ในช่วงหาเสียงเหล่านักการเมืองทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่มักใช้ข้อความในทำนองว่า ‘อาสารับใช้ประชาชน’ แต่อย่างไรเสีย การเข้าสภาไปทำหน้าที่ สส.ไม่ใช่งานจิตอาสา ค่าตอบแทนน้ำพักน้ำแรงของคนเหล่านี้ล้วนมาจากภาษีของประชาชนทั่วประเทศที่ฝากความหวังไว้
ขณะที่ “ค่าเฉลี่ยวันรอรัฐบาล” อยู่ที่ 31 วันจากการเลือกตั้งของไทยทั้งหมด 27 ครั้ง ซึ่งการเลือกตั้ง 2566 ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ทะยานสู่อันดับสองของการเลือกตั้งที่ทำให้ประชาชนรอการมีรัฐบาลใหม่ยาวนานที่สุด
ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มตัดสินให้โทษกับพรรคฝ่ายตรงข้ามกับ คสช. ในขณะที่หากเป็นเหล่าทหารโดยเฉพาะพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมีคำวินิจฉัยที่เป็นคุณ รวมคำวินิจฉัยสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลต่อการเมืองไทย
ประเด็นเกี่ยวกับสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกมาอภิปรายระหว่างการประชุมรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบบุคคลขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 โดยสมาชิกพรรครัฐบาลเดิมและสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนใช้ประเด็นดังกล่าวมาเป็นเหตุผลรับรองการลงมติไม่เห็นชอบพิธาเป็นนายก
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเก้าราย ส่วนใหญ่หกคน เป็นตุลาการที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2560 ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาชุดพิเศษ และมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปี อีกสามราย มีวาระดำรงตำแหน่งเก้าปี ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งเก้าคน จะพ้นจากตำแหน่งในเวลาแตกต่างกัน
19 ก.ค. 66 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นนายกฯ อีกครั้ง โดย สุทิน คลังแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย เสนอชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตจากพรรคก้าวไกล อีกครั้ง ต่อมา อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส. พรรครวมไทยสร้างชาติ จึงลุกขึ้นประท้วงว่าเป็นญัตติซ้ำ
ส.ว.มาจากประชามติที่ผ่านมาด้วย 16 ล้านเสียงเป็นคำกล่าวอ้างของส.ว.ระหว่างการอภิปรายโหวตนายกรัฐมนตรี แต่ประชามติที่ไม่เสรีเป็นธรรมไม่สามารถยกขึ้นอ้างเป็นความชอบธรรมได้
การเลือกพิธาเป็นนายกฯ ครั้งที่สองในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ของแปดพรรคเสียงข้างมาก กลับต้องเจอโจทย์ใหม่ที่อาจทำให้การโหวตพิธาเป็นนายกฯ ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อวุฒิสภาและฝ่ายพรรคเสียงข้างน้อยส่วนหนึ่งเห็นว่า การเสนอชื่อพิธาเป็นนายกฯ เป็นการเสนอญัตติซ้ำ ซึ่งขัดกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
ลักษณะสำคัญของความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ฯ ในประวัติศาสตร์ไทย คือ "สามารถเปลี่ยนแปลงได้" ซึ่ง "ต้นทุน" ที่ก่อตัวขึ้นในสังคมอย่างเด่นชัดกว่า คือ การปรับตัวของกฎหมายและสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยไปตามยุคสมัย
ชวนย้อนรอยดูผลการโหวตฯ แก้ไขมาตรา 272 (ปิดสวิตช์ส.ว.เลือกนายกฯ) ควบคู่กับมติโหวตนายกฯ ล่าสุด ว่าส.ว.คนใดเคยรับหลักการพร้อมเคียงข้างประชาชนกันบ้าง