ประชาพิจารณ์กฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์

ประชาพิจารณ์กฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์

เมื่อ 18 ส.ค. 2553

หลักการ

ไฟล์แนบขนาดไฟล์
ร่างพ.ร.บ. ฉบับล่าสุดโดยกระทรวงสาธารณสุข.pdf121.36 KB
ร่างพ.ร.บ. ฉบับเดิม ของภาคประชาชน.pdf154.38 KB

องค์กรภาคประชาชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศได้ร่วมกันผลักดันเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ในกฎหมายมาเป็นเวลาเกือบสิบปีแล้ว แต่ร่างกฎหมายที่หวังจะให้เป็นเครื่องมือคุ้มครอง ส่งเสริม สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ให้ได้รับการยอมรับเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และมีผลนำไปสู่การปฏิบัติ ยังพบอุปสรรคด้านทัศนคติ ความเข้าใจอีกหลายประการ ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข นำเอาหลักการของภาคประชาชนไปแก้ไข ปรับปรุง และเสนอ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ ออกมา
 
คำว่า อนามัยการเจริญพันธุ์ ตามกฎหมายนี้ หมายถึง สุขภาพทางการเจริญพันธุ์ และสุขภาพทางเพศที่ดี รวมถึง การได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นเกี่ยวกับเรื่องเพศ การได้ตัดสินใจเรื่องเพศโดยอิสระ ปราศจากการเลือกปฏิบัติและการถูกบังคับ
 
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ ฉบับของกระทรวงสาธารณสุข มีเนื้อหาสำคัญ คือ
 
* บุคคลย่อมมีสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ มีสิทธิเข้าถึง ได้รับ ข้อมูลข่าวสาร รับการปรึกษา บริการ ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์อย่างเหมาะสม มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน
* ให้มีการจัดการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวุฒิภาวะและวัยของผู้เรียน
* ผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้าง ต้องป้องกันไม่ให้มีการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ต้องไม่ขัดขวางการลาคลอด
* ผู้บริหารสถานศึกษาต้องอนุญาตให้หญิงมีครรภ์ศึกษาต่อในระหว่างตั้งครรภ์ และกลับไปศึกษาต่อภายหลังคลอดบุตรแล้วได้
 
คณะกรรมการยกร่างกฎหมายฉบับนี้ อยู่ภายใต้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดให้มีการประชาพิจารณ์เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยเชิญตัวแทนจาก ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม มาร่วมกันให้ความเห็นเพื่อปรับแก้ร่างกฎหมายนี้ โดยตั้งเป้าว่าจะปรับร่างกฎหมายให้เสร็จในราวเดือนกันยายน เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
 
จากการทำประชาพิจารณ์พบข้อเสนอที่น่าสนใจหลายประเด็นจากทุกภาคส่วน บางประเด็นก็ได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว แต่ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องรอการถกเถียง หาฉันทามติร่วมกันในสังคมต่อไป
 

 

ความเป็นมา: 

นิยามความหมาย

คำสำคัญ เช่น สุขภาพทางเพศ อนามัยเจริญพันธุ์ เพศภาวะ ฯลฯ อธิบายยาก แต่ต้องนิยามให้ถูกต้องครอบคลุม แถมบางคำก็มีผลต่อทัศนคติของสังคม

อ่านต่อ

บทคุ้มครองสิทธิทางเพศ และการอนามัยเจริญพันธุ์

สิทธิทางเพศ ต้องอยู่ภายใต้กรอบศีลธรรมอันดี หรือไม่ ต้องมีมาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนดหรือไม่

อ่านต่อ

การสอนเพศศึกษา และการใ้ห้คำปรึกษาเรื่องเพศ

การสอนเรื่องเพศไม่ควรจำกัดแค่ในโรงเรียน การให้คำปรึกษาเรื่องอนาัมัยเจริญพันธุ์ไม่ควรจำกัดอยู่แค่โรงพยาบาล

อ่านต่อ

นายจ้าง ผู้บังคับบัญชา ต้องคุ้มครองสิทธิทางเพศ

นายจ้างต้องไม่ขัดขวางการลาคลอดบุตร การลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร รักษาการมีบุตรยาก และหากหญิงมีครรภ์โดยไม่พร้อม นายจ้างควรมีบทบาทช่วยเหลืออย่างไร

อ่านต่อ

นักเรียนตั้งครรภ์ต้องได้เรียนต่อ

เป็นสิทธิของเด็กที่ต้องได้เรียน โรงเรียนจึงควรมีมาตรการรองรับนักเรียนตั้งครรภ์ หรือ เป็นตัวอย่างไม่ดีอาจทำให้เกิดการเลียนแบบ

อ่านต่อ

คณะกรรมการคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ

เสนอให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานดูแลอนามัยเจริญพันธุ์ เพิ่มตัวแทน ตำรวจ สื่อ ศาสนา ทนาย ฯลฯ

อ่านต่อ
0

Comments

4
"และกรณีจำเป็น บิดา สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 30 วัน" เสนอให้ตัด "กรณีจำเป็น" ควรกำหนดให้บิดาลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้เท่ากับมารดา

4
"และกรณีจำเป็น บิดา สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 30 วัน" เสนอให้ตัด "กรณีจำเป็น" ควรกำหนดให้บิดาลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้เท่ากับมารดา

2
คำถามที่น่าสนใจคือ เด็กๆ อายุ 11-13 ปี มีสิทธิทางเพศเท่าเทียมกับผู้ใหญ่ไหม เด็กมีสิทธิตัดสินใจเองได้ 100 เปอร์เซ็นต์หรือเปล่าว่าจะเลือกเพศวิถีให้กับตัวเอง เลือกว่าจะมีเพศสัมพันธุ์หรือไม่ กับใคร เลือกที่จะตั้งใจมีบุตรหรือไม่
2
xizsec01's picture

นอกจากสิทธิ์ในการตัดสินใจ ผมสงสัยว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยนั้นจะทำให้เกิดผลเสียต่อระบบของร่างกายอย่างไรหรือไม่ครับ?

7
yingcheep's picture
นายกจะมีเวลามานั่งดูเรื่องนี้เหรอครับ
7
ให้รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขดูแลก็พอแล้วครับ
ไม่ต้องถึงนายกฯ หรอก
3
yingcheep's picture
เขียนอย่างนี้ไว้แล้ว ไม่รู้จะปฏิบัติได้หรือเปล่า
ต้องอาศัยความเข้าใจอีกเยอะเลย
1
0
So excited I found this article as it made things much qcuiker!