Articles

ilaw NHCR award
"ตราบใดที่การพูดถึงปัญหาในประเทศอย่างตรงไปตรงมาและมีวุฒิภาวะเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ ตราบใดที่กฎหมายยังทำหน้าที่ข่มขู่สร้างความหวาดกลัว ไม่ได้ทำหน้าที่คุ้มครอง ปัญหาที่มีอยู่ทั้งหลายก็แก้ไขไปที่ต้นเหตุไม่ได้ การยุติและยกเลิกคดีความจากการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั้งหมด จึงถือเป็นประตูบานแรกที่จะทำให้การแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดทั้งหลายในประเทศนี้เป็นไปได้" 
เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ รัฐสภาจัดกิจกรรมที่ลานประชาชนตลอดทั้งวันโดยระหว่าง 18.00-19.30 น. มีงานเสวนาหัวข้อ “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หน้าตาเป็นอย่างไร”  มีความเห็นเช่น การถ่วงดุลอำนาจและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้มากขึ้น
constitution day seminar
10 ธันวาคม 2566 วันรัฐธรรมนูญ เสถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ จัดงานเสวนา รื้อ ร่าง สร้าง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อประชาชน เพื่อร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนมองไปข้างหน้าถึงการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 
Con for All Talk
 9 ธันวาคม 2566 กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ จัดกิจกรรม ‘ปักธง ส่งต่อ สสร.เลือกตั้ง’ โดยในงานมีกิจกรรม Con for All Talk เปิดพื้นที่ให้แปดนักเคลื่อนไหวที่ทำงานหลากประเด็น มาร่วมสะท้อนปัญหาสังคม-ปัญหารัฐธรรมนูญ เรียกร้องการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยประชาชน
conforall seminar
หลังประชาชนเสนอคำถามประชามติ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ สสร. เลือกตั้ง 100% ต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่เรื่องยังไม่เดินหน้า ภาคประชาชนจัดวงเสวนา ปักธง สสร. เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เลือกตั้ง 100% เพื่อยืนยันว่าคำถามประชามติดังกล่าวทำได้ และจะทำให้การทำประชามติสะท้อนเจตจำนงประชาชน
Conclusion of second constitution draft from Assembly of the Poor.
การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ใช่พื้นที่เฉพาะของฝ่ายการเมืองเท่านั้น แต่ภาคประชาชนยังมีส่วนร่วมสำคัญในการกำหนดอนาคตประเทศครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างสำคัญคือ "ร่างรัฐธรรมนูญคนจน" ของ "สมัชชาคนจน" ที่เสนอการยกระดับประชาธิปไตยและการคุ้มครองสิทธิของคนทุกคนขึ้นไปให้มากกว่าที่เคยมีมา 
constituent assembly
การเลือกตั้ง สสร. โดยประชาชนทั้งหมด และบทบาทของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญไม่ใช่เรื่องที่ขัดแย้งกัน แต่หากยึดว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน การออกแบบระบบเพื่อหาที่ทางให้กับคนเหล่านี้ก็ยังมีความเป็นไปได้
ชวนดูเปรียบเทียบร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ที่เสนอในปี 2566 ซึ่งมุ่งหมายจะให้ครอบคลุมการดำเนินคดีความทางการเมืองต่อประชาชนที่ยืดเยื้อยาวมาตั้งแต่ปี 2549 กับกฎหมายนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทางการเมืองสามฉบับในอดีต
what is government worried about referendum
หลังรัฐบาลแต่งตั้ง "คณะกรรมการประชามติฯ" ขึ้นมาเพื่อทำให้การทำประชามติเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ดำเนินไปได้อย่างลุล่วง การให้สัมภาษณ์สื่อหรือการแถลงข่าวจำนวนมากกำลังบ่งชี้ว่า รัฐบาลมีความกังวลใจในหลายปัญหาระหว่างการจัดทำคำถามประชามติ แต่ความกังวงนั้นมีสิ่งใดบ้าง สามารถอ่านได้ที่นี่!
privy councillor appointed
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 รัชกาลที่ 10 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นองคมนตรี โดยในพระบรมราชโองการแต่งตั้งไม่ปรากฏว่ามีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ทั้งๆ ที่ในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 11 กำหนดผู้ลงนามรับสนองฯ ไว้อย่างชัดเจน