อัปเกรดพ.ร.บ.คอมฯ เพิ่มโทษผู้ดูแลระบบ ก๊อปไฟล์โหลดบิทเสี่ยงคุก

อัปเกรดพ.ร.บ.คอมฯ เพิ่มโทษผู้ดูแลระบบ ก๊อปไฟล์โหลดบิทเสี่ยงคุก

เมื่อ 7 เม.ย. 2554
ไฟล์แนบขนาดไฟล์
ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับไอซีทีวันที่ 28 มีนาคม 255449.35 KB

เมื่อวันจันทร์ที่28 มี.ค. 54 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จัด ประชุมรับฟังและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมดังกล่าว มีการแจกเอกสารร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กระทรวงไอซีทีจัดทำขึ้นด้วย

ร่างกฎหมายนี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ยกเลิกพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 ทั้ง ฉบับ และให้ใช้ร่างฉบับใหม่นี้แทน อย่างไรก็ดี โครงสร้างของเนื้อหากฎหมายมีลักษณะคล้ายคลึงฉบับเดิม โดยมีสาระสำคัญที่ต่างไป ดังนี้

 

ประเด็นที่1 เพิ่มนิยาม “ผู้ดูแลระบบ”

มาตรา4 เพิ่ม นิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” หมายความว่า “ผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ผู้อื่นในการเข้าสู่อิน เทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น”

ใน กฎหมายเดิมมีการกำหนดโทษของ “ผู้ให้บริการ” ซึ่งหมายถึงผู้ที่ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า การพยายามเอาผิดผู้ให้บริการซึ่งถือเป็น “ตัวกลาง” ในการสื่อสาร จะส่งผลต่อความหวาดกลัวและทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง อีกทั้งในแง่ของกฎหมายคำว่าผู้ให้บริการก็ตีความได้อย่างกว้างขวาง คือแทบจะทุกขั้นตอนที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็ล้วนเป็น ผู้ให้บริการทั้งสิ้น

สำหรับ ร่างฉบับใหม่ที่เพิ่มนิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” ขึ้นมานี้ อาจหมายความถึงเจ้าของเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ แอดมินระบบเครือข่าย แอดมินฐานข้อมูล ผู้ดูแลเว็บบอร์ด บรรณาธิการเนื้อหาเว็บ เจ้าของบล็อก ขณะที่ “ผู้ให้บริการ” อาจหมายความถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

ตาม ร่างกฎหมายนี้ ตัวกลางต้องรับโทษเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด เช่น หากมีการเขียนข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ผู้ดูแลระบบและผู้ให้บริการที่จงใจหรือยินยอมมีความผิดทางอาญาเท่ากับผู้ที่ กระทำความผิด และสำหรับความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่นการเจาะระบบ การดักข้อมูล หากผู้กระทำนั้นเป็นผู้ดูแลระบบเสียเอง จะมีโทษ1.5 เท่าของอัตราโทษที่กำหนดกับคนทั่วไป

ประเด็นที่ 2 คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี 

สิ่งใหม่ในกฎหมายนี้ คือมีมาตรา16 ที่ เพิ่มมาว่า “ผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ทั้งนี้ การทำสำเนาคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการคัดลอกไฟล์ การดาว์นโหลดไฟล์จากเว็บไซต์ต่างๆ มาตรานี้อาจมีไว้ใช้เอาผิดกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หรือเพลง แต่แนวทางการเขียนเช่นนี้อาจกระทบไปถึงการแบ็กอัปข้อมูล การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาว์นโหลดมาพักไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติหรือที่ เรียกว่า “แคช” (cache เป็น เทคนิคที่ช่วยให้เรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเก็บข้อมูลที่เคยเรียกดูแล้วไว้ในเครื่อง เพื่อให้การดูครั้งต่อไป ไม่ต้องโหลดซ้ำ) ซึ่งผู้ใช้อาจมิได้มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว

ประเด็นที่ 3 มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด

ในมาตรา25 “ผู้ ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือ เยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

เป็นครั้งแรกที่มีการระบุขอบเขตเรื่องลามกเด็กหรือเยาวชนโดยเฉพาะขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือว่า ลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้นหมายความอย่างไร นอกจากนี้ มาตราดังกล่าวยังเป็นการเอาผิดที่ผู้บริโภค ซึ่งมีความน่ากังวลว่า การชี้วัดที่ “การครอบครอง” อาจทำให้เกิดการเอาผิดที่ไม่เป็นธรรม เพราะธรรมชาติการเข้าเว็บทั่วไป ผู้ใช้ย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าการเข้าชมแต่ละครั้งดาว์นโหลดไฟล์ใดมาโดย อัตโนมัติบ้าง และหากแม้คอมพิวเตอร์ถูกตรวจแล้วพบว่ามีไฟล์โป๊เด็ก ก็ไม่อาจหมายความได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ดูผู้ชม

ประเด็นที่ 4 ยังเอาผิดกับเนื้อหา

มาตรา24 (1) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน

เนื้อความข้างต้น เป็นการรวมเอาข้อความในมาตรา14 (1) และ (2) ของ กฎหมายปัจจุบันมารวมกัน ทั้งนี้ หากย้อนไปถึงเจตนารมณ์ดั้งเดิมก่อนจะเป็นข้อความดังที่เห็น มาจากความพยายามเอาผิดกรณีการทำหน้าเว็บเลียนแบบให้เข้าใจว่าเป็นหน้าเว็บ จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล (phishing) จึง เขียนกฎหมายออกมาว่า การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมถือเป็นความผิด แต่เมื่อแนวคิดนี้มาอยู่ในมือนักกฎหมายและเจ้าหน้าที่ ได้ตีความคำว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม” เสียใหม่ กลายเป็นเรื่องการเขียนเนื้อหาอันเป็นเท็จ และนำไปใช้เอาผิดฟ้องร้องกันในเรื่องการหมิ่นประมาท ความเข้าใจผิดนี้ยังดำรงอยู่และต่อเนื่องมาถึงร่างนี้ซึ่งได้ปรับถ้อยคำใหม่ และกำกับด้วยความน่าจะเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่น ตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกสูงสุด ห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หาก พิจารณาจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินคดีคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา ปัญหานี้ก่อให้เกิดการเอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะหลายกรณี รัฐไทยเป็นฝ่ายครอบครองการนิยามความจริง ปกปิดความจริง ซึ่งย่อมส่งผลให้คนหันไปแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตแทน อันอาจถูกตีความได้ว่ากระทบต่อความไม่มั่นคงของ “รัฐบาล” ข้อความกฎหมายลักษณะนี้ยังขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิด เห็นโดยไม่จำเป็น

ประเด็นที่5 ดูหมิ่น ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

มาตรา26 ผู้ ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่ผ่านมามีความพยายามฟ้องคดีหมิ่นประมาทซึ่งกันและกันโดยใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่การกำหนดข้อหายังไม่มีมาตราใดในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะใช้ได้อย่างตรงประเด็น มีเพียงมาตรา 14 (1) ที่ระบุเรื่องข้อมูลอันเป็นเท็จดังที่กล่าวมาแล้ว และมาตรา 16 ว่าด้วยภาพตัดต่อ ในร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้สร้างความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้งข้อหาการดูหมิ่นต่อกันได้ง่ายขึ้นข้อสังเกตคือ ความผิดตามร่างฉบับใหม่นี้กำหนดให้การดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทมีโทษจำคุกสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ทั้งที่การหมิ่นประมาทในกรณีปกติ ตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

ประเด็นที่6 ส่งสแปม ต้องเปิดช่องให้เลิกรับบริการ

มาตรา21 ผู้ ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ทางการค้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ และโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากที่กฎหมายเดิมกำหนดเพียงว่า การส่งจดหมายรบกวน หากเป็นการส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ถือว่าผิดกฎหมาย ในร่างฉบับใหม่แก้ไขว่า หากการส่งข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ บอกรับได้ ทั้งนี้อัตราโทษลดลงจากเดิมที่กำหนดโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาเป็นจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ ยังต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากการส่งข้อมูลดังกล่าว แม้จะเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็จะไม่ผิดตามร่างฉบับใหม่นี้

ประเด็นที่7 เก็บโปรแกรมทะลุทะลวงไว้ คุกหนึ่งปี

มาตรา23 ผู้ ใดผลิต จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ มีไว้ หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความ ผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

น่าสังเกตว่า เพียงแค่ทำซ้ำ หรือมีไว้ซึ่งโปรแกรมที่ใช้เจาะระบบ การก๊อปปี้ดาวน์โหลดไฟล์อย่างทอร์เรนท์ การดักข้อมูล การก่อกวนระบบ ก็มีความผิดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เรื่องนี้น่าจะกระทบต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์โดยตรง

ประเด็นที่ 8 เพิ่มโทษผู้เจาะระบบ

สำหรับกรณีการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ เดิมกำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ร่างกฎหมายใหม่เพิ่มเพดานโทษเป็นจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท(เพิ่มขึ้น 4 เท่า)

ประเด็นที่ 9 ให้หน้าที่หน่วยใหม่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

ร่างกฎหมายนี้กำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานซึ่งมีชื่อว่า “สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)” เรียกโดยย่อว่า “สพธอ.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)” เรียกโดยย่อว่า “ETDA” เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีที

หน่วยงานนี้เพิ่งตั้งขึ้นเป็นทางการ ประกาศผ่าน “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิสก์ พ.ศ. 2554” เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 54 โดยเริ่มมีการโอนอำนาจหน้าที่และจัดทำระเบียบ สรรหาประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มี.. 54

ในร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่นี้ กำหนดให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) มีบทบาทเป็นฝ่ายเลขานุการของ “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ภายใต้ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับที่กำลังร่างนี้

นอกจากนี้ หากคดีใดที่ต้องการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดซึ่งอยู่ในต่างประเทศ จะเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ในร่างกฎหมายนี้กำหนดว่า พนักงานสอบสวนอาจร้องขอให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) เป็นผู้ประสานงานกลางให้ได้ข้อมูลมา

ประเด็นที่10 ตั้งคณะกรรมการ สัดส่วน 8 – 3 – 0 : รัฐตำรวจ-ผู้ทรงคุณวุฒิ-ประชาชน

ร่างกฎหมายนี้เพิ่มกลไก“คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ผู้ อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคลจากผู้มี ความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเงินการธนาคาร หรือสังคมศาสตร์จำนวนสามคน โดยให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี

คณะกรรมการชุดนี้ ให้ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์กรมหาชน), สำนักงานกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (สังกัดกระทรวงไอซีที), สำนักคดีเทคโนโลยี (สังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม), และ กลุ่มงานตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี กองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี (บก.สสท.) (สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เป็นเลขานุการร่วมกัน

คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ออกระเบียบ ประกาศ ตามที่กำหนดในพ.ร.บ.นี้ และมีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหลักฐาน รวมถึง “ปฏิบัติการอื่นใด” เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ โดยให้ถือว่าคณะกรรมการและอนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 14, 15 และ 16 ใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550

ตัดทิ้งทั้งหมด
95% (5898 votes)
คงไว้เหมือนเดิม
3% (159 votes)
แก้ไขบางส่วน (โปรดอธิบาย)
2% (152 votes)
คนโหวตทั้งหมด: 6211 คน
การโหวตแต่ละครั้งสามารถโหวตซ้ำได้หลังจากผ่านไป 5 นาทีแล้ว

Comments

บ้าไปแล้วววว แบบนี้แฮกเกอร์ไทย ใจดี ทำดีเพื่อส่วนรวมก็หายหมดสิ แล้วคิดว่าระบบคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยมันดีนักรึไง หรือว่ารู้ว่าตัวเองห่วย เลยเอาคำว่า "กฎหมาย" มาปกปิดความห่วยของตัวเอง "ช่างโง่เง่ายิ่งนัก"

ยุคนี้ทุกอย่างเป็นคอมพิวเตอร์ แฮกเกอร์ก็คือส่วนหนึ่งของอาวุธสงคราม ถ้าวันหนึ่งถูกแฮกเกอร์ต่างประเทศมันโจมตีประเทศไทย แล้วใครจะช่วย?

พี่ครับ คอมพิวเตอร์รัฐบาล เขาใช้ windows แท้สักเครื่อง หรอ ??

หึหึ ๆๆ ออก อะไรไม่คิดเนาะครับ ขนาดลง Windows ที่สถานีรถไฟ

แผ่นที่ใช้ลงคือ PRINCO !!!!

ครั้งหนึ่ง สนงตช ใหญ่ แถลงข่าวออกช่อง 7 แต่เบื้องหลัง โปรเจ็คเตอร์ มุมขวาล่าง โชว์

This copy of windows is not genuine

คนที่รู้ดูแล้วทุเรศ

 

ไม่เห็นด้วยกับ พรบ ฉบับนี้ครับ สมควรพิจารณาแก้ไขข้อกฏหมายใหม่ทั้งหมด กฏหมายที่ร่างออกมาดูกว้างเกินไปตอบโจทธ์ไม่ชัดเจนควรจำกัดขอบเขตของผู้ กระทำผิด ไม่ใช่ว่าเขียนขึ้นมาเพื่อเหวี่ยงแห เพื่อให้ผ่านตัวชี้วัดว่าตัวเองมีผลงานโดนไม่สนว่า ใครจะเป็นอะไร ใครจะเป็นยังไง ขอตัวเองมีผลงาน ได้เป็น รศ ศ หรือ ชำนาญการ เชียวชาญเป็นพอ

ปล. แล้วที่เขียนไปเค้าจะมาสนใจกันไหมเนี่ย เดี่ยวก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้คนดูบอร์ดไม่ใช่หัวหน้า เป็นแค่ลูกน้อง หัวหน้าไม่ถามลูกน้องก็ไม่ตอบ/บอก แล้วก็เลยตามเลยผ่านกรรมการแล้วเป็นพอ ร่างนี้ก็คลอดออกมา แล้วก็ ...... เจริญล่ะ Thailand Only

 

 

อันนี้กุก๊อบเมนท์ด้านล่างมา โดนอีกล่ะสิกู

เห็นด้วย กับ ความ คิด ข้างต้น และประนาม ผู้ที่ออกความคิดแบบนี้ ข้อเสีย เยอะกว่า ข้อดี ผมเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ถึง จะลูกจ้าง ก็ เหอะ อยู่ในกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ยัง คิดว่า มันห่วยเลย

 

อนาจมาก

สั้นๆ คำเดียวเลยนะ

 

กาก

ครับ เป็นกฎหมายที่ดี

งั้นคราวหน้าห้ามโหลดอะไรเลยดีกว่าครับ ง่ายดี 4shared rapidshare มีของก็อบเยอะครับ ผ่าน http ด้วย เพราะฉะนั้นห้ามโหลดหมดเลยครับ เชื่อผม

เอาแค่อ่านหน้าเว็บได้ก็พอครับสำหรับประเทศไทย

ผมว่ามันขัดต่อเสรีภาพของประชาชน ที่ใช้งานทางด้านอินเตอร์เน็ต เจตนาของคนเขียนน่าจะมีไว้ปราม มากกว่าปราบ ต้องระวังคนที่นำไปปฎิบัติจะมีเจตนาแอบแฝง นำไปหาผลประโยชน์หรือกลั่นแกล้งผู้อื่น

ก็อย่าบ้าจี้ตามฝรั่งมันสั่งมากเกินไป เพราะประเทศไทยเรากำลังพัฒนา หันหลังให้บ้างถ้าไม่อุจาดตา

ผมว่าร่างนี้มันไม่ใช่การอัพเกรดหรอกครับ ผมว่ามันเป็นการดาวเกรดซะมากกว่า

หรือเรียกว่า อัพความกาก ให้เพิ่มพูนขึ้น

นับวันกระทรวงนี้มีแต่จะบีบความอิสระเสรีของประชาชนให้มันแคบลงๆจนจะกลายเป็นประชาชนอัดกระป๋องแล้วครับ บอกได้คำเดียวว่า ปัญญาอ่อน

ผมขอนิยามของปัญญาอ่อนด้วยครับ สำหรับบุคคลแบบไหนด้วยครับ ขอบคุณครับ

ความคิดที่ออกมาจากผู้ใหญ่ของประเทศนั่นแหละ ปัญญาอ่อน

บุคคลแบบ ผู้ใหญ่ของประเทศ ไง

พวกมันเปิดคอมกันเป้นหรือป่าวยังไม่รู้เลย

ของพวกนี้รับรองได้พวกลูกหลานมันก้ทำเหมือนกัน

แล้วมันจะโดนกันไหม พี่น้อง

5555555555+

อันนี้เรื่องจิง ปุ่มPOWERรู้จักกันมั้ยน่ะ

 

พวกสมองกลวง!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

 

ไอซีที  คิิดได้แค่นี้หรอ...ห่วยแตกมว๊ากก...

ออกมาได้ไงกัน  โปรแกรมบางอย่างก็มีประโยชน์เพื่อการศึกษา เพื่อความสะดวกในการส่งต่อข้อมูลภายในองค์กร หรือภายในกลุ่ม ไม่จำเป็นต้องส่งไฟล์เถื่อน แค่มีไว้ใช้งานเพื่อด้านการศึกษาก็ผิดกฎหมาย งั้นอย่างนี้ ก็ออกกฎหมายให้เลิกใช้คอมพิวเตอร์ไปเลยสิ  จะได้กลับไปอยู่ในยุคดึกดำบรรพ์ เลิกใช้อินเตอร์เน็ต หันไปล้างผลาญต้นไม้ มาทำเป็นกระดาษ ส่งไฟล์งานกันเป็นกระดาษ ประเทศชาติจะได้ล้าหลัง ชาติอื่นเขาไง  ดีป่ะ

พวกโปรแกรมเจาะระบบเนี่ยด้านนึงพวกแฮกเกอร์ใช้เจาะระบบก็จริง แต่อีกด้านคนที่ทำงานด้านความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ก็ต้องใช้เพื่อทดสอบระบบเช่นกัน ของพวกนี้มันมีสองด้านมันอยู่ที่การนำไปใช้ การที่แค่มีไว้ในครอบครองแล้วเป็นความผิด ต่อไปจะป้องกันระบบกันได้ยังไงถ้าเราไม่สามารถหาช่องโหว่ในระบบของตัวเองได้ หรือต้องรอให้แฮกเกอร์เข้ามาเจาะ ขโมยข้อมูลไปก่อน แล้วค่อยมาตามอุดช่องโหว่กันทีหลัง แล้วมันคุ้มไหมที่ค่อยมาจับทีหลังอย่างเดียว จะจับได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ แล้วกว่าจะจับได้ความเสียหายที่เกิดขึ้นมันคุ้มหันหรือเปล่า ไอวิธีคิดแบบวัวหายแล้วล้อมคอกเนี่ย มันไม่มีประโยชน์

 

Thailand only

Thailand only

ผมไม่ทราบว่า  ตรรกะแบบนี้  ออกมาล่อเป้าให้คนเด่าหรือครับ?

ทีงี้ไม่เขียนล่ะว่า ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ทำเอง โทษ x5 เท่า

ถ้าเจ้าหน้าที่ ทุจริตโดยหากินจากกฏหมายดังกล่าว โทษ 10 เท่า

 

ทุกอย่าง ให้เจ้าหน้าที่หากินได้ โกงกินได้ทั่วถึงรึครับ

จะทำได้จริงเหรอขนาดเมืองนอกยังปิดอ่าวโจรสลัดไม่ได้พี่ไทยจะทำได้เหรอแต่ผมก็มีข้อสงสัยอยู่บ้าง



1.ในประเด็นที่ 2 คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี งี้เด็กไทยก็ติดคุกกันหมดอะดิ เพราะลอกงานจากในเวบมาส่งอาจารย

2.เมื่อเทียบกับกฏหมายนี้ มาตรา ๙๒ ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เอ่อ..โหลดบิทติดคุก 3 ปี มียาเสพติดไว้ในครอบครองติดไม่เกิน 1 เดือนถึง 1 ปี ปรับไม่เกิน 20000 บาท แสดงว่าการโหลดบิทร้ายแรงกว่ายาเสพติด สินะ

3.เพิ่งรู้นะครับเนี่ย ว่าปัญหาการละเมิดลิขสิทธ์เป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ ต้องรีบออก พรบ. มาแก้ไขด่วน ไม่ใช่ปัญหา 3จังหวัดชายแดนภาคใต้,ไม่ใช่ปัญหายาเสพติด,ไม่ใช่ปัญหาอาชญากรรม,ไม่ใช่ปัญหาสินค้าแรงแพง ขาดตลาด,ไม่ใช่ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม,ไม่ใช่ปัญหาการว่างงาน,ไม่ใช่ปัญหาสังคม

4.คุณกล้าบอกมั้ยว่าคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในหน่วยงานของรัฐใช้Windowของจริงทั้งหมด ที่สถานีตำรวจหลายๆที่ยังเห็นใช้Windowเถื่อนอยู่เลย ในเมื่อคุณเองยังทำผิดแล้วมีสิทธ์อะไรมาบอกให้คนอื่นอย่าทำผิด

5.คุณลองเลื่อนลงมาดูผลโหวตประชานิยมดูว่ามีคนไม่เห็นด้วยกับกฏหมายนี้เกิน80% แล้วนะคิดดูว่าสิ่งที่คุณคิดนะมันดีจริงหรือ ผู้คนจึงเห็นด้วยขนาดนี้

 

แปลกนะคนสมัยก่อนความรู้ไม่ค่อยมี โง่ก็โง่แต่มักจะคิดอะไรที่สร้างสรรค์และฉลาดๆออกมา

คนสมัยนี้ฉลาดก็ฉลาดเรียนก็สูงจบเมืองนอกอีก แต่มักจะคิดอะไรโง่ๆ

 

คห.นี้โดนใจจริงๆ

Like++++

ถ้าเป็นแบบนี้ ตำรวจไปจับตามข้อ 1 ของคุณ พ่อแม่เค้าไม่เอาพิการเหรอ เสียตังยังเสียเดินเรื่องให้ลูกอีก

ผมไม่เอาด้วยอ่ะ อีกหลายข้อหาที่จะโดนมาอีก คนที่ออก พ.ร.บ.นี้เต็ม 100%หรือปล่าว

 

ที่ไหนใช้โปรแกรมแท้ทุกอย่าง ผมจะกราบงามๆๆๆ

กดไลค์ไปพันครั้ง .

like !!

like !!

ขอแก้ข้อความเพื่อเข้าใจผิดนิดนึงน่ะครับเพราะข้อ1ที่คุณเขียนมันยังเป็นช่องที่กฏหมายเปิดไว้โดยระบุว่า การละเมิดลิขสิทธ์เพื่อการศึกษาไม่ผิดครับ (ผมก็สงสัยข้อนี้มานานเลยไปหาข้อมูลมาอ่ะครับ)ไม่ได้ว่ากันน่ะยังสนับสนุนแนวคิดคุณเหมือนเดิม

ผมเห็นด้วยครับ ผมว่าเอาคนที่เข้าใจ หรือพวกไวรุ่นไฟแรงมาทำดีกว่าครับ

นับวัน พรบ ICT นับวันทำให้ประชาชนเหมือนอยู่ในกะลา

เห็นด้วยเลย สมัยนี้คอมพิวเตอร์มันเป็นส่วนนึงในการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว

เห็นด้วยเลย สมัยนี้คอมพิวเตอร์มันเป็นส่วนนึงในการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว

มีความคิดเห็นที่น่าสนใจมากครับ

ไอ้ดีมันก็ดีนะครับ เเต่มันมาเร็วไปไหม ประเทศเรามันเพิ่งจะพัฒนา มันทำเเบบฝรั่งที่เจริญเเล้วได้ที่ไหน มันต้องค่อยเป็นค่อยไป เอาปัญหาปากท้องให้รอดก่อนเหอะ เเล้วเรื่องอื่นมึงค่อยว่ากัน

เห็นด้วยครับ ++++

คำเดียวโดน

ชอบอะ คอมเม้นนี้ ให้แง่คิดได้หลายมุมจริงๆ งั้นผมซวยดิ ทำงานคอมส่งครูเพื่อนจ้างทำผมไปคัดลอกไฟล์เก่าตัวเองมาเป็นต้นแบบแล้วทำให้เพื่อนใหม่ ตายๆๆๆ

แก้ปัญหาปลายเหตุครับ ชัดๆๆ  ไม่ปลืมมาก  ผมในถานะคนไอที รับไม่ได้กับบางข้อครับ เช่นการดาวโหลดบิท ไฟล์  ทำไมแก้ซะตรงจุดเลยน่ะ   ผู้ให้บริการถูกเสมอ ใครมีปัญญาคิดเอาเอง    และมีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด ผมไม่เข้าใจว่าทำไม  ถ้าเป็นของผู้ใหญ่ถูกหรือ ง่ายๆเลยผมว่าเด็กไทยเกิน 1.3ล้านมีทุกคน นี่เป็นความจิงที่ปฏิเสษไม่ได้  ถ้าจะเอากันจิงต้องผิดทั้งเกี่ยวกับเด็กและเกี่ยวกับผู้ใหญ่ คับ  ไม่รู้จะพูดอย่างไรดี ของเก่าใช้ไม่ถึงไหนจะของใหม่มาแล้วงานนี้คงมีคนท้วงติงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะ รับไม่ได้จิงๆๆๆ 55  อนาตคเด็กไทยอยู่ไหนเมื่อสังคมไทยเป็นอย่างนี้^^

 

จบโปรดตามติด

ออกกฎหมายมาห่พ่อมึงหรอ คนบางคนเขาไม่มีเงินก็ต้องโหลด กูเชื่อว่าในพวกมึงต้องมีบ้างแหละ

ทำเพื่ออะรัยครับเอาไว้เป็นช่องทางทำกินรึงัย..

เขาคิดไรของเขา ยัดเงินเขาไปหรอนั้น บ้าสิ้นดีเลย ถ้าโดนเจาะระบบแฮกเกอร์ไทยหาย วันนั้นจารู้สึก

อยากถามว่า FACEBOOK ที่หมิ่นเบื้องสูง คุณจะเอาผิดกับใคร  ผมไม่เห็นกระทรวงทำอะไรเลยแจ้งไปตั้งหลายพันคนแล้วมั้ง เห็น ก็ยังเปิดได้อยู่ดี สรุปง่ายว่าพรบ. ฉบับนี้ไม่สามารถเอาผิดพวกที่กระทำผิดที่อยุ่ต่างประเทศได้ใช่ไหมเนีย

ไม่รู้หรอครับ กฏหมาย มีไว้ใช้สำหรับคนไม่มีทางสู้

โหลยโท่ยมาก!!!!  รับไม่ได้มาก(ถึงมากที่สุด)

สมกับเป็นประเทศกำลัง(ยังไม่)พัฒนา

ไม่จริงเลย ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังถดถอยต่างหาก

ไม่รู้จริง คุณอย่าพูด

ยกเลิกอินเทอร์เน็ตไปเลยหมดเรื่องหมดราว

สงสัย จะได้ ไปตั้ง Server ที่ต่างประเทศ แล้ว ส่งบริการ มาเพื่อคนไทย ครับ

เพราะที่แล้ว มา เอาผิดกับต่างชาติไม่เคยได้

แต่กลับ เชือด กรีดเลือด กรีดเนื้อ คนไทยด้วยกัน มาตลอด

อยากคนไลท์ สักล้านครั้ง

 

สมองหมาปัญญาควายไม่รู้จักเทคโนโลยี