ศาลปกครองสูงสุดสั่งไม่รับฟ้อง คดีที่ไอลอว์และภาคประชาสังคมฟ้องขอให้เพิกถอนประกาศห้ามแสดงความเห็นของกกต. ชี้ผู้ฟ้องคดีไม่เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง ไอลอว์รับผลออกมาเช่นนี้เพราะเทคนิคทางกฎหมาย แต่พร้อมทำกิจกรรมต่อเพื่อยืนยันเสรีภาพการแสดงออก
สรุปรวมเนื้อหาสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ ในหลากหลายประเด็น รวมทั้งคำถามพ่วง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงประชามติ ในวันที่ 7 ส.ค.นี้
สิทธิทางด้านสาธารณสุขในร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประเด็นที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคน ขณะที่คนร่างโปรโมตร่างรัฐธรรมนูญนี้ว่าคุ้มครอง “ตั้งแต่ท้องแม่จนถึงแก่เฒ่า” ข้อกังวลของสังคมคือ ถ้าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านจะเปิดทางให้ “ยกเลิกบัตรทอง” ในอนาคตหรือไม่
การเมืองของอียิปต์ยุคใหม่ เริ่มตั้งแต่ปี 2011 เมื่อขับไล่เผด็จการได้สำเร็จ แต่ชาวอียิปต์ก็ยังไม่ได้ประชาธิปไตยจริงๆ เมื่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใช้ไม่แคร์ประชาชน จนทหารต้องมายึดอำนาจ ในรอบ 5 ปี อียิปต์ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ 3 ครั้ง และทำประชามติ 3 ครั้ง ในบรรยากาศที่ต่างกัน
เกมกีฬาใดๆ ย่อมมีผู้แพ้และผู้ชนะ ประชาธิปไตยก็เช่นกัน บทเรียนจากความอกหักของประชามติ Brexit ในสหราชอาณาจักร สะท้อนวัฒนธรรมและการเรียนรู้ในสังคมประชาธิปไตย
ศรีลังกา และบังกลาเทศ มีประสบการณ์เกี่ยวกับประชามติที่ไม่ค่อยดีนัก เมื่อผู้นำในอดีตใช้ประชามติเป็นเครื่องสร้างความชอบธรรม ต่ออายุให้อยู่ในอำนาจได้นานขึ้น และการทำประชามติก็เป็นไปใต้บรรยากาศของเผด็จการและกฎหมายพิเศษ
ระหว่างการทำประชามติของเคนย่าในปี 2010 ฝ่ายรณรงค์รับร่างใช้สีเขียวทำกิจกรรม ฝ่ายไม่รับร่างใช้สีแดง คุ้นๆ บรรยากาศเหมือนเคยเกิดขึ้นในไทยมาก่อน บัตรเลือกตั้งเคนย่าใช้รูปกล้วยกับรูปส้ม เพราะกลัวคนอ่านหนังสือไม่ออก
iLaw ควง สสส. นักวิชาการ นักกิจกรรม ยื่นฟ้องศาลปกครองสูงสุด ขอเพิกถอนประกาศกกต. เนื่องจากจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็นเรื่องประชามติเกินความจำเป็น ทำให้ทำกิจกรรมรณรงค์หรือขายเสื้อไม่ได้ พร้อมขอให้ระงับการออกอากาศรายการ “7 สิงหาประชาร่วมใจ” เพราะให้น้ำหนักข้างเดียว
ย้อนดูกฎกติกาการทำประชามติที่สหราชอาณาจักร เรื่อง สก็อตแลนด์จะเป็นเอกราช หรือไม่ กกต.ของเขาดูแลการจัดรณรงค์ด้วยการเปิดให้จดทะเบียน แคมเปญใหญ่อาจถูกตรวจสอบเงิน ส่วนแคมเปญเล็กทำได้อิสระ ผลที่ออกมาฝ่ายแพ้ประกาศยอมรับ
หลังจากที่เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ พ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 61 วรรคสอง ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ จนกระทั่ง วันที่ 4 กรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ ร่างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๔/๒๕๕๙ (อย่างไม่เป็นทางการ) ออกมา ไอลอว์ สรุป เหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญว่าทำไม พ.ร.บ.ประชามติฯ ถึงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ