ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ สพธอ.2556: โทษคุกฐานก้อปปี้ไฟล์ เก็บภาพโป๊เด็ก

ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ สพธอ.2556: โทษคุกฐานก้อปปี้ไฟล์ เก็บภาพโป๊เด็ก

เมื่อ 14 เม.ย. 2556

หลักการ

ไฟล์แนบขนาดไฟล์
ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับ สพธอ. 2556255.09 KB
แนวทางการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์859.88 KB

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) จัดงานเผยแพร่ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ) ฉบับใหม่ โดยมีกำหนดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างดังกล่าวผ่านทางหน้าเว็บไซต์จนถึงวันที่ 15 เมษายนนี้

สพธอ.กล่าวถึงเจตนารมณ์ในการแก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับปี 2550 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่ครอบคลุมความผิดหลายอย่าง เช่น ปัญหาเรื่องอีเมลสแปม และมีการบังคับใช้ที่ผิด เช่น การนำพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ไปใช้ฟ้องคดีหมิ่นประมาทบุคคล เป็นต้น

เมื่อพิเคราะห์ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับสพธอ.2556 (เผยแพร่วันที่ 3 เมษายน) ประเด็นสำคัญที่แก้ไขเพิ่มเติม มีดังนี้

ความเป็นมา: 

1. ความผิดฐานการก้อปปี้ข้อมูล หรือการทำซ้ำข้อมูลคอมพิวเตอร์

ร่างฉบับนี้กำหนดให้การ “ทำซ้ำ” ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเป็นความผิด เจตนารมณ์ของร่างมาตรานี้มุ่งคุ้มครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ในส่วนที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา แต่ยังมีข้อกังวลว่า ร่างมาตรานี้อาจถูกนำไปใช้ซ้ำซ้อนกับกฎหมายลิขสิทธิ์

อ่านต่อ

2. ความผิดฐานครอบครองภาพโป๊เด็ก

ร่างมาตรานี้ อาจถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของเรื่อง “ลามก” ใน “กฎหมายไทย” เพราะกำหนดให้การ "ครอบครอง" ภาพลามกของเด็กหรือเยาวชนเป็นความผิด เรียกได้ว่า เพียงแค่มีไว้ในเครื่อง ก็ผิดแล้ว

อ่านต่อ

3. ความผิดต่อเนื้อหา ความผิดที่กระทบต่อความมั่นคง

ความผิดต่อเนื้อหา ที่อยู่ในมาตรา 14 ของกฎหมายเดิมนั้น ในร่างฉบับนี้ได้แก้ไขมาตรา 14 (1) ซึ่งถูกนำไปใช้ในกรณีการหมิ่นประมาทบุคคล ซึ่งเป็นการใช้อย่างผิดๆ มาตลอดช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาส่วนมาตรา โดยปรับถ้อยคำให้ใช้กับกรณีการฟิชชิ่งเท่านั้น ส่วนมาตรา 14 (2) และ (3) เดิมที่เป็นเรื่องเนื้อหาที่กระทบต่อความมั่นคงนั้น ยังคงอยู่ในร่างฉบับใหม่ โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงอัตราโทษ มาใช้วิธีกำหนดโทษขั้นต่ำสุดแทนการกำหนดโทษขั้นสูงสุด

อ่านต่อ

4. ภาระความรับผิดของผู้ให้บริการ

ปัญหาสำคัญของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 คือการกำหนดภาระความรับผิดของผู้ให้บริการที่ "จงใจ สนับสนุน ยินยอม" ให้กระทำความผิด โดยผู้ให้บริการต้องรับโทษเท่ากับผู้โพสต์ข้อความ ร่างฉบับใหม่นี้แก้ไขถ้อยคำโดยเปลี่ยนจากคำว่า “จงใจสนับสนุนหรือยินยอม” มาเป็นคำว่า ผู้ให้บริการที่ "รู้หรือควรได้รู้" โดยมุ่งเฉพาะความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ อย่างไรก็ดี กฎหมายไม่ได้ให้ความสำคัญกับขั้นตอนและมาตรการการปฏิบัติหน้าที่ที่จะใช้พิจารณาเจตนาของผู้ให้บริการ เท่ากับการกำหนด "ความรับผิด" ที่ผู้ให้บริการพึงมีโดย "อัตโนมัติ"

อ่านต่อ

5. การเก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ (ล็อกไฟล์)

กฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือล็อกไฟล์เป็นเวลา 90 วัน และขยายเวลาได้ในกรณีพิเศษ แต่ขยายได้ไม่เกินหนึ่งปี ในร่างใหม่นี้แก้ไขให้ พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถร้องขอให้ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลเอาไว้ได้สูงสุดสองปี และในกรณีที่จำเป็น รัฐมนตรีสามารถประกาศกำหนดให้เก็บข้อมูลนานกว่านั้นได้โดยไม่มีเพดานระยะเวลา

อ่านต่อ

6. เพิ่มเหตุผลในการบล็อกเว็บ

มาตราที่ว่าด้วยการบล็อคเว็บ แก้ไขจากเดิมที่ให้บล็อคเว็บเฉพาะที่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ (อันได้แก่ เรื่องลามก ความมั่นคง ข้อมูลปลอม) ร่างใหม่นี้ขยายประเด็นให้รวมถึงความผิดใน “กฎหมายอื่นๆ” ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือได้ด้วย

อ่านต่อ

7. ขยายขอบเขตเหตุเพิ่มโทษ เน้นเรื่องความมั่นคงมากขึ้น

ร่างกฎหมายนี้ พยายามขยายขอบเขตของ “บทฉกรรจ์” หรือว่าเหตุเพิ่มโทษ ที่จากเดิมกำหนดว่า จะมีเหตุเพิ่มโทษได้ต่อเมื่อเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงฯ ซึ่งยังเน้นการคุ้มครองอาชญากรรมที่ "กระทำต่อคอมพิวเตอร์" แต่ตามร่างใหม่นี้ เพียงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงฯ ก็เป็นเหตุเพิ่มโทษได้แล้ว

อ่านต่อ

8. ให้อำนาจตำรวจทั่วไปเท่ากับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

ร่างฉบับสพธอ. เพิ่มเติมมาตราหนึ่งเข้ามา กำหนดให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ ซึ่งไม่ต้องเป็นเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ สามารถติดต่อผู้ให้บริการเพื่อสอบถามข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ (ล็อกไฟล์) ได้ และหากจะทำมากกว่านั้น เช่น จะทำสำเนาข้อมูล ยึด อายัด ตรวจค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ หรือเจาะเข้าระบบ ก็ให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ สามารถร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ช่วยรวบรวมหลักฐาน ให้ได้

อ่านต่อ

9. การเข้าถึงระบบ/ข้อมูลคอมพิวเตอร์

ร่างฉบับสพธอ.กำหนดว่า การเข้าถึงระบบ/ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ไม่ว่าระบบ/ข้อมูลนั้นๆ จะมีมาตรการการป้องกันการเข้าถึงหรือไม่ก็ตาม ก็ล้วนเป็นความผิด

อ่านต่อ

10. สแปมเมล์

แม้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบัน จะกำหนดให้การส่งสแปมถือเป็นความผิด แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะกำหนดไว้เพียงว่า การส่งสแปมจะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อไม่เปิดเผยชื่อผู้ส่ง ซึ่งการเขียนเช่นนี้ไม่ช่วยแก้ปัญหาสแปมได้เลย ในร่างฉบับใหม่จึงเขียนใหม่ว่า การส่งเมลที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับแจ้งบอกเลิก ปฏิเสธการรับเมล ถือว่ามีความผิด

อ่านต่อ

11. เหตุเกิดต่างแดน กระทบความมั่นคงของไทย ดำเนินคดีได้โดยไม่ต้องมีผู้ร้องขอ

ร่างฉบับนี้ ขยายอำนาจบังคับของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้เอาผิดกับกรณีที่การกระทำบางส่วนทำในประเทศไทย บางส่วนทำนอกประเทศ และกรณีที่ผลของการกระทำเกิดในประเทศไทย หรือเล็งเห็นได้ว่าควรเกิดในประเทศไทยด้วย ให้สามารถลงโทษตามกฎหมายไทยได้ และหากเป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติไทยนั้น ร่างฉบับนี้กำหนดว่า ไม่ต้องคำนึงถึงการร้องขอของผู้เสียหาย ไม่จำเป็นต้องคำนึงว่ามีการกระทำส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือผลของการกระทำจะเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่ ก็สามารถดำเนินคดีลงโทษในประเทศไทยได้

อ่านต่อ
0

Comments

1

แม้จุดมุ่งหมายของกฎหมายมาตรานี้จะมีขึ้น เพื่อคุ้มครองป้องกันการสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นก็ตาม แต่ในประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญานั้น เป็นที่น่ากังวล หากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะนำกฎหมายมาตรานี้ไปใช้กับกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งอาจจะลงเอยกลายเป็นเรื่อง "เก็บซีดีไปขาย" ก็ได้  ดังนั้น จึงควรมีการระบุเพิ่มเติมในมาตราดังกล่าวว่า การกระทำความผิดตามมาตรานี้ ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องลิขสิทธิ์ หากการกระทำดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องไม่ถือว่าเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือให้ลงโทษตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไป

2
iLaw's picture

ความเห็นหนึ่งจากเฟซบุคของ iLaw

เห็นด้วยในหลักการเบื้องต้นว่า ควรมีกฎหมายในการควบคุม ชายพร (child porn)

แต่คนเสนอได้คิด หรือเตรียมพร้อมรึยัง สำหรับประเด็นทางกฎหมายต่างๆ ที่จะตามมา เหล่านี้รึยัง



ประเด็น 1 "เด็ก" ในที่นี้หมายถึง คนอายุเท่าไหร่ ต่ำกว่า 18 ปีรึเปล่า?

ประเด็น 2 โป๊เด็ก หมายความว่ายังไง แค่ไหนถึงว่า "โป๊" ภาพถ่ายที่พ่อแม่ถ่ายลูกตอนอาบน้ำ ถือว่า "โป๊" มั๊ย? เด็กใส่ชุดว่ายน้ำถือว่า "โป๊" มั๊ย?

ประเด็น 3 ถ้ากรณีผู้เยาว์ (ที่กฎหมายให้สามารถแต่งงานได้ก่อนอายุ 18 ปี) ถ้าคู่สมรสผู้เยาว์ถ่ายภาพหรือคลิปวีดีโอสยิวไว้ดูส่วนตัว

การครอบครองคลิปหรือภาพดังกล่าว ถือเป็นการครอบครอง ชายพร ด้วยหรือไม่

ประเด็น 4 แล้ว ชายพร ที่ใช้โปรแกรมกราฟฟิคสร้างขึ้นมาล่ะ? ไม่มีเด็กจริงๆเข้าไปเกี่ยว จะถือว่าเป็นชายพร ที่กฎหมายต้องการควบคุมด้วยหรือไม่

ประเด็น 5 ภาพชายพรที่เก็บอยู่ในเครื่องในรูปแบบ cache ที่ผู้ใช้เน็ตไม่รู้ล่ะ ถือว่าครอบครองด้วยหรือไม่ แล้วสำหรับคนที่รู้ว่ามี cache อยู่จะถือว่าครอบครองหรือไม่

ประเด็น 6 มีการครอบครองชายพรจริงๆ แต่ delete ทิ้งไปก่อนโดนตำรวจซิว แล้วตำรวจไปกู้ภาพเหล่านั้นคืนมา ถือว่ามีการครอบครองชายพรด้วยหรือไม่

ประเด็น 7 ถ้าเป็นภาพ pop-up ของชายพรโผล่ขึ้นมา จะถือว่าครอบครองด้วยหรือไม่



ถ้าคนเสนอกฎหมายยังไม่ได้คิดวิธีการสำหรับประเด็นกฎหมายเหล่านี้ กฎหมายที่จะออกมาใหม่ ก็ไม่ต่างอะไรกับนิติพิการ ที่มีโทษทางอาญา

2

เหอๆ กฎหมายที่ควบคุมข้อนี้เห็นที่จะใช้ไม่ได้ผล ในเมื่อถึงคล้ายจะมีการครอบครอง  แต่ในเมื่อเก็บไว้ในเว็บเซิฟเวอร์ฝากไฟล์ต่างประเทศไว้ดูเอง และแจกเพื่อน ญาติพี่น้อง คนในจังหวัดดูโดยการล๊อคPasswordไว้ก็ไม่ถือว่าประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้แล้ว แค่นี้คุณก็ตามจับผมไม่ได้แล้ว ฮ่าๆๆๆ กฎหมายตามจับผมไม่ได้หรอก สำเหนียกตัวเองไว้ด้วยล่ะ 555+ หรือถึงจะจับได้ ผมก็เปลี่ยนไปดูภาพเด็กๆในเว็บต่างประเทศเช่นญี่ปุ่น อเมริกา ฯลฯ แทน ไม่เห็นยากเลย กระจอกจริงๆ

2

เห็นด้วยเลยคับผมเห็นด้วยนะคับ

0

ถ้าของพวกนี้จูงใจจิง แต่คนเขาไปทำอะไรที่ผิดๆยัง ผมเชื่อนะคนแบบนี้มีทั่วโลก ถ้าจะตั่งกฏบ้าๆบอ จับคนเล่นเป็นแสนๆ นี่อะนะ *0* "ประเทศไทยที่มีนักโทษสุงสุดในโลก" ประเทศอื่นมีกฏหมายนี้รึยัง

2

ผมว่า พรบ. แบบนี้ บังคับใช้ไปก็เท่านั้นครับ คุณจะตรวจสอบเครื่องคอมของใครมันก็มีกฏหมายเรื่องสิทธิเสรีภาพนะครับ ของส่วนตัวแบบนี้ ผมว่าเอาเวลาไปจับ โจรผู้ร้าย แผ่นผีซีดีเถื่อน ดีกว่าครับ 



แบน เว็บ โป๊ ไปก็เท่านั้นนะครับ มันใช้ Web Surfer ได้ครับ 

Ps. เป็นการใช้ Server เน็ตของต่างประเทศ แค่นี้คุณก็ไม่สามารถแบนได้แล้ว เพราะ แบนได้แค่ภายในประเทศ



ผมว่า พรบ.คอม ส่วนมากออกมาทีไร มักจะไม่ผ่านครับ เพราะส่วนใหญ่ ห้ามเรื่องที่ตรวจสอบไม่ได้ครับ ถ้ามี พวกคุณจะรู้ได้ยังไง ? ถ้าไม่ได้อัพโหลด ในเว็บ และ อย่างที่แอดมินได้กล่าวว่า ตัว พรบ. ไม่ได้ระบุ กฏข้อห้ามไว้อย่างชัดเจน หละหลวมมากครับ ถ้าเป็น อนิเมะ ที่มี แฟนเซอร์วิส โลลิ ละครับ ?

สุดท้ายนี้ผมคิดว่า///

เอาเวลาไปทำอย่างอื่นอย่างการพัฒนาประเทศ จับนักการเมืองโกงกินดีกว่าครับ ต่างประเทศเค้ายังปล่อยวางเรื่องนี้เลย ผมว่าเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องธรรมชาติครับ เชื่อว่าคนร่าง พรบ. ก็ต้องเคยดูเหมือนกัน 



ผมให้ไม่ผ่านครับ เกลียด พรบ. ที่ละเมิดเสรีภาพในการใช้งานคอมพิวเตอร์ครับ ถ้าคุณจะระบุก็ระบุให้ชัดเจนไปเลยว่าเป็นวิดีโอที่ถ่ายจากคนจริง หรือเป็นภาพ ที่ถ่ายจากคนจริง

วงการแฟนซับ,กลุ่มคนที่ชอบดูอนิเมะ ในอินเตอร์เน็ตเค้าเดือดร้อนครับ

2

เห็นด้วยคน  เอาเวลาไปทำอย่างอื่นเหอะ

0

ผมว่าแย่ครับ บังคับใช้ไป ก็เท่านั้น ไม่ต่างกับร่าง พรบ. ก่อนหน้านี้ ที่ห้ามการเผยแพร่สื่อ วิดีโอ หรือ ห้ามโหลด P2P [Bittorrent , Streaming ,Live Streaming, ฟังวิทยุออนไลน์]

เชื่อว่าเป็นข้อจำกัดที่มากเกินเหตุครับ อยากให้เอาเวลาไปปรับปรุง กฏหมายจราจรให้ดีขึ้นดีกว่าครับ ทุกวันนี้ ใครชนตูดคันไหน คนโดนชนถูกตลอดครับ 

2

เด็ก ที่ว่าอายุเท่าไหร่???

แล้วก็ โป๊ นั่นหมายถึงระดับไหน???

แล้ว เด็ก ที่ว่านั่นหมายถึง การ์ตูน ด้วยหรือไม่???

ถ้าเด็กที่ว่าหมายถึงการ์ตูนหรือภาพ Graphic แล้ว

ร้านหนังสือการ์ตูน (Manga) ที่มีหนังสือประเภทนี้อยู่

จะไม่ทำผิดพรบ.กันหมดหรอ???

หากมี คอมพิวเตอร์ เข้าไปเกี่ยวข้อง จะตรวจสอบได้อย่างไร???

มันคลุมเคลือเกินไปครับ (ยอมรับครับว่าผมก็เป็นพวกโลลิค่อน แต่ก็แค่สำหรับ "2D" เท่านั้น)



สิ่งที่ผมคิดก็มีแค่นี้แหละครับ O.O/

0

Bullshit, It's break our privacy. This is not right!!

8

ข้อความว่า"ไม่ว่าจะเป็นความผิดตาม กม.ใด"    



ปัจจุบันนี้ มีเจ้าหน้าที่ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่มีความรู้เรื่องลิขสิทธ์ แต่ร่วมมือกับกลุ่มบุคคล

ผู้แอบอ้างเป็นเจ้าของสิทธ์ โดยใช้ ตร.เป็นเครื่องมือ เรียกเงิน อยู่มากมายนับไม่ถ้วนแล้วครับ

ข้อนี้ออกมา เป็นประโยชน์ต่อ มิฉาชีพ และเจ้าหน้าที่ ที่อ้าง กม.หาเงินเข้ากระเป๋าโดยตรงเลยครับ

0

กระจอกอ่ะคับ ทำไรไม่ได้หรอกคับ เร็วไปร้อยปีนะหนู

0

แล้วจะบอกไรให้นะคับ ผมใช้แต่เว็บนอกก็ได้คับผมไม่แคร์หรอกกฏกากๆของพวกคุณอ่ะ

อยากจะลองดิ้น ก็ดิ้นไปคับ But I Don't Care B I T C H

2

ไม่เป็นไรครับผมไม่ชักว่าวอยู่ห้องก็ได้ ซ่อง อ่าง เยอะแยะ