การเลือกตั้งจากเดิมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างช้าสุดในเดือนพฤศจิกายน 2561 อาจถูกเลื่อนออกไปอีก 90 วัน เป็นเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม 2562 อย่างไรก็ตามตามโรกแมป คสช. เอง ก็เลือกตั้งก็สามารถเกิดอย่างเร็วในเดือนกันยายน 2561 หรือปลายปี 2561 ช่วงไหนก็ได้ เพียงแค่คสช.ปลดล็อกพรรคการเมือง
เมื่อพูดถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เราจะนึกถึงอะไร? ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนจะเข้าสู่ปีที่สี่ เรารู้จักอะไรเกี่ยวกับ คสช. บ้าง งานชิ้นนี้รวบรวมประกาศและคำสั่ง ที่จะแสดงให้เห็นว่า คสช. คืออะไร คือใคร และทำงานอย่างไร?
มีแนวโน้มว่าโรดแมปตามรัฐธรรมนูญ 2560 จะถูกเลื่อนไปอีกถึง 90 วัน หากที่ประชุม สนช. เห็นชอบร่างกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ร่างกฎหมายฉบับนี้ สนช.ได้ใช้เทคนิคใหม่เพื่อให้การเลือกตั้งยืดออกไป แต่การยืดครั้งนี้เป็นหนึ่งในสี่เทคนิคที่ คสช. ใช้เพื่อขยายโรดแมปเพื่อเลื่อนเลือกตั้งออกไปเรื่อยๆ
ประกาศ/คำสั่งของ คสช. จำนวนหนึ่งเป็นการควบคุมสื่อมวลชนทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์ด้วย หลายคนอาจไม่รู้ว่ามีประกาศ/คำสั่ง แบบนี้อยู่ เช่น การสั่งสื่อต้องเผยแพร่ข้อมูลตามที่ได้รับแจ้งจาก คสช. การขยายอำนาจให้ กสทช. สั่งปิดสื่อได้โดยไม่ต้องรับผิด
ความรวดเร็วในการออกประกาศ,คำสั่งคสช.และมาตรา 44 ทำให้เกิดคำถามถึงความละเอียดรอบคอบทั้งในแง่เนื้อหาและกระบวนการ หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดของความไม่รอบคอบเพียงพอคือ ข้อผิดพลาดหลายครั้งหรือการออกคำสั่งอย่างไม่คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งคำสั่งบางฉบับมีเนื้อหาล้าสมัย ไม่ตอบสนองสถานการณ์ปัญหาที่เปลี่ยนแปลงเร็ว จนนำไปสู่การแก้ไขในเวลาต่อมา
ปี 2561 อาจจะเป็นปีที่ใครบางคนเฝ้ารอคอย ไม่ว่าจะเป็นการทำตามสัญญาของชายชาติทหารที่สัญญาว่าจะให้ประเทศไทยมีการเลือกตั้ง หลังจากเว้นว่างมานานเกือบ 4 ปี แต่ทว่า เหตุการณ์สำคัญในปีนี้ อาจมิใช่แค่การมาของการเลือกตั้ง แต่รวมถึงมรดกต่างๆ ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะมอบให้กับคนไทย ที่ประกอบไปด้วย แผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ กฎหมายลูก(พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ) และมาตรฐานจริยธรรม ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ใหม่ทางการเมืองไทย ที่ใครก็อาจจะลืมไม่ลง...
กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตยและภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 เพื่อขอให้วินิจฉัยว่า คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 6 และข้อ 12 มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ รวมถึงคำสั่งควบคุมตัวและการควบคุมตัวผู้ร้องไว้โดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ส่งท้ายปี 2560 "ไอลอว์" ขอจัด 10 อันดับเหตุการณ์เด่นที่เป็นหมุดหมายสำคัญและส่งผลกระทบต่อความเป็นไปทางสังคมการเมืองไทย นี่คือทุกเรื่องที่สำคัญกับทุกคน และเป็นบทเรียนให้เราเรียนรู้ร่วมกัน อย่างน้อยเพื่อให้ยังไม่ลืมกันง่ายๆ
หัวหน้าคสช. ออก คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 แก้ไขพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขกับสมาชิกพรรคการเมืองเก่าให้ต้องดำเนินการแจ้งแสดงตัวเป็นสมาชิกต่อหัวหน้าพรรค และขยายกรอบเวลาให้พรรคการเมืองดำเนินงานธุรการโดยการต้องขออนุญาตจาก คสช. และกำหนดเงื่อนไขปลดล็อคพรรคการเมือง เมื่อพ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. และการเลือกตั้งส.ส. ประกาศใช้
คำว่า 'ปลดล็อคพรรคการเมือง' เกิดขึ้นหลังพรรคการเมืองหลายต่อหลายพรรคร่วมกันจี้ รัฐบาล คสช. ให้ยกเลิกคำสั่ง-ประกาศ คสช. บางฉบับ ที่ขัดขวางการดำเนินการตามกฎหมายพรรคการเมืองฉบับใหม่ ส่วนสำคัญอย่างไร ถ้าไม่ปลดล็อคจะเกิดอะไรขึ้น คำตอบก็คือ เพื่อให้พรรคการเมืองได้ดำเนินการตามกฎหมาย ไม่ต้องเสี่ยงหมดสิทธิส่ง ส.ส. ลงสมัคร หรือไม่ได้รับเงินสนับสนุนในการแข่งขันทางการเมือง