Articles

6-7 ก.ย.65 รัฐสภามีวาระพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่เสนอตัดอำนาจส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี หากรัฐสภาเห็นชอบอาจส่งผลให้การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีเฉพาะ ส.ส.เป็นผู้ให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรีเท่านั้น 
NCPO Reform
ไอลอว์รวบรวมงานเขียนที่เกี่ยวกับการปฏิรูปในยุคต่างๆ ของ คสช. เพื่อให้ได้ศึกษาที่มาที่ไปและการปฏิรูปประเทศที่เป็นมรดกจากการรัฐประหาร
Article 272 Repeal
ที่ผ่านมา ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอให้ปิดสวิตช์ ส.ว. ห้าฉบับไม่ได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ถึงอย่างน้อยหนึ่งในสามหรือ 84 เสียงเลยแม้แต่ครั้งเดียว ข้อเสนอล่าสุดของกลุ่ม No 272 มีความแตกต่างจากข้อเสนอที่ผ่านมาเพราะมีการเสนอในลักษณะ “ประเด็นเดียว” คือมุ่งตรงไปที่อำนาจเลือกนายกของ ส.ว. เท่านั้นและไม่แตะประเด็นอื่นเลย
National Reform Plan's Progress
รัฐธรรมนูญ 2560 ระบุให้แผนการปฏิรูปประเทศต้องเห็นผลในระยะเวลา 5 ปีหรือภายในสิ้นปี 2565 แต่ก็ดูเหมือนยังไม่เห็นผล รายงานความคืบหน้าแสดงให้เห็นว่ามีตัวชี้วัดหลายอย่างที่กำลังมีความเสี่ยงจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ทัน อีกทั้งหลายตัวชี้วัดยังถูกเขียนมาในลักษณะที่ไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริง และยังมีการตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำทำให้การบรรลุตัวชี้วัดนั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดาย
Solution 8 years
การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ หยุดปฏิบัติหน้าที่ และให้ พล.อ.ประวิตร ทำหน้าที่รักษาการณ์นายกฯ จึงยังไม่ใช่การเดินหน้าไปในทิศทางประชาธิปไตย เพราะที่ผ่านมา หนึ่งในข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมตั้งแต่ ปี 2563 คือ ให้ พล.อ.ประยุทธ์ และองคาพยพ ลาออกหรือพ้นจากอำนาจ จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน เพราะในเวลาข้างหน้าศาลรัฐธรรมนูญยังอาจสั่งให้พล.อ.ประยุทธ์ กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อได้ 
Revisiting National Reform Plan
กระบวนการจัดทำแผนตามกฎหมายที่ออกโดยสนช. ออกแบบให้แผนการปฏิรูปการประเทศซึ่งเป็นแผนย่อยจัดทำแล้วเสร็จก่อนยุทธศาสตร์ชาติ ทำให้ต้องมีการกลับมาทบทวนแก้ไขอีกครั้ง ซึ่งก็ต้องพบกับความล่าช้าเข้าไปอีกเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ขยายเวลาปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศออกไปและมีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศชุดใหม่เข้ามาจัดทำแทน เมื่อพิจารณาถึงเส้นตาย 5 ปีที่การปฏิรูปประเทศจะต้องเห็นผลแล้ว รัฐบาลต้องเสียเวลากับการร่างและแก้ไขแผนไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง
สิ่งสำคัญที่ต้องพูดถึงเกี่ยวกับการดำรงอยู่ในอำนาจอย่างยาวนานของ พล.อ.ประยุทธ์ ก็คือ การออกแบบกลไกทางอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ ปี 2557 มาจนถึงรัฐธรรมนูญ ปี 2560 จนทำให้คสช. ที่ทำการรัฐประหารยึดอำนาจสามารถดำรงอยู่ได้ อีกทั้ง ยังเข้าไปยึดกุมอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการได้อย่างค่อนข้างเบ็ดเสร็จ ผ่านสายธารอำนาจที่เรียกกันว่า “แม่น้ำห้าสาย”
web blocked
คณะราษฎรยกเลิก112 (ครย.112) ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อสอบถามถึงสาเหตุการปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ no112.org ซึ่งเป็นช่องทางรวบรวมรายชื่อประชาชนที่ประสงค์จะเสนอร่างกฎหมายเพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
Military Forces
หลังการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นานเกินสองปี เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ออกข้อกำหมายตามอำนาจของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 47 มาบังคับใช้  โดยอ้างเหตุผลว่าการระบาดของโรคโควิด19 ในหลายประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
8years
24 สิงหาคม 2565 จะเป็นวันที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ทำการรัฐประหารจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาครบ 8 ปี (นับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557) ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ จะดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปี ไม่ได้ แต่ทว่า การเริ่มนับวาระการดำรงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์ ยังเป็นข้อถกเถียงอยู่ว่าจะเริ่มนับเมื่อไร