ไฟล์แนบ | ขนาดไฟล์ |
---|---|
ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับไอซีทีวันที่ 28 มีนาคม 2554 | 49.35 KB |
เมื่อวันจันทร์ที่28 มี.ค. 54 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จัด ประชุมรับฟังและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมดังกล่าว มีการแจกเอกสารร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กระทรวงไอซีทีจัดทำขึ้นด้วย
ร่างกฎหมายนี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ยกเลิกพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 ทั้ง ฉบับ และให้ใช้ร่างฉบับใหม่นี้แทน อย่างไรก็ดี โครงสร้างของเนื้อหากฎหมายมีลักษณะคล้ายคลึงฉบับเดิม โดยมีสาระสำคัญที่ต่างไป ดังนี้
ประเด็นที่1 เพิ่มนิยาม “ผู้ดูแลระบบ”
มาตรา4 เพิ่ม นิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” หมายความว่า “ผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ผู้อื่นในการเข้าสู่อิน เทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น”
ใน กฎหมายเดิมมีการกำหนดโทษของ “ผู้ให้บริการ” ซึ่งหมายถึงผู้ที่ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า การพยายามเอาผิดผู้ให้บริการซึ่งถือเป็น “ตัวกลาง” ในการสื่อสาร จะส่งผลต่อความหวาดกลัวและทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง อีกทั้งในแง่ของกฎหมายคำว่าผู้ให้บริการก็ตีความได้อย่างกว้างขวาง คือแทบจะทุกขั้นตอนที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็ล้วนเป็น ผู้ให้บริการทั้งสิ้น
สำหรับ ร่างฉบับใหม่ที่เพิ่มนิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” ขึ้นมานี้ อาจหมายความถึงเจ้าของเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ แอดมินระบบเครือข่าย แอดมินฐานข้อมูล ผู้ดูแลเว็บบอร์ด บรรณาธิการเนื้อหาเว็บ เจ้าของบล็อก ขณะที่ “ผู้ให้บริการ” อาจหมายความถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ตาม ร่างกฎหมายนี้ ตัวกลางต้องรับโทษเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด เช่น หากมีการเขียนข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ผู้ดูแลระบบและผู้ให้บริการที่จงใจหรือยินยอมมีความผิดทางอาญาเท่ากับผู้ที่ กระทำความผิด และสำหรับความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่นการเจาะระบบ การดักข้อมูล หากผู้กระทำนั้นเป็นผู้ดูแลระบบเสียเอง จะมีโทษ1.5 เท่าของอัตราโทษที่กำหนดกับคนทั่วไป
ประเด็นที่ 2 คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี
สิ่งใหม่ในกฎหมายนี้ คือมีมาตรา16 ที่ เพิ่มมาว่า “ผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ทั้งนี้ การทำสำเนาคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการคัดลอกไฟล์ การดาว์นโหลดไฟล์จากเว็บไซต์ต่างๆ มาตรานี้อาจมีไว้ใช้เอาผิดกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หรือเพลง แต่แนวทางการเขียนเช่นนี้อาจกระทบไปถึงการแบ็กอัปข้อมูล การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาว์นโหลดมาพักไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติหรือที่ เรียกว่า “แคช” (cache เป็น เทคนิคที่ช่วยให้เรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเก็บข้อมูลที่เคยเรียกดูแล้วไว้ในเครื่อง เพื่อให้การดูครั้งต่อไป ไม่ต้องโหลดซ้ำ) ซึ่งผู้ใช้อาจมิได้มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว
ประเด็นที่ 3 มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด
ในมาตรา25 “ผู้ ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือ เยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
เป็นครั้งแรกที่มีการระบุขอบเขตเรื่องลามกเด็กหรือเยาวชนโดยเฉพาะขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือว่า ลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้นหมายความอย่างไร นอกจากนี้ มาตราดังกล่าวยังเป็นการเอาผิดที่ผู้บริโภค ซึ่งมีความน่ากังวลว่า การชี้วัดที่ “การครอบครอง” อาจทำให้เกิดการเอาผิดที่ไม่เป็นธรรม เพราะธรรมชาติการเข้าเว็บทั่วไป ผู้ใช้ย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าการเข้าชมแต่ละครั้งดาว์นโหลดไฟล์ใดมาโดย อัตโนมัติบ้าง และหากแม้คอมพิวเตอร์ถูกตรวจแล้วพบว่ามีไฟล์โป๊เด็ก ก็ไม่อาจหมายความได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ดูผู้ชม
ประเด็นที่ 4 ยังเอาผิดกับเนื้อหา
มาตรา24 (1) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
เนื้อความข้างต้น เป็นการรวมเอาข้อความในมาตรา14 (1) และ (2) ของ กฎหมายปัจจุบันมารวมกัน ทั้งนี้ หากย้อนไปถึงเจตนารมณ์ดั้งเดิมก่อนจะเป็นข้อความดังที่เห็น มาจากความพยายามเอาผิดกรณีการทำหน้าเว็บเลียนแบบให้เข้าใจว่าเป็นหน้าเว็บ จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล (phishing) จึง เขียนกฎหมายออกมาว่า การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมถือเป็นความผิด แต่เมื่อแนวคิดนี้มาอยู่ในมือนักกฎหมายและเจ้าหน้าที่ ได้ตีความคำว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม” เสียใหม่ กลายเป็นเรื่องการเขียนเนื้อหาอันเป็นเท็จ และนำไปใช้เอาผิดฟ้องร้องกันในเรื่องการหมิ่นประมาท ความเข้าใจผิดนี้ยังดำรงอยู่และต่อเนื่องมาถึงร่างนี้ซึ่งได้ปรับถ้อยคำใหม่ และกำกับด้วยความน่าจะเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่น ตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกสูงสุด ห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หาก พิจารณาจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินคดีคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา ปัญหานี้ก่อให้เกิดการเอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะหลายกรณี รัฐไทยเป็นฝ่ายครอบครองการนิยามความจริง ปกปิดความจริง ซึ่งย่อมส่งผลให้คนหันไปแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตแทน อันอาจถูกตีความได้ว่ากระทบต่อความไม่มั่นคงของ “รัฐบาล” ข้อความกฎหมายลักษณะนี้ยังขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิด เห็นโดยไม่จำเป็น
ประเด็นที่5 ดูหมิ่น ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
มาตรา26 ผู้ ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่ผ่านมามีความพยายามฟ้องคดีหมิ่นประมาทซึ่งกันและกันโดยใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่การกำหนดข้อหายังไม่มีมาตราใดในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะใช้ได้อย่างตรงประเด็น มีเพียงมาตรา 14 (1) ที่ระบุเรื่องข้อมูลอันเป็นเท็จดังที่กล่าวมาแล้ว และมาตรา 16 ว่าด้วยภาพตัดต่อ ในร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้สร้างความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้งข้อหาการดูหมิ่นต่อกันได้ง่ายขึ้นข้อสังเกตคือ ความผิดตามร่างฉบับใหม่นี้กำหนดให้การดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทมีโทษจำคุกสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ทั้งที่การหมิ่นประมาทในกรณีปกติ ตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ประเด็นที่6 ส่งสแปม ต้องเปิดช่องให้เลิกรับบริการ
มาตรา21 ผู้ ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ทางการค้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ และโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จากที่กฎหมายเดิมกำหนดเพียงว่า การส่งจดหมายรบกวน หากเป็นการส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ถือว่าผิดกฎหมาย ในร่างฉบับใหม่แก้ไขว่า หากการส่งข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ บอกรับได้ ทั้งนี้อัตราโทษลดลงจากเดิมที่กำหนดโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาเป็นจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ยังต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากการส่งข้อมูลดังกล่าว แม้จะเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็จะไม่ผิดตามร่างฉบับใหม่นี้
ประเด็นที่7 เก็บโปรแกรมทะลุทะลวงไว้ คุกหนึ่งปี
มาตรา23 ผู้ ใดผลิต จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ มีไว้ หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความ ผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
น่าสังเกตว่า เพียงแค่ทำซ้ำ หรือมีไว้ซึ่งโปรแกรมที่ใช้เจาะระบบ การก๊อปปี้ดาวน์โหลดไฟล์อย่างทอร์เรนท์ การดักข้อมูล การก่อกวนระบบ ก็มีความผิดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เรื่องนี้น่าจะกระทบต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์โดยตรง
ประเด็นที่ 8 เพิ่มโทษผู้เจาะระบบ
สำหรับกรณีการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ เดิมกำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ร่างกฎหมายใหม่เพิ่มเพดานโทษเป็นจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท(เพิ่มขึ้น 4 เท่า)
ประเด็นที่ 9 ให้หน้าที่หน่วยใหม่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
ร่างกฎหมายนี้กำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานซึ่งมีชื่อว่า “สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)” เรียกโดยย่อว่า “สพธอ.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)” เรียกโดยย่อว่า “ETDA” เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีที
หน่วยงานนี้เพิ่งตั้งขึ้นเป็นทางการ ประกาศผ่าน “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิสก์ พ.ศ. 2554” เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 54 โดยเริ่มมีการโอนอำนาจหน้าที่และจัดทำระเบียบ สรรหาประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 54
ในร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่นี้ กำหนดให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) มีบทบาทเป็นฝ่ายเลขานุการของ “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ภายใต้ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับที่กำลังร่างนี้
นอกจากนี้ หากคดีใดที่ต้องการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดซึ่งอยู่ในต่างประเทศ จะเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ในร่างกฎหมายนี้กำหนดว่า พนักงานสอบสวนอาจร้องขอให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) เป็นผู้ประสานงานกลางให้ได้ข้อมูลมา
ประเด็นที่10 ตั้งคณะกรรมการ สัดส่วน 8 – 3 – 0 : รัฐตำรวจ-ผู้ทรงคุณวุฒิ-ประชาชน
ร่างกฎหมายนี้เพิ่มกลไก“คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ผู้ อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคลจากผู้มี ความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเงินการธนาคาร หรือสังคมศาสตร์จำนวนสามคน โดยให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
คณะกรรมการชุดนี้ ให้ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์กรมหาชน), สำนักงานกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (สังกัดกระทรวงไอซีที), สำนักคดีเทคโนโลยี (สังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม), และ กลุ่มงานตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี กองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี (บก.สสท.) (สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เป็นเลขานุการร่วมกัน
คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ออกระเบียบ ประกาศ ตามที่กำหนดในพ.ร.บ.นี้ และมีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหลักฐาน รวมถึง “ปฏิบัติการอื่นใด” เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ โดยให้ถือว่าคณะกรรมการและอนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
Comments
ส่วนตัวผมคิดว่ามาตั้งเว็บแบบนี้ ทาง ICT เขาคงไม่มาสนใจหรอกครับ
ดีไม่ดีเว็บอาจถูกปิดไปได้
แล้วกฏที่ออกมาทั้งหมดเนี่ยบอกตรงๆ ใช้ตาตุ่มคิดแล้วเขียนขึ้นมาป่าวครับ ?
ไม่ต้องมีคอมพิวเตอร์ดีกว่ามั้ง ถ้าเป็นแบบนี้ กลับไปยุคหินกันเถอะประชาชนคนไทย
เคยคิดที่จะถามประชาชนคนไทยกันบ้างมั้ย
คนที่คิด พรบ.นี้ สินคิดไปแล้ว (โง่สิ้นดี) ผมว่าประชาชนคนไทยบางคนยังมีความคิดที่จะแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ดีกว่าคนโง่ที่ออก พรบ.ฉบับนี้ เสียอีก
ลองให้ประชาชนออกความเห็นผ่านสื่อทีวีดูสิ
รับรองคนไทยทั้งประเทศ say no หมด
สุดท้ายควรแก้ปัญหาการโกงกินชาติบ้านเมืองไม่ดีกว่าเหรอ ประเทศไทยจะได้เจริญขึ้น
จำกัดเสรีภาพเกินไปแระ
This is Thailand NOT North Korean
ถ้าคิดได้แค่นี้ยุบict ไปเลยดีกว่าเปลืองภาษีประชาชนออกไปเลยครับสงสารประเทศไทย
ไอสันขวาน ห้ามกด retweet บ้าไปแล้ว
จะกด retweet ต้องทำสัญญาแปะอากรสแตมป์ด้วยมั้ย??
เอาสมองส่วนมาคิด
สถานะการบ้านเมืองก็ไม่ดี ข้าวของก็แพง เอาเวลาไปพัฒนาประเทศจะดีกว่า อย่างเช่น ทำอย่างไร
ไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน จากข้าวของราคาแพง ทำอย่างไร สามจังหวัดชายแดนใต้ จะได้สงบสุข
ถ้าแก้ปัญหาที่ว่ามานี้ได้ละก็คนไทยทั้งประเทศจะชื่นชมคุณมาก
แต่ถ้าคุณคิดว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญกับประชาชนแล้วละก็ เชิญท่าน ทำ พ.ร.บ คอม ต่อ
รอดูสิว่าจะมีไทยทั้งประเทศชื่นชม หรือว่า .......ไม่เห็นด้วย
ICTเห็นแก่ตัวมากกว่าส่วนรวม
ผมนายเดชากิจ จินดาพงษ์ ขอลงชื่อด้วยครับ
ผมว่าประเด็นที่ 3 ควรเก็บไว้นะครับ แต่ปรับให้ครอบครุมมากขึ้นมิใช่เฉพาะเด็ก และให้มีความชัดเจนมากขึ้นหากผู้นั้นไม่ได้โหลดเองแต่เป็นผลจากความไม่รู้ก็ควรตรวจสอบให้ชัดเจน แต่ผู้ที่ตั้งใจโหลดมาดูหรือเป็นผู้ที่ลงเองคง ปฏิเสธไม่ได้จิงมัยครับ
ประเด็นที่ 5 ก็เหมาะสมแล้วนะครับสำหรับโทษ เพราะสื่อทางคอมนั้นกว้างกว่าสื่อปกติ
ประเด็นที่ 7 ก็ควรเจะจงไปเลยครับว่าเรื่องลิขสิทธ์ ผมก็จะเห็นด้วย
ประเด็นที่ 8 ควรเพิ่มโทษให้แรงขึ้นนะครับ
ประเด็นที่ 10 ควรปรับให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางใดก็ทางหนึ่ง
ส่วนที่ไม่ได้เอ่ยถึงก็เอาออกไปเหอะ
เขียนซะเลิศหรู มันทำไม่ได้จริงหรอกครับ
ถึงทำได้จริง ก็ไม่เห็นด้วยครับ
ขอคัดค้านด้วยคน
(ส่วนเหตุผล มันเยอะเกินกว่าจะเอื้อนเอ่ย)
แบบนี้ ตัดเน็ตออกไปจากประเทศไทยเลย พี่น้อง แล้วก็ตัดพวก 3G แล้วหันมาใช้โทรศัพท์หมุนมือเหมือนเดิมเหอะ ให้ ICT นำร่องก่อนเลย.....
เห้อ ต่อไป ประเทศไทยคงย่ำอยู่กับก็ที่ในเมือใช้คอมแล้วอาจมีความผิด คงได้ดูแต่TV ฟังแต่คำโกหกของผู้มีอำนาจ และก็ดูแต่ละคร น้ำเน่า ไม่มี อะไรสร้างสรรค์ในสังคมดูแต่อะไรที่พวกคุณๆๆสร้างทำอย่างนี้เหมือน อยุดพัฒนา ประเทศ เอาเวลามาทำเรื่องนี้ เอาไปใช้แก้ปัญหาประเทศที่พวก คุณๆๆท่านๆ ทั้งหลาย สร้าง ไว้เถอะ ครับ ผม ด้วยความเคารพ
งั้นเมืองไทยก็ยกเลิกระบบinternetและ3G ไปเลยดีกว่า
เป็นเต่านี่แหละดีและ เห็นใจประชาชนทั่วไปที่ยากจนบ้าง เค้าจะเอาเงินที่ไหนไปซื้อซอฟแวร์ลิขสิทธ์มาใช้หละครับ
สิ้นหวังเสียแล้วประเทศไทยเจ้าเอย....
คนที่ออกกฎพวกนี้มามันต้องเล่นเน็ต,คอมไม่เป็นแน่ๆเลย หรือไม่ก็ตัวเองไม่มีความรู้ด้านนี้
เลยตั้งใจจะปิดทั้งหมด ออกกฎหมายปัญญาอ่อน ไม่พัฒนายังจะถ่วงความเจริญอีก
ถื่งที่สุดแล้วครับ (ตามภาษิตของจีน) ที่ว่า ที่สุดของที่สุด คืนสูสามัญ
ดังนั้น มี่สุดของความฉลาด คื่อโง่เขลา ที่สุดของความเจริญคื่อล้าหลัง
ที่สุดของพัฒนาคื่อถ่อยหลัง ประเทษไทยกำลังรวบรวมความเป็นที่สุดครับท่าน
เป็นอันว่า กฏหมายฉบับนี้ ทำให้คนใช้คอมพิวเตอร์ผิดตั้งแต่เปิดเครื่อง
ผู้ใดครอบครองไฟล์ลามกที่เกี่ยวกับเด็กมีความผิด
งั้น พ่อ..แม่เด็กจะเก็บรูปเด็กทารกตัวน้อยๆน่ารักน่ารัก
ตอนที่ไม่ใส่เสื้อผ้าไม่ได้สินะ....ผิดกฏหมาย
ไหนจะพวกโฆษณาแป้งเด็กอีก พรบ. นี้ ก็ไม่ให้ทำ
ปวดตับจริงๆ
ไม่ไหวเลย ถ้าจะใช้จริงคงแย่มากๆๆเลย
ปัญญาอ่อนว่างจัดหรือไง
ครวยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย
พ่องตายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย
ออกกฏหมายที่รัฐบาลยังทำไม่ได้ Windows เถื่อนรัฐบาลยังใช้อยู่เลย มืงออกกฏหมายน้มาเมื่อไร กุจะเมลไปMicrosoft ดูซิถ้าเรื่องนี้แดงขึ้นมาประเทศไทยจะเอาหน้าไว้ที่ไหน เรื่องลิขสิทธ์เนี่ย มืงคิดจะจับ เอาปัญญาสมองหมาปัญญาควายไปจับพวกขายแผ่นตามตลาดนัด คลองถม ให้หมดก่อนไปกุเห็นมีทุกตลาดนัด ทั้งประเทศ ถ้าจะเอาเรื่องลิขสิทธ์เอาอย่างนี้ให้ได้ก่อนมั้ย ไอ้ชิบหายคนไหนเป็นคนคิดเนี่ย โหเค้าค้านกันทั้งประเทศ กุจะบ้าตาย(สมองน่ะ ไม่ได้มีไว้กั้นหู รึให้ผมขึ้นหรอกนะ) ยังไงก้อคิดมั่ง โตแล้ววว แก่จะเข้าโลงกันอยู่แล้ว เดี๋ยวตอนตายไม่มีใครไปเผาศพน่ะ อายเค้า
ปิดหู ปิดตา ปิดปาก มัดมือ
เฮ้อ ทำ....อะไรไม่ถามประชาชนเลย ถ้าคนไทยทั้งประเทศต้องมาเดือดร้อนเพราะกฏหมายที่คุณออกใหม่นี้ มันผู้นั้นที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศเดือดร้อน มันผู้นั้นต้องได้รับผลกรรมที่ก่อเอาไว้ :(
ยังเห็นที่ สำนักงาน เขตเขตนึง ยังใช้ windows ปลอมอยู่เลย....
สน เหี้ย อะไร พรบ คอม ไม่เคย ใช้ได้จริง อยู่ละ
ตั้งอะไรมาไม่คิด บ้านคุนใช้ windows แท้ป่ะคับ อยากรู้ ! ไปเสียชีวิตให้นอนรับประธานถอะครับ
โปรแกรม แท้ พวกคุณทำให้ผมดูทั่งองกรก่อนซิ แท้ให้หมด นะ คิดซิคิด หัวมีไม
ถ้ารู้ว่า พวกรัฐ มีสมองในการคิดแค่นี้ ปีหน้า กุจะลง ส.ส. ไอฟายเอ้ย
เรียกคืนคอมพิวเตอร์ หยุดให้บริการเน็ต ไม่ต้องมีคอมฯไม่ต้องมีเน็ต ไม่งั้นคนไทยติดคุกทั้งประเทศแน่ๆ
ถ้าผมเปิดให้ hack แบบแกล้งเปิดช่องโหว่เช่นไม่มี password คน hack นี่ผิดปะ ในฐานะที่เป็น programer ควรจะแก้ไขเองถ้าโง่ให้ hack ได้นี่ก็สมควรนะ
ลองทำประชามติก่อนดีไหมครับ
แต่ผมว่าน่าจะมีคนเห็นด้วยไม่เกิน10% เพราะถ้าจะจับจริงๆคงต้องจับคนที่ใช้คอมกว่าครึ่งประเทศ เพราะไม่มีใครเค้าใช้วินโดว์+โปรแกรม ลิขสิทธิ์กันหรอก กำ หน่วยงานราชการบางที่ก็ใช้แผ่นก๊อป ลงอ่าแหละ ไปลงมาเองกะมือ
ไม่เห็นด้วยขั้นรุนแรง ทำแบบนี้เลิกพัฒนาอินเตอร์เนตเถอะครับ ยุบไปเลย ระบบ อินเตอร์เนต WiFi 3G 4G ของคุณน่ะ หรือกลัวไม่ได้เงินภาษีประชาชนครับ โห คิดได้ไง สมองควายอะ
คุณคงทราบกันดีแล้วใช่หรือไม่ว่า
1.เว็บไซต์ประเภทค้นหาข้อมูลระดับโลกนั่นแหล่ะตัวการทำให้ล่วงรู้ข้อมูลของทุก ๆ คนไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม, รู้ข้อมูลเกือบทุกอย่าง, ถ้าใส่โคดการค้นหาก็เหมือนไปแฮกข้อมูลออกมาเลยทีเดียว.. (เรื่องนี้คงไม่ต้องสอนมีให้ดูข้อมูลทั่วไปหมด) เพราะคนเสพสื่อเหล่านี้โดยรู้และไม่รู้ เวลาเข้าไปเป็นผู้ใช้เว็บไซต์ต่าง ๆ ก็ไม่เห็นจะมีใครเข้าไปอ่านกฎ กติกา กฎหมาย (ยิ่งกฎหมายระดับสหพันธรัฐ)...บองบางประเทศ ใครจะรู้ จะรู้ก็ต่อเมื่อทำความผิดไปแล้ว..ถึงไม่มีคู่กรณีก็ต้องมีความผิดตามกฎหมาย หรือ พรบ.. บางประเทศเขาบล๊อคเว็บไซต์ประเภทสังคมเน็ตเวิคก็มีเพราะเขาไม่อยากให้คนในประเทศเขาเป็นเป้า เป็นคนทำผิดกฎหมาย .. เว็บไซต์ชั้นนำหลายจากหลายประเทศเขียนข้อมูลด้านกฎหมายเกี่ยวข้องการใช้ ฯลฯ ตีความแล้วเข้าใจยาก..
อยากจะฝากว่า คนใช้เน็ค กับคนเขียนกฎหมาย ไม่ได้เป็นคนคนเดียวกัน.. ต้องร่วมกัน.. ถ้าเป็นไปได้ให้คนที่เป็นประชาชน ฯลฯ ได้ร่วมร่างกฎหมายก็น่าจะดี.. เฮอ... ขนาดกฎหมายทั่วไป ก็ยังไม่ได้เรื่องเลย..
2.โทรศัพท์มือถือบางยี่ห้อทันทีที่คุณเปิดเครื่องเขาก็ทราบพิกัดคุณแล้ว..
ถ้าจะร่าง พรบ.ให้ประชาชนช่วยร่างก็น่าจะดีนะ.. ถามคนส่วนใหญ่เขาบ้างว่าเขาต้องการอะไร ไม่ใช่ พรบ.ออกมาแล้วก็จบตรงนั้นประชาชนส่วนใหญ่เขาไม่ทราบ ไม่เข้าใจกฎหมาย.. อีกอย่างเทคโนโลยีมันเร็วมาก..
การแสดงความคิดเห็นนี้คงเป็นประโยชน์ ... ด้วยความเคารพ.. และที่เขียนแสดงความคิดเห็นเนี่ยผิดกฎหมายกันเปล่าก็ยังไม่รู้เลย.. เพราะการตีความกฎหมายในแต่ละท้องถิ่น..ไม่เหมือนกัน...
ของนิยามคำว่า internet หน่อย
internet ควรเข้าถึงจะโดยไม่มีการจำกัดสิทธิ์
ผู้บริโภคควรแยกแยะ ว่าไหนดีไหนไม่ดี
วันๆคิดแต่จะหารายได้ให้กับผู้ถือกฎหมาย...
งามใส้555 ไม่มีใครชมเลย
" ถ้ามีการกระทำความผิด ผู้ให้บริการต้องรับโทษ "
อันนี้น่าสนใจครับ
TOT , 3BB , Dtac , AIS , TRUE และรายอื่นๆที่ผมยังไม่ทราบ ที่กล่าวมานี้เป็นผู้ให้บริการใหญ่โดยตรงใช่ไหมครับ ก่อนที่บรรดา หน่วยงาน หอพัก โรงแรม และอื่นๆ จะเอาสัญญาณไปให้บริการต่อ
ถ้ารายย่อยโดน รายใหญ่ก็ต้องโดนด้วย เพราะรายใหญ่ยอมให้รายย่อยเอาสัญญาณไปใช้
ผมว่า ISP ต้องโดนฟ้องทุกวันอ่ะนะ
การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาว์นโหลดมาพักไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติหรือที่ เรียกว่า “แคช” (cache เป็น เทคนิคที่ช่วยให้เรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเก็บข้อมูลที่เคยเรียกดูแล้วไว้ในเครื่อง เพื่อให้การดูครั้งต่อไป ไม่ต้องโหลดซ้ำ) ซึ่งผู้ใช้อาจมิได้มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว
ผมยอม -*- เปิดคอมมันก็ แคชละ กูจะทำไงวะ -*-ไม่ต้องทำไรกันแล้ว กฎหมายไร้สาระชิบหาย...
โยนคอมทิ้ง ส่งจดหมายแทน
ร่างฉบับวันที่ 20 เม.ย. 2554
http://www.scribd.com/doc/53670577/
สัดส่วนคณะกรรมการแย่กว่าเดิม เพิ่มทหารเข้ามา เพิ่มตำรวจเข้ามามากขึ้น
votes ไปก็เท่านั้น ยังไง มันก็ยังจะใช้กฏหมายที่มันร่างมาใหม่อยู่ดี มันไม่ฟังเสียงส่วนมากหรอก
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับ พรบ ฉบับนี้เหมือนกันครับ ยุคนี้มันเป็นยุคของคอมพิวเตอร์ อีกอย่างเคยถามประชาชนสักคำไหมว่าต้องการหรือไม่ต้องการ ไม่ใช่มาตัดสินใจกันเอง แถมคนที่ร่าง พรบ ฉบับนี้ไม่รุ้ว่าทานอะไรเป็นอาหารครับ ไม่ก็เป็นพวกไม่เคยสัมผัสกับเทคโนโลยี เปิดคอมเป็นหรือป่าวก้อยัง พรบ ฉบับนี้ ให้กับประชาชนที่ใช้คอมฯทั้งประเทศงั้นหรอครับ ผมว่าน่าจะเอาเวลาไปพัฒนาระบบดีกว่านะครับ ซึ่งผมขอบอกว่าระบบ Internet ของไทยนี่ห่วยมากๆครับ(ก็อย่างว่านะประเทศโลกที่ 3) ความเร็วก็น้อย(เต่าขาเจ็บยังเดินเร็วกว่า) เท่าที่ผมทราบมาต่างประเทศเค้าใช้ net 10Gb แล้วครับ เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้ไฟเบอร์เชื่อมต่อ ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ae มีการพัฒนาบน (1,250 MB/s) สายสัญญาณเชื่อมต่อแบบ UTP ตามมาตรฐาน IEEE 802.3an ตอนนี้พัฒนาที่ 40 Gb และ 100Gb แต่ระยะทางสั้นๆ ครับ
ส่วนไร้สาย เป็นเทคโนโลยี WiMax 75 Mbps ครอบคลุมพื้นที่ 50 กิโลเมตร IEEE_802.16 แล้วประเทศไทยเราล่ะ ?? ยังเป็นแค่ Mbps พูดแล้วก้อเศร้า
ทำไมพวกคุณไม่ลองหันมองประเทศที่เค้าเจริญกันบ้างแล้วล่ะครับ แล้วดูประเทศไทยเราสิจะกลายเป็นไดโนเสาร์เต่าล้านปีอยู่แล้ว เรื่องที่ควรแก้ไม่แก้ เรื่องที่มันไม่ควรแก้ทำแก้ซะงั้น
เว็บไซว์หรือคอมล่ะครับเนี่ย ถ้าคอมพิวเตอร์แล้วเค้าจะตรวจยังไงหว่า ...
ถ้าหากออกกฏแบบนี้แล้วถามประชาชนบ้างใหมครับว่าเค้าจะหาไรทำกันอ่ะครับ แล้วจะมีอินเตอร์เน็ตไปเพื่อนอะไรครับขอถามหน่อย
ไปกินหญ้าแทนควายไหม๊ พี่..น้อง
ไม่อยากจะด่าเลยะนครับ
พวกกระทรวงมันหน้าด้านกันอยู่แล้ว เห็นๆ เหอะๆ
คุณกำลังจะจำกัด สิทธิเสรีภาพประชาชนมากขึ้นโดยใช้กฏหมายบังหน้าว่างั้น
แล้วไอ้ละครเรยาอีกเห้อ ไปตัดออกทำไม คนคิดเขาคิดมา ท่านไปช่วยเขาแต่งละครด้วยสิ ไปทำธุรกิจบ้างสิ ดีกว่ามานั่งตากแอร์ในสภาแล้วไปตำหนิ คนออกไปตากแดดตากลมตากฝน ว่า ไม่เหมาะไม่ดี
เออลองไปดู ขนาดน้ำท่วมมันยังไม่กล้าลงมาจากเรือเลย เฮ้อ สส ภาคใต้กลัวน้ำกับเขาด้วยหรือนี่
ไม่ไหวครับ
เชื่อผมไหม จะมีใครสักกี่คนที่ ใช้ windows แท้
แล้วก็ ถ้าออก กฏหมายมาแบบนี้ น่าจะ ปิด 4shared mediafire ไป เลยครับ
คิดได้ไง เนี่ย
>> kak <<