ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่หลักเป็นองค์กร ‘พิทักษ์รัฐธรรมนูญ’ คอยตรวจสอบว่า กฎหมายขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ด้วยบทบาทที่กำหนดความเป็นไปทางการเมือง ทำให้สังคมตั้งคำถามถึงอำนาจที่ล้นเหลือของศาลรัฐธรรมนูญ และ “ที่มา” ของคนที่จะมาดำรงตำแหน่ง ตุลาการที่มาจากสายข้าราชการของไทยนั้นเป็นระบบเฉพาะตัวมากที่ไม่เหมือนระบบของประเทศอื่น
ภายใต้ยุคสมัยของ คสช. "กฎหมาย" ถูกหยิบมาใช้เป็นเครื่องมือสนองตอบอำนาจ ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานทำให้เกิดความเคยชินที่เป็นอันตราย และเมื่อเข้าสู่ยุคสมัยของรัฐบาลที่ "พยายามจะมาจากการเลือกตั้ง" แนวทางการใช้กฎหมายแบบผิดๆ ยังคงสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาความแออัดในเรือนจำเป็นปัญหาร่วมของหลายๆประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัศโควิด 19 มีอย่างน้อยห้าประเทศในภูมิภาคที่ลดความแออัดของเรือนจำด้วยการปล่อยนักโทษบางส่วน ซึ่งต้องจับตาดูต่อไปว่าหลังวิกฤตโควิด19ผ่านพ้นไปประเทศเหล่านี้จะมีความพยายามแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุกอย่างจริงจังต่อไปหรือไม่
24 พฤษภาคม 2563 ถือเป็นวันครบรอบ 1 ปีการทำงานของ ส.ว. ไอลอว์ติดตามผู้กำหนดโฉมหน้าการเมืองไทยทั้ง 250 คนนี้ตลอดอายุการทำงานที่ผ่านมา มาดูกันว่าจากการประชุมและลงคะแนนเสียงของ ส.ว.ทั้งหมด 145 มติ เราเจออะไรบ้าง
22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสถาปนาอำนาจ “ระบอบคสช.” ที่พยายามเปลี่ยนผ่านอำนาจแบบเผด็จการเต็มใบไปสู่ระบอบเผด็จการซ่อนรูป ในวาระครบรอบ 6 ปี เราขอทบทวนโครงสร้างอำนาจที่ คสช. ถูกออกแบบไว้ให้คณะรัฐประหารสามารถอยู่กับสังคมไทยได้ไปอีกหลายปี
State of Emergency was declared to handle Covid-19 epidemic in the last week of March 2020, it was later extended to due on 31 May 2020 with possibility of extendtion. This piece review how State of Emergency were declared in the past, how long it last and how it was revoked.
ตลอด 10 ปี การเอาผิด ‘ผู้ปฏิบัติการ’ ก็ไม่มีความคืบหน้า แม้ว่ามีหลักฐานคำให้การ ผลการชันสูตรและการไต่สวนการตายที่ระบุว่าผู้เสียชีวิตหลายรายเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร แต่ทว่าอัยการทหารก็มีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ทำให้เกิดคำถามสำคัญต่อกระบวนการยุติธรรมสำหรับทหาร หรือ "ศาลทหาร" ว่ามีความถูกต้องเที่ยงธรรมมากแค่ไหน
จด•หมายเหตุ เป็นข้อเขียนของ "นคร เสรีรักษ์" นักวิชาการทางกฎหมายและผู้ก่อตั้งกลุ่ม Privacy Thailand ที่พยายามจดและบันทึกความเคลื่อนไหวทางสังคมในมุมสิทธิเสรีภาพและกฎหมาย โดยครั้งนี้ เขาจะเล่าถึงข้อสังเกตต่อการบังคับใช้กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลเต็มฉบับที่มีแนวโน้มจะถูกเลื่อนการบังคับใช้ออกไป
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็น "ยาแรง" เพื่อรับมือกับโควิด-19 โดยรวบอำนาจการแก้ไขปัญหามาอยู่ในมือของนายกรัฐมนตรี ออกข้อกำหนดรวมแล้วหกฉบับ กำหนดข้อห้าม เงื่อนไข คำแนะนำ สิ่งที่อนุญาตให้ทำได้ รวมทั้งมอบหมายอำนาจให้กับตำแหน่งต่างๆ ซึ่งมีปัญหาในทางกฎหมายต้องพิจารณากันว่าถูกต้องและใช้ให้มีผลในทางกฎหมายได้อย่างไร
นับตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 จนถึง 11 พฤษภาคม 2563 เป็นเวลากว่าหนึ่งเดือนเศษที่รัฐบาล 'คสช.2' เลือกใช้ "ยาแรง" อย่างพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หลังการประกาศใช้มาร่วมหนึ่งเดือนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค "ดูดีขึ้น" จากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันที่น้อยลง แต่คำถามถึงความจำเป็นในการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และเหตุผลเบื้องลึกเบื้องหลังของการใช้ยังไม่จางหายไป