พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ 2550 | ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ สพธอ. (3 เมษายน 2556) |
---|---|
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือ มาตรา ๑๐ (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท (๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี | มาตรา ... ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ... (เข้าถึงระบบโดยมิชอบ) มาตรา ... (เข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ) มาตรา ... (ล่วงรู้และเปิดเผยมาตรการ) มาตรา ... (รบกวนระบบ) มาตรา ... (รบกวนข้อมูล) มาตรา ... (ทำสำเนาข้อมูล) หรือมาตรา ... (ดักรับ) (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท (๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อ ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี |
-ไม่มี - | มาตรา ... เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามมาตรา ... (ข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง) หรือมาตรา ... (ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคง) หรือการกระทำความผิดที่มีระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นความผิดตามกฎหมายใด ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด โดยมีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ตามมาตรา... (๑) (๒) และ (๓) (อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมฯ) ได้ หรือในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการดังกล่าวอาจร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการได้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่จำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรา... (๔) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) (อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมฯ) ให้ร้องขอพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการต่อไป |
เห็นได้ว่าในร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับสพธอ.2556 มีความพยายามขยายขอบเขตของ “บทฉกรรจ์” หรือว่าเหตุเพิ่มโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการเข้าถึงระบบ/ข้อมูลโดยมิชอบ การรบกวนข้อมูล/ระบบ การทำสำเนาข้อมูล การดักรับ ที่จากเดิมกำหนดว่าจะมีเหตุเพิ่มโทษได้ต่อเมื่อเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงฯ ซึ่งยังเน้นการคุ้มครองอาชญากรรมที่กระทำต่อคอมพิวเตอร์ แต่ตามร่างใหม่นี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นความผิดที่กระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ เพียงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงฯ ก็เป็นเหตุเพิ่มโทษได้แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกังวลต่อภัยที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ จนน่าเป็นห่วงว่าจะทำให้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์อาจมีลักษณะเป็นกฎหมายความมั่นคงมากกว่ากฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์