การจัดการเลือกตั้งทั่วไป ผู้ที่มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กกต. ก็คือคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) การปฏิบัติหน้าที่เช้าจรดเย็น มีโอกาสเกิด Human Error หากไม่มีประชาชนช่วยกันทักท้วง อย่างไรก็ตาม หากปรากฎว่ากปน. จงใจสร้างความผิดพลาดในการลงคะแนนเลือกตั้งก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ผู้พิการ-ทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า สามารถไปเลือกตั้งในวันจริง 14 พ.ค. 2566 ณ สถานที่ที่เลือกตั้งภายในเขตเลือกตั้งที่มีสิทธิได้ โดยกฎหมายได้กำหนดกลไก เพื่อให้ผู้พิการหรือผู้ทุพพลภาพและผู้สูงอายุสามารถใช้สิทธิตามเจตนาของตนเอง
จากวันเลือกล่วงหน้าเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ประชาชนได้พบเห็นเจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในหน่วยเลือกตั้งจำนวนหลายคน บุคคลเหล่านี้ไม่ใช่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แต่พวกเขาคือ คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) ก่อนจะถึงวันเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ชวนทำความรู้จักที่มาที่ไปของ กปน.
11 พ.ค. 2566 เวลา 12.30 น. เครือข่ายประชาชนสังเกตการณ์การเลือกตั้ง 2566 จัดเวทีแถลงการณ์สภาพปัญหาของการเลือกตั้งที่พบเห็น รวมถึงประกาศข้อเรียกร้องต่อกกต. และกรรมการประจำหน่วย ให้ความร่วมมืออาสาสมัครจับตาเลือกตั้ง วอนประชาชนร่วมสังเกตการณ์ เก็บหลักฐานความผิดปกติในวันเลือกตั้ง 14 พ.ค.
จากปัญหาเลือกตั้งล่วงหน้าที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ไอลอว์จึงขอเรียกร้องให้กกต.แก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้มีการเลือกตั้งที่มีคุณภาพ ประชาชนสามารถออกเสียงได้อย่างสะดวก เท่าเทียมกัน และผลการเลือกตั้งได้รับการยอมรับ
การเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งนอกเขตเลือกตั้งและในเขตเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนตื่นตัวออกมาลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ากว่า 2.2 ล้านคน บรรยากาศในวันเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นไปอย่างคึกคัก มีประชาชนออกมาใช้สิทธิเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ในการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ใครรู้สึกโมโหกับการเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมา เราอยากชวนคุณไปช่วยสังเกตการณ์การนับคะแนนบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566
เลขาฯ กกต. และรองเลขาฯ กกต. ยืนยัน ประชาชนและผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งทุกคน สามารถถ่ายรูปและถ่ายวิดีโอการนับคะแนนหรือกระดานรวมคะแนนได้ หากไม่ขัดขวางการทำงานของ จนท.
14 พฤษภาคม 2566 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศจะได้เลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่หน่วยเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้งที่ตนเองมีสิทธิ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. เช็คขั้นตอนได้เลย ไปเลือกตั้งต้องทำอะไรบ้าง
“การยุบสภา” เป็นเครื่องมือหนึ่งของรัฐบาลในการถ่วงดุลอำนาจกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้พ้นวาระก่อนครบกำหนด แต่การยุบสภาบางครั้งจุดประสงค์ที่แท้จริงอาจไม่ใช่การคืนอำนาจให้ประชาชน แต่อาจแฝงเล่ห์กลเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมืองบางอย่าง