห็นชอบของรัฐสภาเพื่อประกาศภาวะรวมใจแก้วิกฤตสาธารณภัยก่อนดำเนินมาตรการตามพระราชบัญญัตินี้ 
 
การขอความเห็นชอบของรัฐสภาตามวรรคหนึ่งต้องระบุระยะเวลาการประกาศภาวะรวมใจแก้วิกฤตสาธารณภัยและแผนมาตรการที่คณะรัฐมนตรีมุ่งหมายจะดำเนินการตามหมวด ๓ ของพระราชบัญญัตินี้พร้อมความเห็นจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับแผนมาตรการดังกล่าว ในการนี้ รัฐสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสิบวันนับแต่ได้รับเรื่องดังกล่าวด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา … 
 
กล่าวคือ การประกาศ “ภาวะรวมใจแก้วิกฤตสาธารณภัย” ตามร่างกฎหมายนี้ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เสนอต่อรัฐสภา และรัฐสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 10 วัน 
 

ข้อชวนคิด:

  • หากเป็นกรณีภัยพิบัติที่เร่งด่วนการต้องให้รัฐสภาพิจารณาโดยต้องเสนอแผนมาตรการประกอบพร้อมด้วยความเห็นจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นขั้นตอนที่มากเกินไปหรือไม่ขั้นตอนเหล่านี้จะทำให้เสียเจตนารมย์ของกฎหมายไปหรือไม่?หรือเป็นกระบวนการที่ชอบแล้วเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
  • เมื่อเปรียบเทียบกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548นั้นกำหนดให้เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเท่านั้นขณะที่การประกาศสาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่งตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยพ.ศ.2550เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีโดยตรง
  • การประกาศ“ภาวะรวมใจแก้วิกฤตสาธารณภัย” จะคล้ายหรือซ้ำซ้อนเกินไปกับอำนาจการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน  การประกาศสาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่งหรือการตราพระราชกำหนดโดยคณะรัฐมนตรีหรือไม่ด้วย