กฎหมายที่มีอยู่ของไทยไม่ได้เอื้อให้ประชาชนธรรมดาผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลาดสุราไทยจึงถูกผูกขาดโดยสองเจ้าใหญ่เท่านั้น ขณะที่ข้อเสนอแก้กฎหมายถูกเตะถ่วงโดยพรรคร่วมรัฐบาล ชวนดูตัวอย่างของประเทศอื่นๆ ที่เศรษฐกิจเติบโตสะพัดได้จากการเขียนกฎหมายให้โอกาสรายเล็กเติบโตในแวดวงนี้
ยุคคสช. สภาที่มาจากประชาชนก็กลายเป็นสภาแต่งตั้ง หลังปี 2562 มีสภาผู้แทนราษฎร แต่วุฒิสภา ที่ให้ความเห็นชอบบุคคลมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระและหน่วยงานของรัฐ มีที่มาไม่ยึดโยงกับประชาชน โครงสร้างที่เป็นมากว่าแปดปี ทำให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรสำคัญล้วนต้องผ่านตะแกรงคัดกรองจากสภาแต่งตั้ง
ภายหลังมีความพยายามยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังหลากหลายหน่วยงานในปี 2564 เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 65 กลุ่มผู้ใช้แรงงานข้ามชาติ พร้อมด้วยมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) เดินทางมาที่ศาลปกครองเพื่อยื่นฟ้ององค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเงื่อนไขโครงการ #ม33เรารักกัน ไว้เฉพาะ “ผู้มีสัญชาติไทย” ส่งผลให้แรงงานข้ามชาติไม่ได้สิทธิรับเงินเยียวยา แม้จ่ายเงินเข้าระบบในอัตราเดียวกับคนไทย
วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 เครือข่ายคัดค้านพ.ร.บ.ควบคุมการรวมกลุ่มฯ นำโดยนิมิตร์ เทียนอุดม ธนพร วิจันทร์ และภรณ์ทิพย์ สยมชัย ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและพวกต่อศาลแพ่ง เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนข้อกำหนดเรื่องห้ามชุมนุม พร้อมเรียกค่าเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพการชุมนุมและการปิดกั้นขัดขวางการชุมนุมของเจ้าหน้าที่
25 พฤษภาคม 2565 เครือข่ายคัดค้านพ.ร.บ.ควบคุมการรวมกลุ่มฯ จัดงานเสวนาในหัวข้อภาคประชาชนทำงานอย่างไร ทำไมต้องรับทุนไทย-ต่างชาติ เพื่ออธิบายให้ประชาชนและรัฐบาล เข้าใจมากขึ้นว่า “ทุนต่างประเทศ” ไม่ได้หมายความว่าการบ่อนทำลายชาติหรือการแทรกแซงทางการเมือง
22 พฤษภาคม 2565 ครบรอบแปดรัฐประหารโดย คสช. ตัวผู้นำ คสช. ทั้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ยังคงถืออำนาจในการปกครองประเทศไทยอยู่ รวมทั้งเครือข่ายที่ถูก คสช.แต่งตั้ง ก็ยังคงมีบทบาทกระจายกันไปตามองค์กรต่างๆ
แม้ว่าในทางกฎหมาย คสช. จะสิ้นสภาพไปแล้ว แต่คนของคณะรัฐประหารก็ยังคงอยู่ในอำนาจเช่นเดิม และ "มรดก" ที่ คสช. ทิ้งไว้ในระบบกฎหมายอีกมากมาย นับจนถึงปี 2565 อำนาจในการปกครองประเทศก็ยังไม่ได้อยู่ในมือประชาชน และการใช้อำนาจรัฐก็ยังมีลักษณะกับระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา
ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 นอกจากกรุงเทพมหานครจะมีการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาของท้องถิ่นของตัวเองแล้ว เมืองพัทยาก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่จะได้มีการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาเมืองพัทยา หลังไม่มีการเลือกตั้งมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี โดยเมืองพัทยาถูกเรียกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเช่นเดียวกับกรุงเทพ และเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเงินงบประมาณมากเป็นอันดับที่สาม เมื่อเทียบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ทั่วประเทศ ตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566
ก่อนจะเข้าคูหาในวันที่ 22 พ.ค. 2565 ใช้สิทธิออกเสียงเลือกผู้ว่าฯ และส.ก. ชุดใหม่มาพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายกรุงเทพมหานครในปีงบประมาณถัดไป ชวนย้อนดูการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายกรุงเทพมหานครห้าปีงบประมาณที่เกิดจากการจัดสรรงบของผู้ว่าฯ และส.ก. ที่ประชาชนไม่ได้เลือก
รวมจำนวนเงินงบประมาณในช่วงเวลาสามปีที่ต้องจ่ายเป็นค่าตอบแทน ส.ว. และตำแหน่งสนับสนุนการทำงานของ ส.ว. อย่างน้อย 2,230,569,000 บา ในช่วงเวลานี้ผ่านร่างพระราชบัญญัติได้ 35 ฉบับ เท่ากับค่าใช้จ่ายตอบแทน ส.ว. ด้านการพิจารณากฎหมายตกอยู่ที่ ฉบับละ 63,730,542 บาท