ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ไม่ได้มีแค่ "มาตรา44" ของ คสช. เท่านั้นที่เป็นอำนาจเบ็ดเสร็จ ยังมี "มาตรา17" ของจอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอม มี "มาตรา 27" ของพลเอกเกรียงศักดิ์ และอื่นๆ อีก แต่การใช้อำนาจนี้ส่วนใหญ่ในอดีตจะเป็นการตัดสินลงโทษบุคคล ต่างกับ คสช. ที่ใช้ออกกฎหมายและโยกย้ายตำแหน่ง
กลไกใหม่ๆ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 เช่น กฎหมายพรรคการเมือง การนับที่นั่งส.ส. กลไกลนายกฯคนนอก ฯลฯ หากถูกนำมาใช้ประกอบกันในเงื่อนไขและจังหวะเวลาที่ถูกต้อง อาจทำให้ คสช. สามารถควบคุมผลการเลือกตั้งครั้งหน้าได้ และทำให้การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นไม่มีความหมาย
ระบบการแจ้งเตือนให้ลบเนื้อหา (Notice and Takedown) เริ่มใช้แล้วในประเทศไทยตามประกาศกระทรวงดีอีฯ ลองดูบทเรียนจากกฎหมาย DMCA ของอเมริกาว่า ระบบนี้ถูกใช้ในประเทศต้นตำรับอย่างไร มีปัญหาอะไร จะช่วยให้เห็นว่า กฎหมายของไทยยังมีช่องว่างอย่างไรบ้าง
หลังรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ผ่านประชามติ เราเคยชวนจับตา 6 ประเด็นสำคัญที่จะเป็นผลพวงของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นับตั้งแต่ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 เวลาผ่านมาประมาณ 6 เดือนเศษ ของการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ กลไกหลากหลายที่รัฐธรรมนูญวางหมากเอาไว้เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น มีอะไรเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
Thailand’s national reform has become a buzzword since before the 2014 coup. It was mainly touted by the People's Democratic Reform Committee (PDRC) with its motto “Reform Before Elections”. After the coup, the National Council for Peace and Order (NCPO) has, therefore, hailed national reform as its first priority claiming to reform the country in anticipation of elections.
รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ จัดทำ "ร่างมาตรฐานทางจริยธรรม" เพื่อบังคับใช้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ ส.ส. ส.ว.และคณะรัฐมนตรี ขณะนี้ร่างแรกเสร็จและเผยแพร่แล้ว กำลังเข้าสู่ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ คือ คณะกรรมการที่แต่งตั้งตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยแผนและการปฏิรูปประเทศ พ.ศ.2560 หรือ พ.ร.บ.ปฏิรูปประเทศฯ มีหน้าที่จัดทำแผนเพื่อปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2560 และพ.ร.บ.ปฏิรูปประเทศฯ รวมทั้งทำงานอื่นๆ ตามที่รับมอบหมายจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
แม้คำพิพากษาคดีจำนำข้าวจะยังไม่สะท้อนภาพการแทรกแซงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลโดยองค์กรตุลาการอย่างเด่นชัด แต่ก็น่าตั้งข้อสังเกตว่า คดีดังกล่าวจะกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับลงโทษรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายที่ถูกกล่าวหาว่าใช้นโยบาย 'ประชานิยม' หรือไม่ โดยเฉพาะในยุคที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้อำนาจองค์กรอิสระในการจับตารัฐบาลชุดหน้าอย่างเข้มข้น
จากสำรวจดูผู้ที่จัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติฉบับตั้งต้น หรือ ร่างยุทธศาสตร์ชาติ 2558 ก็ล้วนแล้วแต่เป็นคนสนิทใกล้ชิดหรือคุ้นเคยกับรัฐบาลเป็นอย่างดี นอกจากนี้ กระบวนการรับฟังความคิดเห็นยังเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากผู้ที่ได้เข้าไปแสดงความคิดเห็นนั้นล้วนแต่เป็นผู้แทนหน่วยราชการ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือตัวแทนเอกชน ภาคประชาชน ไม่มีชื่อคนธรรมดาๆ เข้าร่วมแม้แต่คนเดียว
6 กันยายน 2560 ไอลอว์ไปสังเกตการณ์เวทีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปตำรวจ โดยการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้เรียกว่า 'ระยะแรก' ซึ่งเป็นการรับฟังเพื่อจัดทำรายงานข้อเสนอปฏิรูป โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนองค์กรอิสระ นักวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรภาคประชาชนสังคม เป็นหลัก และการรับฟังในวันดังกล่าวมีเพียงผู้ทรงคุณวุฒิจากกลุ่มสื่อมวลชน จำนวนประมาณ 10-15 คน ซึ่งสะท้อนการมีส่วนร่วมที่เป็นไปอย่างจำกัด