Laws Monitoring

NLA Watch
ช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนที่ สนช. จะหมดอายุไปภายหลังการเลือกตั้ง มีกฎหมายที่เป็นประโยชน์กับประชาชนถูกเสนอหรือเตรียมที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาจำนวนไม่น้อย ตัวอย่างเช่น ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานฯ วิเคราะห์เหตุจูงใจทางการเมืองทำไมถึงมากันเยอะในช่วงนี้ 
Computer law
ในปี 2561 จำนวนคดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์ข้อความบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะข้อความที่แสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น รวมถึงมีการนำ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาใช้ข่มขู่การแชร์ข้อมูลบนโลกออนไลน์  
NLA approved ECT
22 พฤศจิกายน 2561 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบ เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ฐิติเชฏฐ์ นุชนาฎ ทนายความ ด้วยคะแนนเสียง 148 ต่อ 28 งดออกเสียง 8 เสียง และคะแนนเสียง 149 ต่อ 27 งดออกเสียง 8 เสียง ตามลำดับ ซึ่งส่งผลให้ทั้งสองคนได้รับเลือกเป็นหนึ่งในเจ็ดคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดใหม่ และถือเป็นการปิดฉากมหากาพย์การสรรหา กกต. ชุดใหม่ ในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
General Income
สนช. พิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร ในประเด็นยกเลิกอัตราเงินเดือนข้าราชการทหารของนายทหารยศจอมพล แก้ไขเป็นให้นายทหารยศพลเอกพิเศษ และให้นายทหารยศพลเอก ได้รับเงินเดือนเท่ากับนายทหารยศพลเอกพิเศษ ซึ่งจะได้รับเงินเดือน ต่ำสุดอยู่ที่ 56,117 และสูงสุดอยู่ที่ 76,604 บาท
8 พฤศจิกายน 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไข ป.วิอาญา ฉบับที่สมาชิก สนช. นำโดย มหรรณพ เดชวิทักษ์ เป็นผู้เสนอ โดยสมาชิก สนช. มีมติเห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไข ป.วิอาญาฉบับนี้ ด้วยเสียง 188 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง โดยไม่มีผู้ไม่เห็นด้วย
พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 ถูกบรรจุระเบียบวาระการประชุมที่ 71/2561 ซึ่งไม่ได้แนบเอกสารที่เกี่ยวกับไว้ในเว็บไซต์ สนช. อย่างไรก็ตาม วันที่ 25 ตุลาคม 2561 ที่ประชุมลับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เห็นชอบ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ด้วยคะแนนเห็นชอบ 194 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง การประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีผลทำให้ “พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560” ซึ่ง สนช. เพิ่งเห็นชอบไปเมื่อปีที่แล้วต้องถูกยกเลิกไป สำหรับความแตกต่างของ พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับมีดังนี้
11 ตุลาคม 2561  'ร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. …' กลับมาอีกครั้ง โดยเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ฉบับใหม่ ยังให้อำนาจรัฐเข้าถึงข้อมูลของประชาชนได้ เพียงแค่มีเหตุอันควรสงสัยว่าคนนั้นเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามไซเบอร์ และเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ ยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่บุกตรวจค้นและยึดคอมพิวเตอร์ได้ทันที โดยไม่ต้องมีหมายศาลเหมือนเดิม
Court's Allowance
วันที่ 25 ตุลาคม 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ....) ด้วยคะแนนเห็นชอบ 181 เสียง ไม่เห็นชอบ 0 เสียง เหตุผลของการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ การเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ให้สามารถออกระเบียบกำหนดเบี้ยประชุมสำหรับข้าราชการตุลาการซึ่งเข้าร่วมการประชุมใหญ่ในศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 193 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นการเฉพาะตามความเหมาะสม
ในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีความพยายามในการบริหารจัดการน้ำด้วยการใช้ ม.44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 46/2560 ตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริการจัดการน้ำ และมีอํานาจจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราว และขอเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ มาปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม รวมถึงการแก้ไขและพยายามผ่านร่างกฎหมายทรัพยากรน้ำ ทว่าเวลาผ่านมาเนิ่นนานนับปี ที่ประชุมก็ยังไม่มีมติผ่านร่างดังกล่าว เนื่องจากมีการถกเถียงและอภิปรายที่ยังไม่ลงตัว 
การบริหารงานในยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือว่าการขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการเป็นเรื่องสำคัญ อันจะเห็นได้จากการแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ของคณะรัฐมนตรีที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ที่ระบุถึงการจัดระบบอัตราและปรับปรุงค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐให้เหมาะสมและเป็นธรรม ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารจัดการภาครัฐแบบใหม่ ดังนั้น ในช่วงที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศจึงมีกฎหมายขึ้นเงินเดือนให้กับข้าราชการไปแล้วอย่างน้อย 12 ฉบับ