30 ก.ย.2565 ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยคดีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ ครบ 8 ปีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดแล้วหรือไม่ ที่ผ่านมามีการอธิบายว่าทำไมพลเอกประยุทธ์ถึงรอดหรือไม่รอดจากการเป็นนายกฯ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมพลเอกประยุทธ์จะรอดหรือไม่รอดจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
28 กันยายน 2565 เนื่องในวันสากลแห่งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (International Day for Universal Access to Information) ยูเนสโกร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมเสวนาสาธารณะทางออนไลน์
คดีจากการฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังมีอนาคตที่สับสน แม้ว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมโรคโควิดจะสิ้นสุดลง แต่คดียังอาจเดินหน้าต่อไปได้ ไม่ใช่กรณีกฎหมายถูกยกเลิก ซึ่งคณะรัฐมนตรีควรต้องใช้อำนาจออกประกาศให้ชัดเจนเพื่อหาทางลดภาระในกระบวนการยุติธรรม
ครม.และส.ส.พรรคก้าวไกล ได้เสนอแก้ไขพ.ร.บ.ล้มละลาย หลายประเด็น เช่น แก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ SMEs ส่วนที่แตกต่างเป็นกลไกใหม่ในร่างฉบับที่เสนอโดยส.ส.พรรคก้าวไกล คือ กลไกที่เปิดให้ลูกหนี้ "บุคคลธรรมดา" ขอเข้าสู่กระบวนการ "ฟื้นฟูสภาวะการเงิน" ได้
ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยคดี "8 ปี ประยุทธ์" ในวันที่ 30 กันยายน 2565 หลังมีคำสั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หยุดปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2565 ทางไอลอว์จึงชวนพิจารณาแนวทางความเป็นไปได้ของคำวินิจฉัยและสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้น
ท่ามกลางบรรยากาศความน่ากลัวของการบังคับกฎหมายที่มีขอบเขตไม่ชัดเจน จำนวนคดีที่เพิ่มขึ้นแทบจะทุกวันและดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด ตลอดจนคำพิพากษาให้จำคุกที่ทยอยออกมาเรื่อยๆ ก่อนที่สังคมจะดำดิ่งไปสู่ความจำนนต่อสถานการณ์ ไอลอว์ชวนดูทางเลือก 10 ข้อ อยากสนับสนุน #ยกเลิก112 ทำอะไรได้บ้าง?
วันที่ 14 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา เป็นวันครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ หลังจากดำรงตำแหน่งมาแล้วครบห้าปี นับตั้งแต่มีการแต่งตั้งครั้งแรกในปี 2560 ซึ่งที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีที่นำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ทำการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไปแล้วถึงสองชุด โดยชุดแรกได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2560 และชุดที่สองได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563
7 กันยายน 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนัดลงมติเห็นชอบร่างแก้รัฐธรรมนูญจำนวน 4 ฉบับ โดยผลของการลงมติครั้งดังกล่าว พบว่า “ร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับถูกปัดตก” แม้บางฉบับจะได้รับเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา แต่เนื่องจากไม่ผ่านเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ข้ออ้างยอดฮิตของเหล่า ส.ว. ในการไม่ปิดสวิตช์ตัวเองคือ ส.ว. นั้นโหวตนายกฯ ตามเสียงข้างมากของ ส.ส. ทำให้เสียงของ ส.ว. นั้นไม่มีความหมาย แต่ข้ออ้างเช่นนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริง หาก ส.ว. บริสุทธิ์ใจและเชื่อว่าเสียงของตนเองไม่ได้เป็นตัวแปรจริง ก็ควรตัดอำนาจตัวเองให้ไม่โดนสังคมครหา
กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม-ตำรวจ ลากยาวเกือบ 8 ปี ตั้งคณะกรรมการมาสานต่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมรวมถึงการปฏิรูปตำรวจรวม 6 ชุด หลายคนที่นั่งตำแหน่งกรรมการต่างๆ เป็นคนหน้าคุ้น เกี่ยวพันกับกลไกของคสช.ทั้งสิ้น