อัปเกรดพ.ร.บ.คอมฯ เพิ่มโทษผู้ดูแลระบบ ก๊อปไฟล์โหลดบิทเสี่ยงคุก

อัปเกรดพ.ร.บ.คอมฯ เพิ่มโทษผู้ดูแลระบบ ก๊อปไฟล์โหลดบิทเสี่ยงคุก

เมื่อ 7 เม.ย. 2554
ไฟล์แนบขนาดไฟล์
ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับไอซีทีวันที่ 28 มีนาคม 255449.35 KB

เมื่อวันจันทร์ที่28 มี.ค. 54 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จัด ประชุมรับฟังและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมดังกล่าว มีการแจกเอกสารร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กระทรวงไอซีทีจัดทำขึ้นด้วย

ร่างกฎหมายนี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ยกเลิกพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 ทั้ง ฉบับ และให้ใช้ร่างฉบับใหม่นี้แทน อย่างไรก็ดี โครงสร้างของเนื้อหากฎหมายมีลักษณะคล้ายคลึงฉบับเดิม โดยมีสาระสำคัญที่ต่างไป ดังนี้

 

ประเด็นที่1 เพิ่มนิยาม “ผู้ดูแลระบบ”

มาตรา4 เพิ่ม นิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” หมายความว่า “ผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ผู้อื่นในการเข้าสู่อิน เทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น”

ใน กฎหมายเดิมมีการกำหนดโทษของ “ผู้ให้บริการ” ซึ่งหมายถึงผู้ที่ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า การพยายามเอาผิดผู้ให้บริการซึ่งถือเป็น “ตัวกลาง” ในการสื่อสาร จะส่งผลต่อความหวาดกลัวและทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง อีกทั้งในแง่ของกฎหมายคำว่าผู้ให้บริการก็ตีความได้อย่างกว้างขวาง คือแทบจะทุกขั้นตอนที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็ล้วนเป็น ผู้ให้บริการทั้งสิ้น

สำหรับ ร่างฉบับใหม่ที่เพิ่มนิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” ขึ้นมานี้ อาจหมายความถึงเจ้าของเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ แอดมินระบบเครือข่าย แอดมินฐานข้อมูล ผู้ดูแลเว็บบอร์ด บรรณาธิการเนื้อหาเว็บ เจ้าของบล็อก ขณะที่ “ผู้ให้บริการ” อาจหมายความถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

ตาม ร่างกฎหมายนี้ ตัวกลางต้องรับโทษเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด เช่น หากมีการเขียนข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ผู้ดูแลระบบและผู้ให้บริการที่จงใจหรือยินยอมมีความผิดทางอาญาเท่ากับผู้ที่ กระทำความผิด และสำหรับความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่นการเจาะระบบ การดักข้อมูล หากผู้กระทำนั้นเป็นผู้ดูแลระบบเสียเอง จะมีโทษ1.5 เท่าของอัตราโทษที่กำหนดกับคนทั่วไป

ประเด็นที่ 2 คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี 

สิ่งใหม่ในกฎหมายนี้ คือมีมาตรา16 ที่ เพิ่มมาว่า “ผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ทั้งนี้ การทำสำเนาคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการคัดลอกไฟล์ การดาว์นโหลดไฟล์จากเว็บไซต์ต่างๆ มาตรานี้อาจมีไว้ใช้เอาผิดกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หรือเพลง แต่แนวทางการเขียนเช่นนี้อาจกระทบไปถึงการแบ็กอัปข้อมูล การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาว์นโหลดมาพักไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติหรือที่ เรียกว่า “แคช” (cache เป็น เทคนิคที่ช่วยให้เรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเก็บข้อมูลที่เคยเรียกดูแล้วไว้ในเครื่อง เพื่อให้การดูครั้งต่อไป ไม่ต้องโหลดซ้ำ) ซึ่งผู้ใช้อาจมิได้มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว

ประเด็นที่ 3 มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด

ในมาตรา25 “ผู้ ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือ เยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

เป็นครั้งแรกที่มีการระบุขอบเขตเรื่องลามกเด็กหรือเยาวชนโดยเฉพาะขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือว่า ลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้นหมายความอย่างไร นอกจากนี้ มาตราดังกล่าวยังเป็นการเอาผิดที่ผู้บริโภค ซึ่งมีความน่ากังวลว่า การชี้วัดที่ “การครอบครอง” อาจทำให้เกิดการเอาผิดที่ไม่เป็นธรรม เพราะธรรมชาติการเข้าเว็บทั่วไป ผู้ใช้ย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าการเข้าชมแต่ละครั้งดาว์นโหลดไฟล์ใดมาโดย อัตโนมัติบ้าง และหากแม้คอมพิวเตอร์ถูกตรวจแล้วพบว่ามีไฟล์โป๊เด็ก ก็ไม่อาจหมายความได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ดูผู้ชม

ประเด็นที่ 4 ยังเอาผิดกับเนื้อหา

มาตรา24 (1) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน

เนื้อความข้างต้น เป็นการรวมเอาข้อความในมาตรา14 (1) และ (2) ของ กฎหมายปัจจุบันมารวมกัน ทั้งนี้ หากย้อนไปถึงเจตนารมณ์ดั้งเดิมก่อนจะเป็นข้อความดังที่เห็น มาจากความพยายามเอาผิดกรณีการทำหน้าเว็บเลียนแบบให้เข้าใจว่าเป็นหน้าเว็บ จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล (phishing) จึง เขียนกฎหมายออกมาว่า การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมถือเป็นความผิด แต่เมื่อแนวคิดนี้มาอยู่ในมือนักกฎหมายและเจ้าหน้าที่ ได้ตีความคำว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม” เสียใหม่ กลายเป็นเรื่องการเขียนเนื้อหาอันเป็นเท็จ และนำไปใช้เอาผิดฟ้องร้องกันในเรื่องการหมิ่นประมาท ความเข้าใจผิดนี้ยังดำรงอยู่และต่อเนื่องมาถึงร่างนี้ซึ่งได้ปรับถ้อยคำใหม่ และกำกับด้วยความน่าจะเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่น ตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกสูงสุด ห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หาก พิจารณาจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินคดีคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา ปัญหานี้ก่อให้เกิดการเอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะหลายกรณี รัฐไทยเป็นฝ่ายครอบครองการนิยามความจริง ปกปิดความจริง ซึ่งย่อมส่งผลให้คนหันไปแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตแทน อันอาจถูกตีความได้ว่ากระทบต่อความไม่มั่นคงของ “รัฐบาล” ข้อความกฎหมายลักษณะนี้ยังขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิด เห็นโดยไม่จำเป็น

ประเด็นที่5 ดูหมิ่น ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

มาตรา26 ผู้ ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่ผ่านมามีความพยายามฟ้องคดีหมิ่นประมาทซึ่งกันและกันโดยใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่การกำหนดข้อหายังไม่มีมาตราใดในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะใช้ได้อย่างตรงประเด็น มีเพียงมาตรา 14 (1) ที่ระบุเรื่องข้อมูลอันเป็นเท็จดังที่กล่าวมาแล้ว และมาตรา 16 ว่าด้วยภาพตัดต่อ ในร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้สร้างความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้งข้อหาการดูหมิ่นต่อกันได้ง่ายขึ้นข้อสังเกตคือ ความผิดตามร่างฉบับใหม่นี้กำหนดให้การดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทมีโทษจำคุกสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ทั้งที่การหมิ่นประมาทในกรณีปกติ ตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

ประเด็นที่6 ส่งสแปม ต้องเปิดช่องให้เลิกรับบริการ

มาตรา21 ผู้ ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ทางการค้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ และโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากที่กฎหมายเดิมกำหนดเพียงว่า การส่งจดหมายรบกวน หากเป็นการส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ถือว่าผิดกฎหมาย ในร่างฉบับใหม่แก้ไขว่า หากการส่งข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ บอกรับได้ ทั้งนี้อัตราโทษลดลงจากเดิมที่กำหนดโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาเป็นจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ ยังต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากการส่งข้อมูลดังกล่าว แม้จะเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็จะไม่ผิดตามร่างฉบับใหม่นี้

ประเด็นที่7 เก็บโปรแกรมทะลุทะลวงไว้ คุกหนึ่งปี

มาตรา23 ผู้ ใดผลิต จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ มีไว้ หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความ ผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

น่าสังเกตว่า เพียงแค่ทำซ้ำ หรือมีไว้ซึ่งโปรแกรมที่ใช้เจาะระบบ การก๊อปปี้ดาวน์โหลดไฟล์อย่างทอร์เรนท์ การดักข้อมูล การก่อกวนระบบ ก็มีความผิดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เรื่องนี้น่าจะกระทบต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์โดยตรง

ประเด็นที่ 8 เพิ่มโทษผู้เจาะระบบ

สำหรับกรณีการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ เดิมกำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ร่างกฎหมายใหม่เพิ่มเพดานโทษเป็นจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท(เพิ่มขึ้น 4 เท่า)

ประเด็นที่ 9 ให้หน้าที่หน่วยใหม่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

ร่างกฎหมายนี้กำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานซึ่งมีชื่อว่า “สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)” เรียกโดยย่อว่า “สพธอ.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)” เรียกโดยย่อว่า “ETDA” เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีที

หน่วยงานนี้เพิ่งตั้งขึ้นเป็นทางการ ประกาศผ่าน “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิสก์ พ.ศ. 2554” เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 54 โดยเริ่มมีการโอนอำนาจหน้าที่และจัดทำระเบียบ สรรหาประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มี.. 54

ในร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่นี้ กำหนดให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) มีบทบาทเป็นฝ่ายเลขานุการของ “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ภายใต้ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับที่กำลังร่างนี้

นอกจากนี้ หากคดีใดที่ต้องการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดซึ่งอยู่ในต่างประเทศ จะเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ในร่างกฎหมายนี้กำหนดว่า พนักงานสอบสวนอาจร้องขอให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) เป็นผู้ประสานงานกลางให้ได้ข้อมูลมา

ประเด็นที่10 ตั้งคณะกรรมการ สัดส่วน 8 – 3 – 0 : รัฐตำรวจ-ผู้ทรงคุณวุฒิ-ประชาชน

ร่างกฎหมายนี้เพิ่มกลไก“คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ผู้ อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคลจากผู้มี ความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเงินการธนาคาร หรือสังคมศาสตร์จำนวนสามคน โดยให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี

คณะกรรมการชุดนี้ ให้ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์กรมหาชน), สำนักงานกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (สังกัดกระทรวงไอซีที), สำนักคดีเทคโนโลยี (สังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม), และ กลุ่มงานตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี กองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี (บก.สสท.) (สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เป็นเลขานุการร่วมกัน

คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ออกระเบียบ ประกาศ ตามที่กำหนดในพ.ร.บ.นี้ และมีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหลักฐาน รวมถึง “ปฏิบัติการอื่นใด” เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ โดยให้ถือว่าคณะกรรมการและอนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 14, 15 และ 16 ใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550

ตัดทิ้งทั้งหมด
95% (5898 votes)
คงไว้เหมือนเดิม
3% (159 votes)
แก้ไขบางส่วน (โปรดอธิบาย)
2% (152 votes)
คนโหวตทั้งหมด: 6211 คน
การโหวตแต่ละครั้งสามารถโหวตซ้ำได้หลังจากผ่านไป 5 นาทีแล้ว

Comments

ผู้ออกกฎหมายกรุณาฟังเสียงส่วนใหญ่ด้วยครับ

 

ไม่เห็นด้วยกับ พรบ ฉบับนี้ครับ สมควรพิจารณาแก้ไขข้อกฏหมายใหม่ทั้งหมด กฏหมายที่ร่างออกมาดูกว้างเกินไปตอบโจทธ์ไม่ชัดเจนควรจำกัดขอบเขตของผู้กระทำผิด ไม่ใช่ว่าเขียนขึ้นมาเพื่อเหวี่ยงแห เพื่อให้ผ่านตัวชี้วัดว่าตัวเองมีผลงานโดนไม่สนว่า ใครจะเป็นอะไร ใครจะเป็นยังไง ขอตัวเองมีผลงาน ได้เป็น รศ ศ หรือ ชำนาญการ เชียวชาญเป็นพอ

ปล. แล้วที่เขียนไปเค้าจะมาสนใจกันไหมเนี่ย เดี่ยวก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้คนดูบอร์ดไม่ใช่หัวหน้า เป็นแค่ลูกน้อง หัวหน้าไม่ถามลูกน้องก็ไม่ตอบ/บอก แล้วก็เลยตามเลยผ่านกรรมการแล้วเป็นพอ ร่างนี้ก็คลอดออกมา แล้วก็ ...... เจริญล่ะ Thailand Only

คนที่เห็นชอบกับกฎหมายนี้คือผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็นครับ

ผมว่าควรยุบ ICT ไปซะเลยดีกว่า กฏหมายห่วยแบบนี้มึงร่างมาได้ไง 

 



ประเด็นที่1

งั้นถ้าผู้ดูแลไม่อยู่วันสองวัน แล้วสมาชิกเว็บบอร์ดแกล้งผู้ดูแลโดยการโพสแบบพวกนี้ ผู้ดูแลมาดูไม่ทัน ก็ผิดเหรอ

 

 



ประเด็นที่ 

เห็นด้วยกับเรปบน บนนู้นเลย ถ้านักเรียนต้องหาข้อมูลทางเน็ต แล้วคัดลอกมา ผิดกฎหมายเหรอครับ ยังไม่ทันไปขออนุญาติเจ้าของเว็บเลย

 

จะบอกว่าการโหลดบิตนี่ ร้ายแรงกว่าค้ายาบ้าเหรอ

ผิดกันทั้งประเทศเลยมั้ง ไม่มีใครถูก

คิดว่าเรื่องเด็กหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตมาส่งอาจารย์ คงไม่มีความผิดอะไรหรอกค่ะ เพราะพวกรายงานเวลาเขียนมันต้องลงแหล่งอ้างอิงที่มีของข้อมูลอยู่แล้ว ประเด็นนี้อย่าเอามาถกกันดีกว่า แต่ที่เขียนนี่ไม่ได้เห็นด้วยกับ พรบ นี้หรอกนะคะ เพียงแต่คิดว่า จะถกกันแล้วนั้น เอาเหตุผลที่เน้นๆมาถกกันจะดีกว่าการประชดประชันค่ะ เพราะประชดกันไปเค้าก็เอาเหตุผลมาเถียงอยู่ดี ถ้าจะค้าน ก็ค้านแบบตรงประเด็นแบบหลักการและเหตุผลกันเลยจะดีกว่า

คิดว่าเรื่องเด็กหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตมาส่งอาจารย์ คงไม่มีความผิดอะไรหรอกค่ะ เพราะพวกรายงานเวลาเขียนมันต้องลงแหล่งอ้างอิงที่มีของข้อมูลอยู่แล้ว ประเด็นนี้อย่าเอามาถกกันดีกว่า แต่ที่เขียนนี่ไม่ได้เห็นด้วยกับ พรบ นี้หรอกนะคะ เพียงแต่คิดว่า จะถกกันแล้วนั้น เอาเหตุผลที่เน้นๆมาถกกันจะดีกว่าการประชดประชันค่ะ เพราะประชดกันไปเค้าก็เอาเหตุผลมาเถียงอยู่ดี ถ้าจะค้าน ก็ค้านแบบตรงประเด็นแบบหลักการและเหตุผลกันเลยจะดีกว่า

อย่ามาเนียน ICT กูรู้ พวกมึงก็ใช้ของก้อบ

 

ลูกหลานมึงกูรู้นา ยังเล่นแผ่นก้อบเลย

 

 ชอบหาประโยชน์ ให้ตัวเอง โยนความผิดให้อื่น

จากเด็กใต้ครับ บ้านผมน้ำท่วมหนักมากเพราะนักการเมืองเปรถมีอำนาบตัดไม้บนเขาจนหมด ทำไหมไม่เขียน กฎหมายห้ามต้นไม้บ้างละครับ ข่าวก็มีเรื่องน้ำท่วมภาคใต้ เฉพาะอำเภอชัยบุรีโดนน้ำจากเขาพนมที่ไอ้พวกตัดไม้มันทำลายป่า จนน้ำท่วมที่บ้านผมหนักมากข้าวของเสียหายหมดทุกบ้าน ผมว่ามาเขียนกฎหมายเรื่องการตัดไม้ทำลายป่าดีกว่าไหมละ ใครตัดติดคุกตลอดชีวิตและมีโทษประหารด้วย ดีกว่ามาเขียนกฎหมายเรื่องการใช้เน็ต

แล้วจะมี 3G หรือ Hi Speed Internet ไปทำอะไรครับ

ถ้าเราไม่ได้เอาไว้โหลดไฟล์ใหญ่ๆ หรือโหลดบิท หรือจะบอกว่าเอาไว้โหลดพวก Content ผ่านเวปทั่วไปเฉยๆ อยากให้มองกันถึงประโยชน์จาก Internet จริงๆด้วยนะครับ สังคมแห่งการแบ่งปันถ้ารู้จักใช้ ประโยชน์เยอะมากนะครับ

อีกอย่างทำมัยไม่ไปดูแลเรื่องราคาของ Software หรือราคาของแผ่นหนังล่ะครับ ถ้าของถูกลิขสิทธิ์ราคาไม่สูงผมว่าคนทุกคนอยากช่วยสนับสนุนอยู่แล้วแหล่ะครับ

อย่ากลัวแต่เรื่องฟ้องร้องลิขสิทธิ์ของต่างชาติอย่างเดียวสิ เพื่อให้ต่างชาติขายของราคาแพงๆกับคนไทย แต่ไม่เคยดูแลเรื่องราคาให้กับประชาชนเลยครับ เรื่องลิขสิทธิ์กับเรื่องราคาควรจะ Balance ด้วยนะครับ

 

ที่นาผม มีวัว 7 ตัว ควาย 4 ตัว หาคนเลี้ยงไม่ค่อยได้ จะใช้ 2 ตัวที่คุณว่า ไปทำหน้าที่แทนได้ไหม ถ้ามันมีข้อห้ามหรือยกเว้นใดๆ อยากให้มันมีประโยชน์เพี่อประชาชนและพัฒนาประเทศชาติได้ 

โอ๊ย ชอบบบบบบ กดไลคค์ค่า ;')

ผู้ให้บริการเน็ต adsl เตรียมปิดกิจการได้ ถ้าออกมาใช้ 5555

ผิดหวัง!

 

เด็กแว๊น ตำรวจยังไม่กล้าจับ

ตำรวจจับมอไซไม่ใส่หมวกที่ไปซื้อกับข้าว

สังคมไทย มีได้แค่นี้จริงๆ

Windows ของคอมพิวเตอร์ โรงเรียน ชื่อดังย่านพัฒนาการ ยังเป็นของปลอม ผมขอยืนยันนั่งยันนอนยัน

สัดส่วน 8 – 3 – 0 : รัฐตำรวจ-ผู้ทรงคุณวุฒิ-ประชาชน

ประชาชน 0 นี่หรือระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอะครับ

แล้วสมมุด ICT จะปิดเวปโป๊ เค้าก้ต้องเปิดเข้าไปดูว่ามันโป๊จริงก่อนใช่ปะเค้าก็มีไฟล์เกบไว้ในแคชแล้วไม่ใช่หรอ

เห็นด้วย โรงเรียนยังโหลดบิตกันไม่หายเลย

เห็นด้วย โรงเรียนยังโหลดบิตกันไม่หายเลย

กฎหมาย 2 มาตรฐาน

ผมว่าจะออกความคิดเห็นแล้วนะ ความผิดถูกทำให้ยอมออกความคิดส่วนตัวได้ เท่าที่อ่านกระทู้มาเป็นความคิดของส่วนบุคคล ปากว่าตาขยิบคงไกลความจริง

 

 

 

โหลดบิท(อาจจะ)ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน

แต่มีโทษความผิดร้ายแรงยิ่งกว่ายาเสพติดที่ทำลายชาติทำลายผู้คนเนี่ยนะ

เจริญล่ะกฎหมายไทย

ว่างั้นแระ กรรมจริงๆ

โทษนะครับ ผมเห็นหลายกระทรวง หลายหน่วยงาน ใช้ วินโดว์เถื่อนอยู่เลยครับ  โปรแกรมเถื่อนใช้ทุกสำนักงาน ครับ ลองไปเปิดดูสิ ผมคิดว่า  มันบีบสิทธิเสรีภาพ มาก..........เกินไปกว่าที่ควร

ผมกำลังนั่งนึกอยู่ไอ้ตอนคนที่พิมกฏหมายลงโปรแกรมเวิร์ด  มันได้ใช้ โปรแกรมแท้รึเปล่า?

กด Like +10 เลย

หลายๆกระทรวงยังแพ้ร้านไอติมสเว็นเส้นอะ

(ตอนท่านจ่ายเงินที่สเว็นเส้นแต่ละสาขาท่านลองสังเกตุดูดีๆนะครับ ตรงกรอบหน้าจอของ พนง.คิดเงิน จะมีสติ๊กเก้อที่ระบุว่าเป็นวินโดว์แท้อยู่ ลองไปดูได้)

เล่นคอมหรือทำผิดทางอาญานิ -_-"

ผมว่าเค้ากำลังใช้ Open office ส่วนอื่นๆไม่กล้าออกความคิดเห็นครับ 

เเล้วการเซฟเเคชนี่มันเป็นการ "สำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ" ด้วยหรือ? เเละมันเป็ร "โดยประการน่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น"ยังไง

อธิบายหน่อยครับ งงจังเลย

การเซพแคทนี่มันเป็นแบบไหนครับ ขอนิยามด้วยครับ ผมไม่เข้าใจจริงๆ

 

สมมตินะสมมติ ว่าเราเข้าเว็บไซต์ซักเว็บนึง หน้าเว็บยาวมาก ทีนี้เราเปิดเข้าไปดูข้อมูลที่เราอยากดู ซึ่งเป็นข้อมูลธรรมดาไม่ผิดอะไร แต่ไอ้เว็บนี้ดันมีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็กอยู่ข้างล่างที่เราไม่ได้เลื่อน scroll ลงไปดู แต่ computer ผู้ไม่รู้อิโน่อิเน่ของเราก็เก็บไฟล์นั้นมาเป็น cache ลงในเครื่องของเราในที่ที่เราไม่รู้(temp folder อะไรทำนองนี้) แค่นี้ก็อาจจะผิดตามมาตรา 25 แล้ว ซึ่งถ้าเกิดตำรวจมาขอค้นเครื่องคุณพอดีแล้วไฟล์ยังอยู่ใน cache ละ ตำรวจก็จะเจอไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก จำคุก 6 ปี ซวยเลย 

อันนี้สมมติต่อ แล้วเกิดซวยเข้าไปอีก ในเครื่องเราดันมี virus,trojan หรืออะไรก็ตามแต่อยู่ในเครื่อง แล้วมันดันหวังดีประสงค์ร้ายส่งไฟล์นั้นโดยใช้เมล์เราปลอมส่งออกไปทั่วอินเทอร์เน็ต อันนี้ก็ยิ่งแย่กันไปใหญ่ (แต่ case นี้อาจจะเกิดขึ้นยาก)

#น่ากลัวจัง#

จริงด้วย คอมเก็บไฟล์แคชไว้หมดเลย เราก็ยังไม่ได้ตั้งใจด้วย ทำไงดีๆ โดนเหรอ

ส่วนร...หรือองค์... เรื่องวินโดว์เถื่อนเป็นธรรมดาครับ ในส่วนใช้เป็นหลายสิบเครื่อง เสียที อัปที ไม่ใช่น้อยๆตัง ง่ายๆคือประหยัดงบประมาณของแผ่นดินครับ (ได้%ด้วยครับ)

เรื่องการเชพแคชผมไม่ทราบเเน่นอนครับ แต่ท่านคงทราบกว่าผมแน่นอน

ประเด็นที่สำคัญคือ การตั้งคณะกรรมการ 8-3-0 ถ้าผมเป็นกรรมการส่วนข้างมาก ผมคงชนะในการเล่นเปตองเกมนี้ ประชาชนสิ...0

นี้ละนะ มุ่งแต่จะพัฒนาประเทศ(ไม่เห็นจะมีอะไรๆพัฒนาขึ้นเลย)

แต่สิทธิเสรีภาพของประชาชนนับวันยิ่งหายไป

ผมคิดเหมือนหลายๆท่านนะครับ(โดยเฉพาะคุณเด็กใต้) ปัญหาที่มันใหญ่กว่านี้ทำไมไม่ไปแก้ไขให้ดีๆหละ

พวกคุณมัวมาร่างกฏหมายจำกัดสิทธิเสรีของประชาชน พวกคุณควรจะมองในหลายๆแง่ หลายๆมุมนะ

ว่าบางทีที่คุณ ร่าง พ.ร.บ. มาว่ามัน ผิดแต่มัน(อาจจะ)จำเป็นสำหรับใครหลายๆท่าน

สุดท้ายถ้าคุณคิดว่าที่ ร่าง พ.ร.บ. มานี้มันดีจริง คงไม่มีใครมาวิจารณ์ขนาดนี้หรอกครับ

ขอบคุณครับ

ถ้าจะเล่นแง่เอาผิดนะ ผิดมาตรา 16 เรื่องคัดลอกไฟล์กันได้ทั้งนั้นเลย

เข้าไปพวกเว็บฟังเพลงทั้งหลาย แค่กดฟัง มันก็คัดลอกเข้าเครื่องเราแล้ว ไม่ต้องแคชหรอก ยังไงถ้าจะให้คอมมันเล่นได้ ก็ต้องคัดลอกเข้าหน่วยความจำ แค่นี้ก็เอาผิดตามกฎหมายได้แล้ว เพราะเป็นการคัดลอกโดยมิชอบ เจ้าของไม่ได้อนุญาต และก็อ้างได้ว่าจะเกิดความเสียหาย เพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาที่เขามีเพื่อจำหน่ายหรือให้บริการ ถ้าจะหาเรื่อง มันผิดได้แน่ ๆ 

ในบางประเทศ มีการใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ ไปบุกจับกลุ่มสิทธิมนุษยชน อ้างว่ามีโปรแกรมเถื่อน เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ หนังละเมิดลิขสิทธิ์ แล้วก็ตรวจค้นข้อมูลของกลุ่มเคลื่อนไหวเหล่านี้ ยึดอุปกรณ์ ยึดคอม ดำเนินคดีกับนักสิทธิมนุษยชน ... หาช่องทางไง จัดการตรง ๆ ไม่ได้ เพราะการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิต่าง ๆ มันชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็มาหาช่องเล่นงานแบบนี้

ออกกฏหมายใหม่มาเพื่อตัวเองทั้งนั้น กะปิดหูปิดตาประชาชน กลัวจะมีคนเข้าไปเจาะหาความชั่วที่ปิดไม่มิดหรือไงครับ ไม่มีปัญญา ป้องกันโดยหาคนเก่งไปปกป้อง แต่กลับแสดงความโง่เขลาละเมิดสิทธิเสรีภาพ แทนที่จะหาคนเก่งไปป้องกันในกระทรวง เหมือนอย่างต่างประเทศเขาทำ กลับแสดง ความกลัว การละเมิดเช่นนี้ จะทำให้ประเทสล้าหลังเข้าไปอีกหลายขุม ยอมรับความจริงเถอะ ยังไงคนโง่เขาไร้ปัญญา หวงอำนาจ ขาดคุณธรรมอย่างพวก นักปกครอง ปัจจุบัน ก็แพ้พนาศ ย่อยยับ ออกได้ก้ออกไปดถอะเด๋วต่อไป พรบ ฉบับบนี้ คงถูกเผาทิ้งเป็นแน่ ยังไงซะก็ไม่มีทางชนะ

ผมว่า นะคงต้องใช้ Linux หรือ ไม่ ก็ Mac ถ้า องค์กรรัฐ ทำ ทุก องค์กร ผมก็ จะ ทำ เอา ดิ รัฐบาล กล้า ทำ ไหม



ผม ทำงานร้านคอม มา เน้น รับงานเกี่ยวกับ องค์ กรรัฐ โรงเรียน อบต. แมร่ง ไม่เห็นมีที่ไหนบอกให้ลง windows ของแท้เลย ซัก ที่ Ghost เอาทั้งนั้น

แล้วยังงี้ จะออกกฏหมาย แบบนี้ คุณก็ คงต้องเปลี่ยน OS ทั้ง ประเทศแล้ว ละซินะ

เรื่องโหลดบิต ผมคิดว่าถ้าคุณเป็นเจ้าของลิขสิทธ์ แล้วคุณแจ้งให้ทางเวปทราบว่าไม่ต้องการให้ปล่อยไฟล์ของคุณ เค้าก็คงทำตามที่คุณบอกอยุ่แล้วละคับ(เวปที่ผมLoadอยู่เค้าก็ทำอย่างนี้นะ

ของลิขสิทธ์ ถามจิงเหอะ window 7 แมร่งเช็คราคาบ้างป่าว ว่ะเด็กนักเรียนเค้าจะมีปัญญา ซื้อไหม

แมร่งเป็นพัน แล้ว office อีก ละคับ

 



Windows 7 Home Premium 32&64 bit 

ราคา : 3,500 ฿ 

^

^

แค่ home นะเนี๊ย

ถ้าเด็กก็ต้องเสียตังค์ต้องเยอะแยะแระ เสียเครื่องแล้วยังจะต้องเสียค่าวินโดว์ เด็กก็ตอ้งหาถูกที่สุด ก็ต้องโหลดอยู่ดีแหละ ฟรี ผมเห็นด้วย แพงๆ ทั้งงั้น

jeremy's picture

เตรียมปิดประเทศแล้วล่ะคับ

แม้ว่าจะใช้ โอเพ่นซอร์ซ ซอฟแวร์เช่น อูบุนตู ก็ตามเถอะครับ เวลาเราเปิดเว็บ มันก็ต้องดาวน์โหลดไฟล์มาไว้ที่เครื่องคอมฯ มันจะกลายเป็นว่า ใช้โอเอสพวกนี้ไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ก็จริงแต่คุณเข้าเว็บไหน มันก็ผิดอยู่ดีเพราะมันต้องก้อปแคชอยู่แล้ว สำคัญที่ผู้บังคับใช้กฎหมายนะแหละ จะนำไปเป็นเครื่องมือหาเรื่องใครแค่นั้นเอง

ส่งสแปม ต้องเปิดช่องให้เลิกรับบริการ

     ถ้ามีข้อนี้มา จะจัดการกับพวกส่งเมล์ ทำงานทางอินเตอร์เน็ต อย่างไร เพราะมันเป็นสแปมที่ มีหลายเมล์มาก และไม่เคยมีเมล์ไหนที่สามารถ ยกเลิกได้ แล้วข้อความก็ซ้ำ ๆ กัน

กฏหมายคอมเก่าทำได้เท่าไร

แล้วเรื่องลิกสิทธ์วินโดส์ ไม่เห็นมีหน่วยงานมาให้ความรู้เลยนะครับ เห็นมีแต่พวกที่ได้ผลประโยชน์จากตรงนี้ (พวกที่รีดไถจากร้านอินเตอร์เน็ตละ) แผ่นเถื่อนตามห้างต่าง ๆ ไม่เห็นกำจัด ที่ไปร้านก็รู้ว่าจะมาวันไหน ๆ ก็ปิดร้านกัน

 

 

 

สุดท้าย รัฐบาลที่ออกกฏหมายยังไม่ทำตามเลย จะให้ประชาชนที่เสียภาษีให้รัฐบาลใช้ของเถื่อนเหรอครับ แล้วให้ประชาชนใช้ของที่มีลิกสิทธ์

ใช่ๆ มีเยอะมาก ถ้าเค้าแน่จริงก็ลบออกไปให้หมดดิ จีน รัสเซีย.... เพียบ จะไปจัดการเค้าเหรอ

นี้กะว่าจะเปลี่ยนจากจับคอมพิวเตอร์  ไปจับจอบจับเสียมดีกว่า  จะได้ไม่ต้องติดคุกติดตาราง

ออกกฏหมายเอื้อให้กลุ่มผลประโยชน์พียงหยิบมือเดียว โดยเฉพาะองค์กรมหาชนอันใหม่ที่กระทรวงจัดทำขึ้น อยากให้ไป สตง. ไปตรวจสอบหน่อยว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากลหรือเปล่า

พอมีองค์กรใหม่ขึ้นมา มันก็มีค่าใช้จ่ายขึ้นมาตามตัว เงินเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ จิปาถะ เงินภาษีเรา ๆ ทั้งนั้น

จากนั้นมันก็เขียนโครงการติ๊งต๊องของบประมาณมาทำ คอยดู แต่ละโครงการหลักสิบหลักร้อยล้านทั้งนั้นแหละ ไม่เชื่อคอยดูสิ

กฏหมายที่เอาไว้กดหัว ปชช. มักเกิดจากรัฐบาลเผด็จการ กฏหมายบางประเทศห้าม isp เก็บข้อมูลผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเสียด้วยซ้ำ

= =

กฎหมายออกมาถือว่าดี รัฐยังเอาใจใส่

แต่ออกมา.. แบบนี้ รัฐอย่าสนใจดีกว่าผมว่า !

บอกได้คำเดียว Thailand Only คับ พี่น้อง

สงสารประเทศตัวเองจัง เอาเวลาไปทำ 3G และเทคโนโลยีดีๆ ดีกว่าไหม ตั้งแต่ GT200 ละ

ไม่เห็นด้วยทุกข้อครับ การกระทำความผิดในอินเทอร์เน็ตเป๋นเรื่องยากที่จะจับตัวตนร้ายได้ บางครั้งจับได้บ้างม่ได้บ้าง แล้วมาเพิ่มกฏต่างๆนานา ถามหน่อยเถอะครับ จะมีตำรวจที่ยอมอุทิศตนรับผิดชอบการก่ออาชยากรรมในอินเทอร์เน็ทซักกี่คน ถ้าข้อนี้ทำแล้วไม่ดี ข้ออื่นที่เพิ่มมานั้นล้วนแต่เป็นเป็นข้อที่ทำให้ user ทุกคนเป็นประหาอย่างมาก ถามว่าแล้วมันจะมีปุ่มให้ Copy ทำไม ปัจจุบันการ Copy คนเรามีจิตสำนึกครับว่า ลอกเขามาเราก็ให้ เครดิตเขาไป ถือว่าไม่ิดครับ อีกข้อเรื่องโปรแกรม Copy เป็นไปไม่ได้ครับที่จะหยุดใช้ บางหน่วยงานของรัฐยังใช้ window Copy เลย เพราะ ราคา Window นั้นแพงมาก ในฐานะผมซึ่งเป็น user คนนึง ข้อค้านไม่ให้ออกกฏหมายด้านนี้ครับ ไม่งั้นอย่าเล่นเลย "คอมพิวเตอร์" เสี่ยงคุกซะป่าว แบบไม่รู้ตัว

 

เห็นด้วย

อย่าไปตามฝรั่ง มากนักนะครับ ขนาด ฝรั่งประเทศของมันเอง ยังควบคุมประเทศมันไม่ได้เลย ของฝรั่งก็มีเยอะแยะ