การจัดทำ “ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความเสมอภาคทางสังคม” รัฐบาล คสช. แต่งตั้ง เอ็นนู ซื่อสุวรรณ ประธานคณะกรรมการฯ รวมด้วยกรรมการฯ อีกจำนวน 12 คน หลังจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนร่างยุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้จะถูกแก้ไขเพิ่มเติมก่อนจะถูกเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
การจัดทำ “ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคง” รัฐบาล คสช. แต่งตั้งพลเอกวรพงษ์ สง่าเนตร ประธานคณะกรรมการฯ รวมด้วยกรรมการฯ อีกจำนวน 9 คน หลังจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนร่างยุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้จะถูกแก้ไขเพิ่มเติมก่อนจะถูกเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
การจัดทำ “ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ด้านสิ่งแวดล้อม” รัฐบาล คสช. แต่งตั้งธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานคณะกรรมการฯ รวมด้วยกรรมาการฯ อีกจำนวน 8 คน หลังจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนร่างยุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้จะถูกแก้ไขเพิ่มเติมก่อนจะถูกเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
การจัดทำ “ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน” รัฐบาล คสช. แต่งตั้ง สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานคณะกรรมการฯ รวมด้วยกรรมาการฯ อีกจำนวน 11 คน หลังจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนร่างยุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้จะถูกแก้ไขเพิ่มเติมก่อนจะถูกเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ วันที่ 9 เมษายน 2561
เส้นทางของพรรคการเมืองหน้าใหม่ที่ประกาศตัวเป็นปฏิปักษ์กับ คสช. นั้นไม่ง่าย เพราะกลไกการเข้าสู่อำนาจผ่านการเลือกตั้งนั้น ยังต้องเป็นไปตามกติกาในรัฐธรรมนูญ 2560 และกฎหมายลูกอีกหลายฉบับ รวมทั้งประกาศ และคำสั่งของ คสช. ที่ยังมีผลบังคับใช้ซึ่ง คสช. วางกลไกกับดักเอาไว้มากมาย
แม้ คสช. จะพยายามหาเทคนิคใหม่ๆ มาเลื่อนเลือกตั้งไปแล้วถึง 4 ครั้ง ไล่ตั้งแต่ แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ 2557, คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์แล้วร่างใหม่, แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวตามที่พระมหากษัตริย์พระราชทานข้อสังเกต จนมาถึงขยายเวลาบังคับใช้กฎหมาย ส.ส. ออกไปอีก 90 วัน และล่าสุดดูเหมือน คสช. จะพบเทคนิคใหม่ โดยให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างกฎหมายลูก ส.ว.
แม้ สนช. จะลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ. … ไปแบบเอกฉันท์ แต่ทว่าการเลือกตั้งตามโรดแมปก็ยังไม่นิ่ง และมีเหตุให้ต้องเลื่อนหากสนช. ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กฎหมาย ส.ว. ทั้งฉบับขัดต่อรัฐธรรมนูญ รวมถึงหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้กฎหมาย ส.ว. มีอันต้องตกไปทั้งฉบับ ก็มีแนวโน้มที่จะต้องร่างกฎหมาย ส.ว. กันใหม่อีกครั้ง
ประกาศของคสช.หลายฉบับ มีผลกระทบต่ออนาคตการเมืองไทยอย่างมาก เช่น การห้ามชุมนุมทางการเมือง การห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรม คณะรัฐประหารชุดก่อนๆ ก็มีประกาศลักษณะนี้ แต่ลองดูเปรียบเทียบกับการรัฐประหารครั้งก่อน จะเห็นว่า ประกาศเหล่านี้ไม่ได้ใช้อยู่นานนัก
งานเสวนาเรื่องกฎหมายละเมิดอำนาจศาล ผศ.เอื้ออารีย์ ชี้สถานการณ์ปัจจุบันขาดความชัดเจน ลงโทษซ้ำจากการกระทำเดียว พิจารณาคดีโดยไม่อิสระ ขัดต่อหลักสากล จรัญ เห็นพ้องด้วยควรแก้กฎหมาย ย้ายออกจากป.วิ.แพ่ง ไม่เน้นโทษจำคุก สร้างมาตรฐานกลางสำหรับทุกศาลให้ประชาชนเข้าใจได้
หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตั้งแต่ก่อนลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญคือเรื่อง การร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญของผู้ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แต่หลังจากประกาศใช้ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีคำสั่งรับคำร้องโดยตรงจากผู้ถูกละเมิด จึงชวนมาดูเหตุผลกันว่าเหตุใดบ้างที่ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่รับคำร้องของประชาชน