การบังคับใช้

ประชาพิจารณ์กฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์

เมื่อ 18 ส.ค. 2553
ออกแบบ
8

การบังคับใช้


            มาตรา ๒๕ ในกรณีที่คณะกรรมการได้รับคำร้องจากผู้ได้รับผลกระทบด้านสิทธิ อนามัยการเจริญพันธุ์หรือได้รับรายงานจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าหน่วยงานของรัฐ สถานบริการ สาธารณสุข สถานศึกษา สถานประกอบการ ผู้ให้การปรึกษาหรือผู้ให้บริการใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรฐาน ระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนดตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ คณะกรรมการดำเนินการดังนี้

            () แจ้งเป็นหนังสือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่เกิน กว่าสามสิบวัน
            () กรณีที่หน่วยงานของรัฐ สถานบริการสาธารณสุข สถานศึกษา สถาน ประกอบการ ผู้ให้การปรึกษาหรือผู้ให้บริการ ไม่ปฏิบัติตาม () ให้คณะกรรมการแจ้งเป็น หนังสือต่อรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลหรือผู้บังคับบัญชา หน่วยงานของรัฐ สถานบริการสาธารณสุข สถานศึกษา สถานประกอบการดังกล่าวเพื่อพิจารณาสั่งการตามอำนาจหน้าที่ แล้วแต่กรณีต่อไป
 
 มาตรา ๒๖ ผู้ให้การปรึกษาและบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ผู้ใดเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร หรือประวัติการรักษาของผู้รับบริการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๘() หรือให้การปรึกษา และบริการที่ไม่เหมาะสม หรือให้การปรึกษาและบริการที่ก่อให้เกิดความอับอายหรือเสื่อมเสียแก่ ผู้รับบริการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๘() ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
 
มีข้อเสนอจากภาคการเมือง ต่อมาตรา26 ว่า ควรมีโทษทั้งจำคุกและปรับ และมีโทษทางวินัย ค่าปรับก็อาจเพิ่มให้มากกว่าหกหมื่นบาท
 
และยังมีข้อเสนอให้เปลี่ยนจากคำว่า “ไม่เหมาะสม” ซึ่งกว้างเกินไป ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ใช้กฎหมายมากเกินไป เป็น คำว่า “ไม่ตรงตามกำหนดต่อเพศภาวะ”
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกต จากภาคการเมืองที่เป็นผู้ปฏิบัติงานว่า หากผู้ป่วยหรือผู้ขอคำปรึกษาเป็นเด็กและเยาวชน ผู้ให้บริการจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยต่อบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือไม่ หากต้องเปิดเผยแล้วผู้เปิดเผยจะมีความผิดตามกฎหมายนี้หรือไม่ และหากไม่เปิดเผยแต่ภายหลังเกิดอาการเจ็บป่วยที่หนักขึ้น ผู้ปกครองจะสามารถฟ้องร้องเอาผิดกับผู้ที่ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลให้ทราบได้หรือไม่
 
          มาตรา ๒๗ นายจ้างที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา ๙ หรือ ๑๐ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินหกหมื่นบาท
          มาตรา ๒๘ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง () โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่ให้ถ้อยคำ หรือคำชี้แจงตามที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ร้องขอเป็นหนังสือตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง () โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวาง โทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
 
มีข้อเสนอจากหลายฝ่ายต่อ มาตรา 27 ว่า ไม่ควรลงโทษแค่นายจ้างที่ขัดขวางการลาคลอดหรือปล่อยปละละเลยให้เกิดการคุกคามทางเพศในที่ทำงานเท่านั้น แต่ควรให้ลงโทษทุกคนที่ฝ่าฝืน ซึ่งอาจรวมทั้งผู้บังคับบัญชา ในหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน นอกจากนี้ภาคประชาสังคมบางส่วนยังเห็นว่า มาตรา 27 ควรเพิ่มโทษปรับให้มากกว่าหกหมื่นบาท ขณะที่บางส่วนเห็นว่า ควรมีโทษจำคุกด้วย