Articles

what the senators votes then and nows
การประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่สามเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 จบลงด้วยชัยชนะของ เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ด้วยมติเห็นชอบ 482 เสียง ไม่เห็นชอบ 165 เสียง และงดออกเสียง 81 เสียง จากทั้งรัฐสภา ทำให้ประเทศไทยเตรียมมีนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 หลังการเลือกตั้งมาแล้วกว่า 100 วัน อย่างไรก็ตาม การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล มีสาเหตุมาจากการที่สมาชิกวุฒิสภา สว. “งดออกเสียง” ภายใต้ข้ออ้างว่าเป็นการ “ปิดสวิตช์ตนเอง” มากถึง 159 เสียง ขณะที่ในการลงมติครั้งนี้มี สว. งดออกเสียงเพียง 68 เสียงเท่านั้น เท่ากับว่า มี สว. จำนวนมากที่เปลี่ยนใจ หันมาโหวตเลือกเศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรีมากกว่าเลือกพิธา 
what is referendum
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชนไม่ได้จบลงแค่ออกไปเลือกตั้ง อีกหนึ่งกลไกที่กฎหมายรับรองและกำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนคือ “การออกเสียงประชามติ” ซึ่งเป็นกระบวนการให้ประชาชนได้ตัดสินใจกำหนดทิศทางด้วยตนเองเฉพาะในประเด็นที่สำคัญ
Senate opposed amend the constitution
22 สิงหาคม 2566 ในที่ประชุมรัฐสภามีการอภิปราย ก่อนลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 รอบที่สาม สมาชิกวุฒิสภา (สว.) หลายคนได้ลุกขึ้นอภิปรายความเหมาะสมและคุณสมบัติของ “เศรษฐา ทวีสิน” แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย โดยสว.บางคนก็แสดงความเห็นสอดแทรกไปในทางที่ไม่เห็นด้วยหรือยังมีข้อสงสัยที่อยากให้พรรคเพื่อไทยแถลงข้อเท็จจริงให้ชัดเจนในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พรรคเพื่อไทยจะผลักดันเป็นวาระแรกเมื่อจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ  
referendum petition can't do online
22 สิงหาคม 2566 รองเลขธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้คำตอบตัวแทนกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญว่า ไม่สามารถใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ในการเข้าชื่อเสนอคำถามตาม พ.ร.ป.ประชามติฯ ทำให้มากกว่า 4 หมื่นชื่ออาจไม่ถูกนับ จากข้อจำกัดดังกล่าว ประชาชนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้งเหลือเวลาอีก 3 วัน ในการเข้าชื่อในกระดาษ ขอให้ทุกคนตามหาจุดลงชื่อจากเว็บไซต์ conforall.com ส่งรายชื่อให้ทัน และช่วยกันบอกต่อ จนกว่าเราจะได้รายชื่อแบบกระดาษทะลุ 50,000 รายชื่ออีกครั้ง
one nor
22 สิงหาคม 2566 ที่ประชุมรัฐสภา มีนัดหมายลงมติเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 (ครั้งที่สาม) ในช่วงแรก ก่อนเข้าสู่วาระการโหวตนายก​ฯ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาอนุญาตให้ รังสิมันต์ โรม สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นำเสนอญัตติด่วน “กรณีขอให้ทบทวนมติรัฐสภาห้ามเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกฯ ซ้ำ” ซึ่งค้างอยู่เมื่อการประชุมรัฐสภา เนื่องจากประธานรัฐสภาไม่อนุญาตให้พิจารณาญัตติดังกล่าวและสั่งเลื่อนประชุมเพื่อรอคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 
constituent assembly model
รูปแบบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ที่เคยมีการพยายามนำเสนอเข้าสู่รัฐสภามาหลังการเลือกตั้งในปี 2562 มีทั้งสิ้นสี่รูปแบบ คือ สสร.ฉบับพรรคเพื่อไทย, สสร.ฉบับที่นำโดยพรรคพลังประชารัฐ, สสร.ฉบับพรรคไทยสร้างไทยที่ใช้วิธีรวบรวมรายชื่อประชาชนเสนอร่างรัฐธรรมนูญ และ สสร.ฉบับสงวนคำแปรญัตติของ ส.ส.จำนวนหนึ่ง ในช่วงพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของ คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หรือ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ  ข้อเสนอการตั้ง สสร. มักอยู่ที่วิธีการได้มา โดยแบ่งออกคร่าวๆ ได้สี่รูปแบบ คือ เลือกตั้งแบบมีจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง เลือกตั้งแบบมีประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง เลือกตั้งผสมกับการแต่งตั้ง และแต่งตั้งทั้งหมด ซึ่งรูปแบบทั้งหมดนี้จะมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อสังคมไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ในปี 2567 ที่กำลังมาถึง
Writing new constitution is not a treason
ข้อถกเถียงว่า “จะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่อย่างไรดี” นั้นถูกแบ่งออกเป็นสองความคิดเห็นใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่สนับสนุนการเขียนใหม่ทั้งฉบับ ต้องแก้ไขได้ในทุกหมวดทุกมาตรา และกลุ่มที่สนับสนุนให้ละเว้นการเขียนใหม่หรือการแก้ไขในรัฐธรรมนูญหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ไว้ดังเดิม คำกล่าวอ้างสำคัญ คือ กังวลว่าจะเกิดความพยายามในการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองของรัฐไทย ทั้งจากการเป็นรัฐเดี่ยวอันแบ่งแยกมิได้ และการธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดช่องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นอยู่ภายใต้ มาตรา 255 ซึ่งขวางการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองไว้แล้ว รวมทั้งในอดีตรัฐธรรมนูญทั้งหมวด 1 และหมวด 2 ยังเคยถูกแก้ไขตาม “ข้อสังเกตพระราชทาน” หลังผ่านการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญมาแล้วอีกด้วย
senate vote Srettha
การให้สัมภาษณ์แสดงจุดยืนต่อการโหวตนายกฯ ชื่อ "เศรษฐา ทวีสิน" ของสว. จำนวนหนึ่งยังไม่สามารถเห็นแนวทางที่ชัดเจนได้ เพราะตั้งแต่โหวตนายกฯ รอบแรกจากที่มีการเสนอ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” แคนดิเดตนายกจากพรรคก้าวไกล ก็มีสว.บางคนที่เปลี่ยนใจจากจุดยืนที่ตัวเองเคยพูดไว้
constitution B.E. 2560 article 147
ตามรัฐธรรมนูญ เมื่อยุบสภาหรือสภาหมดอายุ ร่างกฎหมายที่รัฐสภายังไม่ได้เห็นชอบ จะ "ตกไป" แต่ก็ยังมีช่องให้ร่างกฎหมายเหล่านั้นได้พิจารณาต่อได้ ถ้าครม. ชุดใหม่หลังเลือกตั้ง ขอมติจากรัฐสภาให้พิจารณาร่างกฎหมายนั้นต่อไป เงื่อนไขสำคัญ คือ ครม. ต้องขอภายใน 60 วันหลังประชุมรัฐสภาวันแรก
old age allowance
รัฐบาลรักษาการของพลเอกประยุทธ์ ได้สร้างผลงานปรับเปลี่ยนเกณฑ์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จนนำมาสู่ข้อวิพากษ์วิจารณ์ เปลี่ยนจากระบบสวัสดิการถ้วนหน้าเป็นระบบพิสูจน์ความจน ขณะที่ภาครัฐก็ชี้แจงว่า หลักเกณฑ์ใหม่จะทำให้การแจกเบี้ยผู้สูงอายุทั่วถึงและเป็นธรรมมากขึ้น