หลังจากคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคอนาคตใหม่ออกมาแล้ว หลายคนคงสงสัยว่าตุลาการแต่ละคนให้ความเห็นว่าอย่างไร เราได้ชำแหละคำวินิจฉัยออกมาให้ทุกคนได้เข้าใจไปพร้อมๆ กัน
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ไต้หวันเป็นดินแดนที่ถูกกีดกันออกจากประชาคมสาธารณสุขโลก ด้วยเหตุข้อโต้แย้งเรื่องอำนาจอธิปไตยระหว่างไต้หวันและจีน อย่างไรก็ตามไต้หวันมีบทเรียนจากการแพร่ระบาดของซาร์สเมื่อปี 2546 ทำให้การรับมือโรคโควิด 19 เป็นไปอย่างรวดเร็วและประสบความสำเร็จ โดยที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศยังพอดำเนินต่อไปได้
เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่คำวินิจฉัยของตุลาการแต่ละคน เรียกว่า 'คำวิจนิจฉัยส่วนตน' ซึ่งแต่ละคนจะอธิบายเหตุผลว่าผิดหรือไม่ผิดอย่างไร มีตุลาการ 2 เสียงที่ชี้ว่า อนาคตใหม่ไม่มีความผิดให้ต้องยุบพรรค ติดตามได้ในคำวินิจฉัยฉบับเต็มของ 2 ตุลาการเสียงข้างน้อย
แม้ตัวเลขของผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตด้วยไวรัสโควิด19ในอินเดียจะไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร แต่นายกรัฐมนตรีของอินเดียก็ตัดสินใจใช้ยาแรงล็อกดาวน์ประเทศโดยแจ้งประชาชนล่วงหน้าเพียงสี่ชั่วโมงและสั่งงดให้บริหารรถสาธารณะจนทำให้แรงงานอพยพต้องเดินเท้ากลับบ้านในชนบทเพราะไม่มีงานทำขณะที่มาตรการให้ความช่วยเหลือเช่นการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวเพิ่งเริ่มขึ้นหลังมีประกาศล็อคดาวน์ไปแล้ว
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 นิวซีแลนด์เป็นอีกหนึ่งประเทศที่รับมือได้ทันสถานการณ์ และตัดสินใจใช้มาตรการล็อคดาวน์ ปิดพรมแดนอย่างเข้มข้นหลังพบผู้ติดเชื้อที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับต่างประเทศเพื่อขจัดเชื้อไวรัสในประเทศให้ได้
สหรัฐฯมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดในโลก มลรัฐเกือบทั้งหมดประกาศภาวะฉุกเฉินและมีมาตรการปิดเมือง นิวยอร์กมีผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ออกมาตรการที่เข้มงวดและผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 1,000 ดอลลาร์ ขณะที่ แคลิฟอร์เนียผู้ติดเชื้ออันดับต้นๆ เช่นกัน แต่ชะลอการระบาดได้ดี ด้วยมาตรการที่รวดเร็วเด็ดขาดแต่ไม่เน้นบทลงโทษใดๆ
ฝรั่งเศสสู้กับไวรัสโควิด19 ด้วยการสั่งล็อคดาวน์ทั้งประเทศ ห้ามคนออกจากบ้าน ตั้งแต่ 17 มีนาคม 2563 ให้ทุกคนทำงานที่บ้าน ออกนอกบ้านได้เท่าที่จำเป็นโดยต้องกรอกแบบฟอร์มแสดงเหตุผลพกติดตัวเอาไว้ หากฝ่าฝืนเน้นการลงโทษโดยการปรับเงิน
วุฒิสภา โดยหลักการแล้วเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่สำคัญในการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ช่วงวิกฤติโรโควิด ส.ว. หลายคนเลือกทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสถานการณ์นอกอำนาจหน้าที่ โดยเน้นไปที่งานสังคมสงเคราะห์ ลองดูกิจกรรมของพวกเขาเทียบกับเงินเดือนที่ได้รับ
จด•หมายเหตุ เป็นข้อเขียนของ "นคร เสรีรักษ์" นักวิชาการทางกฎหมายและผู้ก่อตั้งกลุ่ม Privacy Thailand ที่พยายามจดและบันทึกความเคลื่อนไหวทางสังคมในมุมสิทธิเสรีภาพและกฎหมาย โดยครั้งนี้ เขาเลือกหยิบประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวในสถานการณ์ที่สังคมต้องรับมือกับโรคระบาด แต่เพดานการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพดูจะลดต่ำลง
หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างหรือค่าชดเชยให้ครบให้ถูกต้อง ช่องทางที่จะให้ลูกจ้างเรียกร้องสิทธิที่ได้รับเงินจากนายจ้างทำได้สองวิธี คือ ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงานโดยตรง ซึ่งทั้งสองวิธีไม่ต้องใช้ทนายความ และไม่เสียค่าธรรมเนียม