การสอนเพศศึกษา และการใ้ห้คำปรึกษาเรื่องเพศ

ประชาพิจารณ์กฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์

เมื่อ 18 ส.ค. 2553
ออกแบบ
3

การสอนเพศศึกษา และการใ้ห้คำปรึกษาเรื่องเพศ


          มาตรา ๖ ให้สถานบริการสาธารณสุขจัดให้มีการปรึกษาหรือบริการด้านอนามัย การเจริญพันธุ์ อย่างเหมาะสม มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กำหนดในกฎกระทรวงโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ  

จากการประชาพิจารณ์ครั้งนี้ ภาคประชาสังคมเสนอให้เปลี่ยนจากคำว่า สถานบริการสาธารณสุข มาเป็น "หน่วยบริการสุขภาพทางเพศ"ซึ่งความเห็นนี้ไม่มีฝ่ายใดค้าน คณะกรรมการร่างกฎหมายรับว่าจะไปปรับแก้ให้สอดคล้องกันทั้งฉบับ
และเสนอให้เพิ่มถ้อยคำในกฎหมายที่ว่า สถานบริการดังกล่าวจะให้บริการ "อย่างเท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ"
 
เกี่ยวกับบทบาทในการจัดบริการสาธารณสุข ที่กำหนดไว้ในมาตรา 6 นั้น ภาคประชาสังคมเสนอว่า บทบาทด้านนี้ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่แค่งานของหมอหรือพยาบาล แต่สามารถเขียนให้กว้างครอบคลุมไปมากกว่าหน่วยงานสาธารณสุข กินความหมายที่ครบวงจรในสถานที่ต่างๆ ใกล้ตัว คือรวมถึง สถานศึกษา สถานประกอบการ สถานบริการชุมชนต่างๆ
 
นอกจากนี้ ภาคประชาสังคม ยังเสนอให้ตัดภาษาที่กำกวมในมาตรา 6 คือคำว่า "อย่างเหมาะสม"ออก เพราะเป็นคำที่คลุมเคลือ ไม่ขัดเจน
 
            มาตรา ๗ ให้สถานศึกษาจัดให้มีการสอนเพศศึกษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม กับวุฒิภาวะและวัยของผู้เรียนโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
ในมาตรา 7 พูดถึงบทบาทของสถาบันการศึกษา ที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้เรื่องเพศให้เหมาะกับทุกช่วงวัยนั้น ภาควิชาการกับภาคประชาสังคมเห็นว่า บทบาทนี้ไม่ควรจำกัดแค่สถาบันการศึกษา แต่ขยายรวมถึงครอบครัว ชุมชน สถานประกอบการ ที่ร่วมกันจัดสภาพแวดล้อมให้มีการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาได้
 
ซึ่งคณะทำงานร่างกฎหมายชี้แจงว่า เจตนารมณ์ของมาตรานี้ คือต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนที่มีคุณภาพ ซึ่งข้อเสนอจากทุกฝ่ายที่พูดมา อาจทำให้ประเด็นในมาตรา 7 ต่างไปจากเดิม
 
นอกจากนี้ ภาคประชาสังคมเสนอให้เพิ่มถ้อยคำที่ว่า ให้มีการสอนเพศศึกษาอย่างถูกต้องเหมาะสมกับ "เพศภาวะ เพศวิถี"และวัยของผู้เรียนด้วย
 
ภาคการเมืองติงเพิ่มเติมในมาตรา 6 และมาตรา 7 ว่า ถ้อยคำที่บอกว่าให้สถานบริการสาธารณสุขและสถานศึกษาจัดบริการตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการนั้น เสนอให้เปลี่ยนภาษา จากคำว่า "โดยคำแนะนำของคณะกรรมการ" มาเป็น "ตามคำแนะนำของคณะกรรมการ" เพราะน่าจะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากกว่า ขณะที่ภาคประชาสังคมเห็นว่าควรตัดทิ้งทั้งข้อความ เพราะอาจกลายเป็นข้อจำกัดของการทำงาน
 
           มาตรา ๘ การให้การปรึกษาและบริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ ผู้ให้การ ปรึกษาและบริการต้องพึงปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
() ให้ข้อมูลข่าวสารด้านอนามัยเจริญพันธุ์อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและเพียงพอ แก่ผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการมีทางเลือกและตัดสินใจอย่างอิสระ
() ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือประวัติการบำบัดรักษาด้านสุขภาพและอนามัย การเจริญพันธุ์ของผู้รับบริการ ทั้งนี้ ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ
() ให้การปรึกษาและบริการที่เหมาะสมตามเพศภาวะ วิถีชีวิตทางเพศ วัย และ ความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ โดยไม่ก่อให้เกิดความอับอายหรือเสื่อมเสียแก่ผู้รับบริการ
 
มาตรา 8 พูดถึงหน้าที่ของงานด้านการให้คำปรึกษาและบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ประเด็นนี้ ภาควิชาการตั้งคำถามเกี่ยวกับความชัดเจนของหน่วยงาน ว่าใครบ้างจะมามีบทบาทนี้ ซึ่งควรมีความชัดเจนและเป็นระบบ ภาคการเมืองเห็นว่า งานบริการด้านนี้ ควรจำกัดให้เป็นงานด้านสาธารณสุขเท่านั้น ขณะที่ภาคประชาสังคม เสนอว่าบทบาทนี้เกิดขึ้นได้ในหน่วยงานหลายลักษณะ ไม่จำกัดแค่หน่วยงานสาธารณสุข แต่รวมถึงสถานศึกษา ที่สามารถมีบทบาทจัดบริการที่เป็นมิตร
 
ขณะที่ภาคประชาสังคม และภาคการเมือง เห็นพ้องกันให้ตัดถ้อยคำที่เขียนว่า "ทั้งนี้ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ"ภาคประชาสังคมยังเสนอให้แก้ส่วนอื่นๆ ให้ชัดเจนขึ้น ได้แก่ () ให้ข้อมูลข่าวสารด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ อย่าง ครบถ้วน รอบด้าน และเพียงพอ... และเพิ่มใจความที่ย้ำว่า การให้บริการนี้ต้องเคารพความแตกต่างหลากหลายทางเพศ
 
 

 

Comments

yingcheep's picture
เขียนอย่างนี้ไว้แล้ว ไม่รู้จะปฏิบัติได้หรือเปล่า
ต้องอาศัยความเข้าใจอีกเยอะเลย