หลายคนอาจจะอ่านรัฐธรรมนูญ 2560 แล้วต้องกุมขมับหลายตลบ ส่วนหนึ่งก็เพราะมันอ่านยากเองจริงๆ แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพราะคนเขียนตั้งใจใช้ "เทคนิค" เขียนให้ยุ่งยาก สร้างขั้นตอนซับซ้อน ใช้คำใหญ่โต เหมือนจะเปิดกว้าง แต่จริงๆ สุดท้าย "ซ่อนแอบ" กลไกรวบอำนาจให้ตัวเอง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผยแพร่ร่างกฎหมายลำดับรองตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2560 ทั้งหมดห้าฉบับ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ประกาศ เรื่อง "ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ 2560" โดยประกาศฉบับนี้ออกตามอำนาจมาตรา 4 ประกอบกับมาตรา 15 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่
รัฐธรรมนูญ2560 ก็ระบุ ให้ประชาชนมีสิทธิและมีส่วนร่วมทางการเมืองในการกำหนดอนาคตของตนเองและประเทศ ผ่านการเข้าชื่อเสนอกฎหมายด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน สามารถรวมตัวกันเข้าชื่อเสนอร่างพ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของชาวไทยและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐหากได้
6 เมษายน 2560 เป็นวันแรกที่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขจากร่างฉบับที่ลงประชามติทั้งหมด 7 มาตราด้วยกัน คือ มาตรา 5 หมวดทั่วไป มาตรา 12 15 16 17 19 หมวดพระมหากษัตริย์ และมาตรา 182 หมวดคณะรัฐมนตรี
วันนี้ถือเป็นวันที่ "รัฐธรรมนูญ 2560" จะมีการประกาศใช้และกลายเป็นกฎหมายสูงสูงของประเทศโดยสมบูรณ์ ดังนั้น จึงพลาดไม่ได้ที่จะต้องอ่านทวนซ้ำๆ ว่าอะไรคือสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้บ้าง
นับถึง 6 เม.ย. 60 เกว่า 2 ปี 8 เดือน คสช.ใช้เวลาในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยมีกรรมาการร่าง 2 ชุด มีร่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ มีการออกเสียงประชามติ 1 ครั้ง มีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติ 4 ครั้ง และมีผู้ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับประชามติอย่างน้อย 195 คน ทั้งหมดคือสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนจะมีรัฐธรรมนูญ 2560
6 เมษายน 2560 จะมีพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการทำประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และผ่านการแก้ไขตามข้อสังเกตพระราชทาน 3-4 เรื่อง ก่อนที่จะมีการประกาศใช้
ในอดีตปัญหาคนติดคุกฟรีถือเป็นเรื่องของความ "โชคร้าย" เพราะไม่มีกฎหมายกำหนดให้ภาครัฐเยียวยาผู้ที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีที่ศาลพิพากษายกฟ้อง ในปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไปในทางที่ดีโดยมีการจัดตั้งกองทุนยุติธรรมให้ความช่วยเหลือเงินประกันตัวกับผู้มีรายได้น้อยหรือเยียวยาคนถูกฝากขังที่อัยการสั่งไม่ฟ้องกับสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินฯเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกคุมขังแต่ศาลยกฟ้องซึ่งการทำความรู้จักกับหน่วยงานทั้งสองน่าจะมีประโยชน์ในยาม 'ฉุกเฉิน'
หัวหน้าคสช. ใช้ ม. 44 ออก 4 คำสั่งรวด สั่งให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถยนต์ทุกคนต้องคาดเข็มขัด ไม่ต่อทะเบียนรถยนต์ให้ถ้าไม่จ่ายค่าปรับ บังคับรถตู้รับผู้โดยสารไม่เกิน 13 ที่นั่ง รื้อระบบบริหารราชการครู ปรับผู้แทนครูพ้นจากบอร์ด ก.ค.ศ. และการแก้ไขคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 7/2558
ต้นเดือน ม.ค.2560 หัวหน้าคสช. ใช้อำนาจมาตรา 44 ประกาศคำสั่งคสช. 3/2560 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง โดยรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปี 2560 จะเป็นปีของการปฏิรูปการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติใน 20 ปีและการสร้างความปรองดองต้องนำไปสู่ไทยแลนด์ 4.0