สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ รวมแล้วสี่ฉบับ และร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ฉบับที่ห้า กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้ สนช. ยังมีมติเห็นชอบ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำฯ รวมทั้งหมดสามฉบับด้วยกัน ตลอดสี่ปี สนช. ไฟเขียวงบประมาณให้ คสช. เป็นวงเงินทั้งสิ้น 14 ล้านล้านบาท โดยอนุมัติผ่านกฎหมายจำนวนแปดฉบับ
สมาชิก สนช. มาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ดังนั้นจึงเป็นตัวแทนของฝ่ายบริหารที่มาทำหน้าที่คัดเลือกคนเข้าไปอยู่ในองค์กรอิสระที่ควรจะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช. สี่ปีที่ผ่านมา สนช. ได้ลงมติเห็นชอบเพื่อคัดเลือกคนที่ คสช. ไว้ใจเข้าไปดำรงตำแหน่งสำคัญๆ 60 ตำแหน่ง
ลักษณะที่โดดเด่นของ สนช. คือเป็นเครื่องจักรผลิตกฎหมายจำนวนมากให้กับ คสช. ภายในระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา สนช. เห็นชอบกฎหมายไปแล้วไม่ต่ำกว่า 298 ฉบับ จนเป็นผลงานที่ภาคภูมิใจของบรรดาสมาชิก สนช. และรัฐบาล คสช. ซึ่งตลอดระยะเวลาการทำงานของ สนช. ยังไม่พบว่ามีร่างกฎหมายฉบับใดที่จะถูกปัดตกไป
สนช. เป็นสภาที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. หน้าที่สำคัญคือ การออกกฎหมายให้กับรัฐบาล คสช. สี่ปีที่ผ่าน สนช. เห็นชอบกฎหมายไปแล้วอย่างน้อย 298 ฉบับ ซึ่งกฎหมายจำนวนหนึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ คสช. ใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจทางการเมือง
พ.ร.บ.โอนเงินงบประมาณ ถือว่าเป็นเครื่องมือทางการเงินอย่างหนึ่งที่รัฐบาลสามารถใช้ได้เพื่อการบริหารประเทศ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้มีผลให้โอนเงินงบประมาณที่คงเหลือในปีงบประมาณนั้นๆ ไปตั้งไว้เป็นงบประมาณรายจ่ายของปีถัดไป ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) สภาที่มาจากการแต่งตั้งโดยคสช. ได้เห็นชอบ พ.ร.บ.โอนเงินงบประมาณ ถึง 4 ครั้งติดต่อกัน รวมแล้วเป็นวงเงินประมาณ 53,885 ล้านบาท
สนช. รับหลักการร่าง พ.ร.บ.เอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับองค์การระหว่างประเทศฯ ซึ่งจะกำหนดเอกสิทธิ์และความคุ้มกันอย่างเป็นทางการให้กับองค์การระหว่างประเทศที่จะมาตั้งสำนักงานในไทย และบุคลากรของหน่วยงานดังกล่าว รวมถึงการประชุม และผู้เข้าร่วมการประชุมประหว่างประเทศด้วย
ในสมัยของ สนช. สภาแต่งตั้งจาก คสช. พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ได้รับการแก้ไขถึงสองครั้ง และกระบวนการพิจารณาทั้งสองครั้งก็ใช้เวลาเห็นชอบเป็นกฎหมายภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ในด้านเนื้อหาสาระการแก้ไขเพิ่มเติมสองครั้งมีสาระสำคัญคือการเพิ่มอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งผู้บริหารคณะสงฆ์
สมาชิก สนช. และ ครม. มาจากการแต่งตั้งใครก็ได้ในตอนแรก แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้ คุณสมบัติของผู้ใช้อำนาจก็ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญด้วย ทำให้สมาชิก สนช. และ ครม. มีเรื่องต้องถูกตรวจสอบมากขึ้น แต่ยังยกเว้นให้เป็นข้าราชการไปด้วย นั่งในสภาไปพร้อมกันได้
12 กรกฎาคม 2561 เวลา 10.17 น. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เริ่มประชุมเพื่อพิจารณาเห็นชอบกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จำนวน 7 คน การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมลับและลงคะแนนเสียงลับ โดยที่ประชุม สนช. มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง กกต. จำนวน 5 คน และไม่เห็นชอบ จำนวน 2 คน
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นัดประชุมให้ความเห็นชอบผู้ที่จะเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ หลัง กกต. ชุดเก่าถูก 'เซ็ตซีโร่' หรือถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 แต่ตลอดกระบวนการสรรหา คสช. พยายามเข้ามามีบทบาทกับองค์กรอิสระ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมอยู่หลายครั้ง