นายจ้าง ผู้บังคับบัญชา ต้องคุ้มครองสิทธิทางเพศ

ประชาพิจารณ์กฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์

เมื่อ 18 ส.ค. 2553
ออกแบบ
4

นายจ้าง ผู้บังคับบัญชา ต้องคุ้มครองสิทธิทางเพศ


            มาตรา 9 ผู้บังคับบัญชาหน่วยงานของรัฐหรือนายจ้างภาคเอกชนที่มีหญิงมีครรภ์ปฏิบัติงาน ต้องไม่กระทำการใดอันเป็นการขัดขวางการลาคลอดตามระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งต้องส่งเสริมให้หญิงซึ่งเป็นมารดาได้เลี้ยงดูบุตรด้วยน้ำนมมารดาอย่างต่อเนื่อง ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

 
มาตรา 9 นี้มีประเด็นที่ถกเถียงกันสำคัญเพราะมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยกับมาตรานี้เลย กับให้เพิ่มเติม หรือให้ตัดออกเสียเลย ซึ่ง ภาคประชาสังคมเห็นว่า ควรจะเพิ่มในเรื่องของ การลาเพื่อการรักษาการมีบุตรยาก การทำหมัน การตั้งครรภ์ และการคลอด ทั้งเปิดโอกาส ให้บิดามารดาสามารถเลี้ยงดูบุตรได้อย่างเหมาะสม และให้มารดาได้เลี้ยงดูด้วยน้ำนมแม่เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน และกรณีจำเป็น บิดา สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 30 วัน รวมถึงการตัด หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดออก
 
ภาคการเมือง มีความเห็นว่า มาตรานี้ควรเพิ่มเติมให้ บิดาสามารถช่วยเลี้ยงดูบุตรแรกคลอดได้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อก่อให้เกิดความอบอุ่นภายในครอบครัว รวมถึงมีการเสนอให้เพิ่ม ว่า ต้องไม่กระทำการใดอันขัดขวางต่อการตั้งครรภ์และการคลอด และให้ตัด หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดออก
 
แต่ทางภาคการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งก็มีข้อเสนอว่ามาตรานี้ไม่จำเป็นต้องมี เนื่องจากหลักการดังกล่าวตามมาตรา 9 นี้มีบัญญัติไว้แล้วดังเช่นในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
 
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ..2541
มาตรา ๔๑ ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกินเก้าสิบวัน
วันลาตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งมาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมเป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ และให้นายจ้างพิจารณาเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้แก่ลูกจ้างนั้น
มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์
 
 
 
            มาตรา ๑๐ ผู้บังคับบัญชาหน่วยงานของรัฐ หรือนายจ้างภาคเอกชนมีหน้าที่ ต้องป้องกันไม่ให้มีการกระทำใดๆ อันเป็นการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนทางเพศ ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกจ้าง
 
  มาตรา 11 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือสถานประกอบการมีหญิงมีครรภ์ที่อยู่ในภาวะไม่พร้อมจะมีบุตร ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง ให้หน่วยงานของรัฐหรือสถานประกอบการดังกล่าว ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือ และดูแลสุขภาพของมารดาและบุตรอย่างเหมาะสม
 
มาตรา 11 มาตรานี้มีความเห็นจากภาควิชาการว่าควรจะบัญญัติให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้แจ้งเหตุ และมีระบบส่งต่อที่ชัดเจนในการให้ความช่วยเหลือหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์
 
ภาคประชาสังคมบางส่วนเห็นว่าควรตัดทิ้งทั้งมาตราเพราะเป็นการบัญญัติที่ไม่ชัดเจน และกำกวม ไม่สามารถปฏิบัติได้ ควรจะบัญญัติเรื่องนี้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการไม่พร้อมจะมีบุตรเป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหาก ขณะที่ภาคประชาสังคมบางส่วน เห็นว่ามาตรานี้ควรกลับไปทบทวนเนื้อหา แต่ก็ยังควรคงมาตรานี้ไว้อยู่
 
ทางภาคการเมือง เห็นควรตัดทิ้งทั้งมาตราเพราะมีหน่วยงานอื่นส่งเสริมอยู่แล้ว แต่หากไม่ตัดทิ้ง ก็ควรจะเพิ่มข้อความต่อท้ายมาตรานี้ว่า ให้มีการดูแลสุขภาพและบุตรอย่างเหมาะสม ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

 

 

 

 

 

Comments

"และกรณีจำเป็น บิดา สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 30 วัน" เสนอให้ตัด "กรณีจำเป็น" ควรกำหนดให้บิดาลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้เท่ากับมารดา

"และกรณีจำเป็น บิดา สามารถลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 30 วัน" เสนอให้ตัด "กรณีจำเป็น" ควรกำหนดให้บิดาลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้เท่ากับมารดา