การโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยปกติแล้วไม่ใช่เรื่องผิดบาป เพียงแต่ก็ยังมีเส้นที่ยังต้องกำกับกันอยู่บ้างเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคสื่อไม่ให้ถูกครอบงำ หรือชักจูงให้หลงเชื่อจนเกิดผลเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชาสัมพันธ์ หรือโฆษณาจากภาครัฐที่นำเม็ดเงินภาษีประชาชนไปใช้ ยิ่งต้องมีการกำกับอย่างเคร่งครัด
มิถุนายนถูกกำหนดให้เป็น Pride Month แต่ไทยก็ยังไม่มีกฎหมายรับรอง 'สิทธิในการก่อตั้งครอบครัว' ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ หลายกลุ่มได้เริ่มผลักดันกฎหมายโดยมีอยู่ 2 แนวทางหลัก เสนอให้ยกร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ออกมาเป็นกฎหมายแยก และแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
4 มิถุนายน 2563 ที่ประชุมเสียงข้างมากมีมติรับหลังการ ร่างพ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย ที่ให้โอนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 จากหน่วยรับงบประมาณหรือกระทรวงต่างๆ มาตั้งไว้เป็น 'งบกลาง' ในรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ที่มียอดวงเงินงบประมาณอยู่ที่ 88,452 ล้านบาท แต่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวก็ตามมาด้วยการตั้งคำถามทั้งจากพรรคร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้าน
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเกี่ยวกับ พ.ร.ก.เงินกู้ สามฉบับ หลังจากมีการอภิปรายถึงห้าวัน ผลคือ เห็นชอบให้ผ่าน พ.ร.ก.ทั้งสามฉบับ และได้ส่งต่อไปให้วุฒิสภาพิจารณา และลงมติอีกครั้งซึ่ง ที่ประชุมส.ว.ใช้เวลาทั้งหมดสองวัน และลงมติเห็นชอบทั้งสามฉบับโดยไม่มีส.ว. คนใดไม่เห็นชอบเลย
วันที่ 19 เมษายน 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พ.ร.ก. ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 เพื่อใช้แทนกฎหมายเดิม มีการแก้ไขเรื่องสำคัญ เช่น ให้การประชุมออนไลน์ไม่ต้องให้ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 1 ใน 3, ผู้ร่วมประชุมออนไลน์ทั้งหมดไม่จำเป็นต้องอยู่ภายในประเทศไทย, การประชุมต้องมีการเก็บข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ (Log File) และการจัดประชุมออนไลน์ต้องเตรียมการลงมติทั้งลับ และไม่ลับไว้ด้วย
“โควิด-19” ระบาด ทำให้เกิดการกักตุนสินค้าอุปโภค บริโภค และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น จนสินค้าบางชนิดขาดตลาด ทั้งนี้ พ.ร.บ. ราคาสินค้าและบริการ ให้อำนาจ รมว.พาณิชย์ประกาศควบคุมสินค้าและบริการได้ โดยถ้ากักตุนสินค้าควบคุมเกินกำหนดมีโทษสูงสุดจำคุกถึง 7 ปี และปรับ 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3 มีนาคม 2563 ประเทศไทยมีผู้ติด “โควิด-19” รวม 43 ราย ในการป้องกันการแพร่ระบาด รัฐบาลมีกฎหมายโรคติดต่อ ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ผู้ที่เป็นหรือสงสัยว่าติดเชื้อได้ ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัด/กรุงเทพฯ มีอำนาจสั่งปิดสถานที่ อาทิ สถานศึกษา สถานที่ชุมชน ฯลฯ ในกรณีเหตุจำเป็นเร่งด่วน
พ.ร.บ.อุทยานฯ เป็นหนึ่งในกฎหมายหลายร้อยฉบับที่ถูกเขียนขึ้นโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ภายใต้รัฐบาลคสช. โดยเริ่มยกร่างในปี 2559 และผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมสนช.ก่อนหน้าการเลือกตั้ง 2562 เพียงไม่สองสัปดาห์ ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่า ออกกฎหมายไม่รอบคอบและแก้ปัญหาการแบ่งปันทรัพยากรป่าไม้ไม่ถูกที่
ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์ศึกษากฎหมายกับเทคโนโลยี ชวนทำความรู้จัก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายพื้นฐานในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว แต่เปิดช่องให้รัฐสอดส่องหรือตรวจสอบกิจกรรมของพลเมืองบนพื้นที่ไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ
เมื่อ 16 เมษายน 2562 ราชกิจจานุเบกษาประกาศใช้กฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นของชาวกรุงเทพฯ ซึ่งในเนื้อหาได้มีความแตกต่างจากกฎหมายเดิมหลายประการโดยสิ่งที่น่าจับตาในกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้คือเรื่องการยื่นดาบให้บิ๊กป็อกตรวจสอบและสั่งฟันคุณสมบัติส.ก.และผู้ว่ากทม.