กฎหมายการใช้เครื่องขยายเสียง ฉบับเก่าแก่ปี 2493 กำหนดไว้ว่า การโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงต้องใช้ภาษาไทยเท่านั้น แถมยังกำหนดโทษไว้ถึงจำคุกด้วย ข้อยกเว้นก็มีบ้าง แต่จะรอดกฎหมายนี้ได้หรือไม่ อย่างไร ลองอ่านกันดู
การยุติการตั้งครรภ์โดยการทำแท้งเถื่อน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ได้รับบาดเจ็บ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย จากรายงานสถานการณ์ และสถิติการทำแท้งในประเทศไทย พบว่ามีการทำแท้งประมาณปีละ 300,000 คน และผู้หญิงประมาณ 300 คน ต่อ 100,000 คน ได้รับอันตรายจากการทำแท้ง ในปี พ.ศ. 2552 ประมาณการณ์ว่า มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้ง จำนวน 123.3 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมความสูญเสียทางจิตใจ
ตลอดสองปีหลังการรัฐประหาร เรือนจำมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ ความยากลำบากของผู้ต้องขังหรือนักโทษในเรือนจำ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎสิบชื่อจำกัดผู้มีสิทธิเยี่ยมอย่างเคร่งครัด การให้เจ้าหน้าที่รัฐมาสอดส่องดูการติดต่อระหว่างคนข้างในกับบุคคลภายนอกรวมทั้งทนายความ นอกจากนี้ เรือนจำยังต้องเผชิญกับปัญหาสวัสดิภาพและความปลอดภัยในเรือนจำอีกด้วย
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จัดเวทีวิชาการเกี่ยวกับางประมวลกฎหมายยาเสพติด อย่างไรก็ดี ในเวทีได้ข้อสรุปไปในทิศทางเดียวกันว่า การแก้ปัญหายาเสพติดต้องเริ่มจากปรับมุมมองต่อผู้ที่เสพยาเสียใหม่ จากอาชญากรก็ควรจะเป็นผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาบำบัดฟื้นฟู และให้คงโทษไว้เฉพาะผู้ที่ผลิตหรือครอบครองเพื่อการค้า เพราะแนวทางการแก้ปัญหายาเสพติดแบบเดิมไม่ประสบผลสำเร็จอีกต่อไป
สองปีมานี้ รัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ใช้คำว่า’ เพื่อผลประโชน์ของชาติ' บ้านเมืองไปแล้วกี่มากน้อย อยากชวนผู้อ่านทำความรู้จักกับต้นตอวาทะกรรมผลประโชน์ของชาติ ที่ฝ่ายรัฐนำมาอ้างบ่อยในระยะหลังนี้เสียก่อน
รายงานการวิจัยเผยให้เห็นว่านักเรียน 'LGBT' มากกว่าครึ่งเคยถูกรังแกเพราะว่าเป็น 'LGBT' และ 1 ใน 4 ของนักเรียนที่ถูกมองว่าเป็น 'LGBT' ก็ถูกรังแกด้วยสาเหตุเดียวกัน
หลังจากโรดริโก ดูเตอร์เต้ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนปัจจุบันผลักดันให้เคลื่อนย้ายร่างของเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส อดีตประธานาธิบดีเผด็จการไปไว้ยังสุสานวีรชนสร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวฟิลิปปินส์จำนวนมาก ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
iLaw ได้ทบทวนเกี่ยวกับคำสั่งหัวหน้า คสช. โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ในเรื่องของการถอดถอน โยกย้าย แต่งตั้ง และตรวจสอบการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ พบว่ามีการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. เกี่ยวกับเรื่องการโยกย้ายเจ้าหน้ารัฐอย่างน้อย 6 ฉบับ การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รัฐอย่างน้อย 10 ฉบับ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการสั่งพักงาน โยกย้าย หรือถอดถอนเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตอีกอย่างน้อย 6 ฉบับ
แม้ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วง จะผ่านความเห็นชอบแล้ว แต่ยังเหลือขั้นตอนแก้ร่างรัฐธรรมนูญกับคำถามพ่วงให้สอดคล้องกัน การแก้ไขเพิ่มเติมที่ดูเหมือนจะง่ายถึงตอนนี้ไม่แน่แล้ว เมื่อสนช. พยายามขยายความคำถามพ่วงเพื่อให้ส.ว.ชุดแรกจากคสช. มีสิทธิเสนอชื่อนายกฯ ได้ด้วย
เมื่อร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงที่ให้ส.ว.สามารถเลือกนายกฯ ผ่านการออกเสียงประชามติ ส่งผลให้กรธ.ต้องแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับคำถามพ่วง ซึ่งขนาดนี้มีการพูดถึงแนวทางการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญถึงสี่แนวทาง