พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ 2550 | ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ สพธอ. (3 เมษายน 2556) |
---|---|
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สาหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ | มาตรา ๖ มาตรา ... ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สาหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สาหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ | มาตรา ... ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สาหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
ร่างฉบับสพธอ.กำหนดว่า การเข้าถึงระบบ/ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ไม่ว่าระบบ/ข้อมูลนั้นๆ จะมีมาตรการการป้องกันการเข้าถึงหรือไม่ก็ตาม ก็ล้วนเป็นความผิด เป็นการแก้ไขจากเดิมที่จะมีความผิดก็เฉพาะกรณีที่ระบบ/ข้อมูลนั้นๆ มีมาตรการป้องกันไว้แต่มีคนพยายามเข้าถึง โดยคณะผู้ร่างชี้แจงเหตุผลว่า เพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งกันจึงแก้ให้มาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้
อย่างไรก็ดี แม้คณะผู้ร่างจะเล็งเห็นแล้วว่ามาตรานี้อาจนำไปสู่การกลั่นแกล้งกันได้ จึงแก้ปัญหาโดยกำหนดโทษให้เบา และกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ แต่การแก้ไขเช่นนี้ก็ยังไม่แน่ว่าจะป้องกันการกลั่นแกล้งกันได้ การป้องกันการกลั่นแกล้งกันควรมาจากการเขียนกฎหมายให้รัดกุมเพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องกันตั้งแต่ต้น หากปล่อยให้เข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องกันในศาลแล้ว ผู้ฟ้องย่อมมีข้อต่อรองที่เหนือกว่า และเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขในการไกล่เกลี่ยได้ การกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้จึงไม่แก้ปัญหาการกลั่นแกล้งกัน