จากการตรวจสอบการทำงานของ ส.ว. ผู้นำเหล่าทัพ ในสมัยการประชุมสามัญครั้งที่ 2 ปีที่ 3 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ถึง กุมภาพันธ์ 2565 พบว่า บรรดาผู้นำเหล่าทัพไม่ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อลงมติจำนวนมาก กล่าวคือ มีการเข้าร่วมการประชุมเพื่อลงมติไม่ถึง 7% ทั้งที่บรรดา ส.ว. ผู้นำเหล่าทัพ ต่างได้รับค่าตอบแทนทั้งจากสภาและกองทัพ รวมแล้วไม่น้อยกว่าสองแสนบาทต่อเดือน
แม้ว่าประธานวุฒิสภาได้ออกจะมาให้สัมภาษณ์ปฏิเสธว่าการแต่งตั้งเครือญาตินั้นไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายหรือจริยธรรม อย่างไรก็ดี ในการทำงานของ ส.ว. ยังต้องปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมีการห้ามไม่ให้ผลประโยชน์ส่วนตัวของสมาชิกขัดกับผลประโยชน์ส่วนรวมด้วย
ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 วุฒิสภาในฐานะอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ "การกลั่นกรองกฎหมาย" ที่มาจากสภาผู้แทนราษฎรให้มีความรัดกุมรอบคอบ โดยหลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบกฎหมายแล้ว จะต้องส่งให้วุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้ง เพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลอีกหนึ่งชั้นก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ แต่ทว่า ด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่กำหนดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นคนคัดเลือกด่านสุดท้าย ทำให้การออกกฎหมายที่เสนอโดยรัฐบาลคสช. หรือ การเสนอกฎหมายโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตหัวหน้าคสช. ไม่ค่อยถูกตรวจสอบถ่วงดุลเท่าที่ควร
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย. 2475 รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ จัดสรรพื้นที่ของพระราชอำนาจแตกต่างกัน บางฉบับกำหนดพระราชอำนาจบางเรื่องไว้จำกัด บางฉบับกำหนดแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ จนน่าตั้งคำถามว่า 90 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยตามที่คณะราษฎรวาดฝันไว้หรือไม่
นับตั้งแต่ปี 2475 “พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์” ถูกแก้ไขปรับปรุงมาแล้วอย่างน้อยสี่ครั้งในประเด็นต่างๆ ในวาระครบรอบ 90 ปีการอภิวัตน์สยาม ไอลอว์ชวนย้อนดูสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้ง ภายใต้ช่วงเวลาและเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา
นับแต่มีการประกาศรายชื่อ ส.ว. ทั้ง 250 คน ครั้งแรกเมื่อ 14 พ.ค. 62 หากนำมาเปรียบเทียบกับรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน (มิถุนายน 2565) ก็จะพบว่ามีหน้าตาที่เปลี่ยนไปเล็กน้อย เนื่องจากมี ส.ว. ที่พ้นจากตำแหน่งด้วยสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ไอลอว์ชวนย้อนดูการสลับเปลี่ยนของ “เก้าอี้ ส.ว.” พร้อมสำรวจข้อกฎหมายว่าการสิ้นสภาพ ส.ว. สามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง
ตั้งแต่ปี 2560 สัญลักษณ์แวดล้อมประวัติศาสตร์คณะราษฎร เช่น หมุดคณะราษฎร อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรรมนูญ และ รูปปั้นจอมพล.ป. พิบูลสงคราม ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรถูกย้ายหรือสูญหาย ขณะที่คนที่ไปติดตามเรื่องการสูญหายของสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งของดังกล่าวกับถูกเจ้าหน้าที่ติดตามคุกคาม แต่ดูเหมือนว่าความพยายามลบประวัติศาสตร์ยุคคณะราษฎรดูจะไม่ได้ทำให้มันถูกลืมหากแต่นำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
พรรคเพื่อไทยยังไม่ยอมแพ้ใช้ช่องทางการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเสนอร่างอีกสามฉบับ เปิดประตูภาคสี่ โดยมีหนึ่งฉบับที่เป็นประเด็นใหม่เกี่ยวกับสิทธิชุมชน ฉบับหนึ่งเสนอเพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิคนพิการ สิทธิคนไร้บ้าน และยกเลิกช่องทางนายกฯคนนอก ซึ่งเคยเสนอไม่ผ่านมาแล้ว
สำนักเลขาธิการวุฒิสภาได้ส่งหนังสือตอบกลับมีใจความปฏิเสธการร้องขอข้อมูลคณะทำงานของ ส.ว. โดยอ้างว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล โดยไอลอว์จะยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อไป
การแต่งตั้งคนใกล้ชิดเพื่อมารับค่าตอบแทนรายเดือนยังคงทำเป็น “อุตสาหกรรม” ขนาดใหญ่ไม่ต่างจากในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงแต่ซ่อนรูปอยู่ใน ส.ว.แต่งตั้ง ที่เครือญาติคนรู้จักยังได้ประโยชน์อย่างมหาศาลอยู่เช่นเดิม