ไฟล์แนบ | ขนาดไฟล์ |
---|---|
ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับไอซีทีวันที่ 28 มีนาคม 2554 | 49.35 KB |
เมื่อวันจันทร์ที่28 มี.ค. 54 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จัด ประชุมรับฟังและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมดังกล่าว มีการแจกเอกสารร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กระทรวงไอซีทีจัดทำขึ้นด้วย
ร่างกฎหมายนี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ยกเลิกพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 ทั้ง ฉบับ และให้ใช้ร่างฉบับใหม่นี้แทน อย่างไรก็ดี โครงสร้างของเนื้อหากฎหมายมีลักษณะคล้ายคลึงฉบับเดิม โดยมีสาระสำคัญที่ต่างไป ดังนี้
ประเด็นที่1 เพิ่มนิยาม “ผู้ดูแลระบบ”
มาตรา4 เพิ่ม นิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” หมายความว่า “ผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ผู้อื่นในการเข้าสู่อิน เทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น”
ใน กฎหมายเดิมมีการกำหนดโทษของ “ผู้ให้บริการ” ซึ่งหมายถึงผู้ที่ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า การพยายามเอาผิดผู้ให้บริการซึ่งถือเป็น “ตัวกลาง” ในการสื่อสาร จะส่งผลต่อความหวาดกลัวและทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง อีกทั้งในแง่ของกฎหมายคำว่าผู้ให้บริการก็ตีความได้อย่างกว้างขวาง คือแทบจะทุกขั้นตอนที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็ล้วนเป็น ผู้ให้บริการทั้งสิ้น
สำหรับ ร่างฉบับใหม่ที่เพิ่มนิยามคำว่า “ผู้ดูแลระบบ” ขึ้นมานี้ อาจหมายความถึงเจ้าของเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ แอดมินระบบเครือข่าย แอดมินฐานข้อมูล ผู้ดูแลเว็บบอร์ด บรรณาธิการเนื้อหาเว็บ เจ้าของบล็อก ขณะที่ “ผู้ให้บริการ” อาจหมายความถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ตาม ร่างกฎหมายนี้ ตัวกลางต้องรับโทษเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด เช่น หากมีการเขียนข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ผู้ดูแลระบบและผู้ให้บริการที่จงใจหรือยินยอมมีความผิดทางอาญาเท่ากับผู้ที่ กระทำความผิด และสำหรับความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่นการเจาะระบบ การดักข้อมูล หากผู้กระทำนั้นเป็นผู้ดูแลระบบเสียเอง จะมีโทษ1.5 เท่าของอัตราโทษที่กำหนดกับคนทั่วไป
ประเด็นที่ 2 คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี
สิ่งใหม่ในกฎหมายนี้ คือมีมาตรา16 ที่ เพิ่มมาว่า “ผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ทั้งนี้ การทำสำเนาคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการคัดลอกไฟล์ การดาว์นโหลดไฟล์จากเว็บไซต์ต่างๆ มาตรานี้อาจมีไว้ใช้เอาผิดกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หรือเพลง แต่แนวทางการเขียนเช่นนี้อาจกระทบไปถึงการแบ็กอัปข้อมูล การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาว์นโหลดมาพักไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติหรือที่ เรียกว่า “แคช” (cache เป็น เทคนิคที่ช่วยให้เรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเก็บข้อมูลที่เคยเรียกดูแล้วไว้ในเครื่อง เพื่อให้การดูครั้งต่อไป ไม่ต้องโหลดซ้ำ) ซึ่งผู้ใช้อาจมิได้มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว
ประเด็นที่ 3 มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด
ในมาตรา25 “ผู้ ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือ เยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
เป็นครั้งแรกที่มีการระบุขอบเขตเรื่องลามกเด็กหรือเยาวชนโดยเฉพาะขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือว่า ลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้นหมายความอย่างไร นอกจากนี้ มาตราดังกล่าวยังเป็นการเอาผิดที่ผู้บริโภค ซึ่งมีความน่ากังวลว่า การชี้วัดที่ “การครอบครอง” อาจทำให้เกิดการเอาผิดที่ไม่เป็นธรรม เพราะธรรมชาติการเข้าเว็บทั่วไป ผู้ใช้ย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าการเข้าชมแต่ละครั้งดาว์นโหลดไฟล์ใดมาโดย อัตโนมัติบ้าง และหากแม้คอมพิวเตอร์ถูกตรวจแล้วพบว่ามีไฟล์โป๊เด็ก ก็ไม่อาจหมายความได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ดูผู้ชม
ประเด็นที่ 4 ยังเอาผิดกับเนื้อหา
มาตรา24 (1) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
เนื้อความข้างต้น เป็นการรวมเอาข้อความในมาตรา14 (1) และ (2) ของ กฎหมายปัจจุบันมารวมกัน ทั้งนี้ หากย้อนไปถึงเจตนารมณ์ดั้งเดิมก่อนจะเป็นข้อความดังที่เห็น มาจากความพยายามเอาผิดกรณีการทำหน้าเว็บเลียนแบบให้เข้าใจว่าเป็นหน้าเว็บ จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล (phishing) จึง เขียนกฎหมายออกมาว่า การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมถือเป็นความผิด แต่เมื่อแนวคิดนี้มาอยู่ในมือนักกฎหมายและเจ้าหน้าที่ ได้ตีความคำว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม” เสียใหม่ กลายเป็นเรื่องการเขียนเนื้อหาอันเป็นเท็จ และนำไปใช้เอาผิดฟ้องร้องกันในเรื่องการหมิ่นประมาท ความเข้าใจผิดนี้ยังดำรงอยู่และต่อเนื่องมาถึงร่างนี้ซึ่งได้ปรับถ้อยคำใหม่ และกำกับด้วยความน่าจะเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่น ตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกสูงสุด ห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หาก พิจารณาจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินคดีคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา ปัญหานี้ก่อให้เกิดการเอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะหลายกรณี รัฐไทยเป็นฝ่ายครอบครองการนิยามความจริง ปกปิดความจริง ซึ่งย่อมส่งผลให้คนหันไปแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตแทน อันอาจถูกตีความได้ว่ากระทบต่อความไม่มั่นคงของ “รัฐบาล” ข้อความกฎหมายลักษณะนี้ยังขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิด เห็นโดยไม่จำเป็น
ประเด็นที่5 ดูหมิ่น ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
มาตรา26 ผู้ ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่ผ่านมามีความพยายามฟ้องคดีหมิ่นประมาทซึ่งกันและกันโดยใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่การกำหนดข้อหายังไม่มีมาตราใดในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะใช้ได้อย่างตรงประเด็น มีเพียงมาตรา 14 (1) ที่ระบุเรื่องข้อมูลอันเป็นเท็จดังที่กล่าวมาแล้ว และมาตรา 16 ว่าด้วยภาพตัดต่อ ในร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้สร้างความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้งข้อหาการดูหมิ่นต่อกันได้ง่ายขึ้นข้อสังเกตคือ ความผิดตามร่างฉบับใหม่นี้กำหนดให้การดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทมีโทษจำคุกสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ทั้งที่การหมิ่นประมาทในกรณีปกติ ตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ประเด็นที่6 ส่งสแปม ต้องเปิดช่องให้เลิกรับบริการ
มาตรา21 ผู้ ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ทางการค้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ และโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จากที่กฎหมายเดิมกำหนดเพียงว่า การส่งจดหมายรบกวน หากเป็นการส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ถือว่าผิดกฎหมาย ในร่างฉบับใหม่แก้ไขว่า หากการส่งข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ บอกรับได้ ทั้งนี้อัตราโทษลดลงจากเดิมที่กำหนดโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาเป็นจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ยังต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากการส่งข้อมูลดังกล่าว แม้จะเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็จะไม่ผิดตามร่างฉบับใหม่นี้
ประเด็นที่7 เก็บโปรแกรมทะลุทะลวงไว้ คุกหนึ่งปี
มาตรา23 ผู้ ใดผลิต จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ มีไว้ หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความ ผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
น่าสังเกตว่า เพียงแค่ทำซ้ำ หรือมีไว้ซึ่งโปรแกรมที่ใช้เจาะระบบ การก๊อปปี้ดาวน์โหลดไฟล์อย่างทอร์เรนท์ การดักข้อมูล การก่อกวนระบบ ก็มีความผิดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เรื่องนี้น่าจะกระทบต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์โดยตรง
ประเด็นที่ 8 เพิ่มโทษผู้เจาะระบบ
สำหรับกรณีการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ เดิมกำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ร่างกฎหมายใหม่เพิ่มเพดานโทษเป็นจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท(เพิ่มขึ้น 4 เท่า)
ประเด็นที่ 9 ให้หน้าที่หน่วยใหม่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
ร่างกฎหมายนี้กำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานซึ่งมีชื่อว่า “สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)” เรียกโดยย่อว่า “สพธอ.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)” เรียกโดยย่อว่า “ETDA” เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีที
หน่วยงานนี้เพิ่งตั้งขึ้นเป็นทางการ ประกาศผ่าน “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิสก์ พ.ศ. 2554” เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 54 โดยเริ่มมีการโอนอำนาจหน้าที่และจัดทำระเบียบ สรรหาประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 54
ในร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่นี้ กำหนดให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) มีบทบาทเป็นฝ่ายเลขานุการของ “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ภายใต้ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับที่กำลังร่างนี้
นอกจากนี้ หากคดีใดที่ต้องการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดซึ่งอยู่ในต่างประเทศ จะเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ในร่างกฎหมายนี้กำหนดว่า พนักงานสอบสวนอาจร้องขอให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) เป็นผู้ประสานงานกลางให้ได้ข้อมูลมา
ประเด็นที่10 ตั้งคณะกรรมการ สัดส่วน 8 – 3 – 0 : รัฐตำรวจ-ผู้ทรงคุณวุฒิ-ประชาชน
ร่างกฎหมายนี้เพิ่มกลไก“คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ผู้ อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคลจากผู้มี ความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเงินการธนาคาร หรือสังคมศาสตร์จำนวนสามคน โดยให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
คณะกรรมการชุดนี้ ให้ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์กรมหาชน), สำนักงานกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (สังกัดกระทรวงไอซีที), สำนักคดีเทคโนโลยี (สังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม), และ กลุ่มงานตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี กองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี (บก.สสท.) (สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เป็นเลขานุการร่วมกัน
คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ออกระเบียบ ประกาศ ตามที่กำหนดในพ.ร.บ.นี้ และมีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหลักฐาน รวมถึง “ปฏิบัติการอื่นใด” เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ โดยให้ถือว่าคณะกรรมการและอนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
Comments
ไม่ทราบว่า ใช้สมองส่วนไหน ในการร่างกฏหมายออกมาครับ
แก้ปัญหากันที่ปลายเหตุแบบนี้ เด็กๆแถวบ้านผมก็คิดได้ครับ
ทำไมไม่คิดแก้กันที่ต้นเหตุล่ะครับ
อย่าบอกว่าทำไม่ได้น่ะครับ เพราะถึงขนาดมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแล ซะขนาดนี้
ก็คงต้องมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมากพอ เช่นกัน
หรือจริงๆแล้ว บุคลากรก็คือ คุณลุงคุณป้า ที่ไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์กันแน่ครับ
ปล.ถ้าจะทำเพื่อประชาชน ทำไมจะทำไม่ได้ อยู่ที่ ทำแล้วหรือยัง แล้วประชาชนยอมรับกันได้หรือยัง หรือยอมรับกันเอง
(กรุณา เปิดหูเปิดตา ออกมาจากกะลาได้แล้วครับ)
เขียนโดยคนโง่ เลยออกมาแบบโง่โง่ตาม นี่และประเทศไทย
ไม่เห็นด้วยกับ พรบ ฉบับนี้ครับ อ่านเนื้อหาคร่าวๆ แล้วเป็นห่วงประเทศ เรื่องที่ควรเร่งทำ กลับยังไม่ทำ เรื่องที่ไม่ควรทำกลับรีบโดยไม่มีการวิเคาระห่พิจารณาที่ดี เหมือนโปรแกรมที่ไม่มีคนชอบใช้เพราะ bug เย่อะ ต้องการแค่ "ส" ดันเอา "ษ.ศ." มาด้วย ไม่ตอบโจทย์คนใช้ หน้าตาโง่ๆ ไม่มีสีสรรค์ เพราะเรามัวแต่ทำอะไรที่ไม่มีประโยชน์ที่แท้จริงอยู่ หลงประเด็นกันอยู่ ทำงานหยาบๆให้เสร็จทันแค่นั้นกันอยู่ คิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำดีที่สุด ท่าเปลี่ยนมาเป็นรีบให้คนมีการศึกษามากๆ ปลูกผังศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรมมากๆ ดีกว่าไหม หรือมันอยากเกินไปสำหรับท่าน เชื่อว่าเราทำได้ หากคิดจะเริ่มทำ และทำอย่างจริงจัง
เอาง่าย ๆ มือถือใครไม่มีเพลง mp3 ยกมือทีสิครับ นั้นง่ะ ติดคุกกันยันผู้พิพากษา ฮ่ะ ๆ ๆ
เอ๋!! ระวังน้าาา เขาบอกห้ามหมิ่น พรบ.
เดี๋ยวโดนจิ้มไอพีหรอกกกกก
บ้ากันไปใหญ่แล้ว
ดีจังเลย
คนไทยทำได้
ประเทศไทยมันก็แบบนี้แหละ คนจน คนรวย ความยุติธรรม ความเหลื่อมลัม มันก็อยุแค่นี้
ออกกฎหมายแบบนี้มา จะบอกว่า ให้เลิกให้คอมพิวเตอร์ เหรอครับ
นี่ นี่ เอ่า เวลา ว่าง ไป จับ ค้า ยา ไป ไป ทำให้ ให้ ประเทศ เจริญ ไป แมร่ง เดี่ยว เรื่อง เลือกตั้ง พวก มุง เอา เวลา ไป คิด อย่าง อื่นไป แต่ ก่อน แมร่ง โหลด บิท มี ปัญหา รัย ไม่เห็น จะ เกิด อะไร ขึ้น สังคม บิท คือ การ แบ่ง ปัน โว็ย
อีควายเอ๋ย พ่อแม่ เมิงเลี้ยงด้วย หญ้าหรอว่ะ พวกเมิงโกงกินกันยังไม่พออีกหรอ มาใช้ วิธีควายๆ
แล้วพวกกูจะ หาโปรแกรม หาเนื้อหาสาระดีๆ ได้จากไหนว่ะ ควายแท้ๆ เมิง ใช้สมองคิดหรือ ส้นตีน คิด
กูพูดตรงๆ เมิงดูเสียงคนส่วนใหญ่ มีแต่คนสาปแช่งพวกเมิง ไอ้ควาย เอาแต่ได้ ส้นตีนบรรลัยเอ๋ย
คน ออกกฎหมายทำผิดใครจับ ควายหรือ ครับ
ป่าไม้ถูกตัด ข้าวของแหง น้ำมันแพง ใครทำ แล้วทุกวันนี้ มันจับได้ไหม
จับแต่คนเล็กๆๆ ตัวใหญ่ นั่งชี้นิ้ว วันๆ ได้แต่ ถ่ายโฆษณาเอาหน้า
คุนพูดได้ไหม ลูกหลานคุน ไม่โหลด ไม่ Copy file และใช้ Windows แท้ คุนกล้าพูดเต็มปากไหม ก่อนที่ จะออก เหี้ยไรมา กรุณา ดูสิ่งแวดล้อมด้วย ครับ ว่า รอบข้างคุณ เขาอยู่กันแค่ไหน ไม่ใช่ คิดแต่จะออกก็ออก คิดว่าเท่ หรอ ออกของใหม่ อ่ะ ปันญาชน คับ
แล้วอีกอย่าง ประเทศไทย เปนประเทศกำลังพัตนา คุนคิดว่าทุกคนจะมีเงินซื้อคอมให้ลูกหลานใช้หมดทุกครัวเรือนไหม ถึง จะให้ใช้ windows แท้ ผมเข้าใจ ว่าคุน ต้องทำตามหน้าที่ ออกกดหมายมา เพื่อ ให้มี ระบุความผิด แค่การเพิ่ม โทษขึ้นมา คุนคิดว่าจะได้อะไรที่ดีขึ้น ?
คุนคิดว่า คนจะหันมาใช้ windows จิงงั้นหรอ ถามจิง Windows จิง ราคาอยู่ที่ 3-4 พัน ราคานี้ เกือบซื้อคอมใหม่ได้อีกเครื่อง คุนคิดว่า ระหว่างคอมใหม่ กับ Windows ที่ ไม่รู้เมื่อไรต้อง ลงอีก แล้วเกิดแผ่นเสีย ก็ต้องซื้อใหม่ คุณจะเลือกให้มันเปนแบบไหน ?
แล้วกดหมายการ คัดลอกไฟล์ ขอความกระจ่างด้วยว่า ไฟล์ ไหน ที่ผิดกดหมาย เช่น Mp3 ถ้าทุกไฟล์ผิดกดหมาย อย่างนี้ผม พิม ABC ลง Word แล้ว Copy ส่งให้เพื่อน ผมกับเพื่อน ไม่โดนข้อหา คัดลอกไฟล์ ABC หรอ ตลกจัง ขอให้ระบุไฟล์ ว่าไฟล์แบบไหนห้าม Copy เช่น File ลิขสิทธิ์ เพื่อความเข้าใจกันถ้วนหน้า ด้วยคับ
ปล.
อยากคุยกับ รัฐมนตรีกระทรวง ICT จัง
ออกอะไรไม่มีความคิด เคยามจากความเห็นผู้ที่อยู่ในวงการจริงหรือเปล่า ประชาวิจารณ์รู้จักหรือไม่ ใช้แต่หัว... คิดออกมาแล้วก็เอาตามที่ตัวเองคิดจะได้มีผลงาน ทุเรศครับ...
คิดยังไงกันนะ พ.ร.บ. นี้ ผมไม่เข้าใจเลย มันเหมือนดาบ2คม
ยกตัวอย่าง เช่น มีด จะใช้ทำเป็น อาวุธ หรือเป็นเครื่องมือครับ ทำอย่างนี้พวกที่มีอาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็จะหมดไป อย่างถ้าผมต้องการ รีโมทเข้าไปช่วยเหลือลูกค้าที่ใช้คอมไม่เป็นเพื่อเป็นการสอนหรือแนะนำช่วยในการแก้ไข หรือต้องก๊อบข้อมูลบางตัวไปทดสอบ ก็มีความผิดใช่ไหมครับ หรืออย่างแฮกเกอร์ผมที่ดีก็มีนะครับ เพราะถ้าจะป้องกันระบบก็ต้องรู้ว่าพวกแฮกเขาทำกันอย่างไร จะได้ป้องกันได้ อยู่ที่คุณยืนกันตรงจุดไหน ผมว่าลองยืนตรงกลางแล้วมอง ความเหมาะสมดีไหม พ.ร.บ.ผมว่าไม่น่าใช้เอาเสียเลย เพราะโปรแกรมที่ดีมีประโยชน์ก็เยอะ อยู่ที่คนเอาไปใช้มากกว่าว่าใช้ไปในทางไหนคนไทยน่าจะได้พัฒนากว่านี้นะ ถ้าพวกผู้ใหญ่ใส่ใจกับปัญหาแก้ให้ตรงจุดกว่านี้ .....จบข่าว ....เบื่อเนอะ
หลายข้ออ่านแล้วก็เห็นด้วย แต่เท่าที่ดูมีน้อยมากที่แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุมีผล ส่วนใหญ่ใช้อารมณ์และคำพูดรุนแรงทั้งนั้นเลย
คนออก พ.ร.บ เกรียนอะ
คนคิด คิดได้ยังไงบอกให้ทำถูกกฎหมาย นายตำรวจที่บ้านเขาใช้ window ปลอมอยู่เลย ผมเองยังลงให้ไปตั้งหลายคนเลย window เถื่อนเนี่ย แล้วลูกหลานเขาอีก คิดผิดคิดใหม่สังคมยังให้อภัยนะ อย่าบอกแต่ให้คนอื่นเขาทำถูกแต่ตัวเองทำผิดซะเอง
อยากกด like ++ ให้ทุกคอมเม้น ไอห่า พ.ร.บ ส้นตีนไร ผิดแม้งทุกอย่าง ไม่งั้นพวกที่ได้โปรแกรมมา
ไปโพสใน google แม่งไม่โดนจับกันหมดละหลอ พ.ร.บ ห่วยมาก ขอร้องละ อย่าร่างเลย
ไม่งั้น โปร ฟรีๆๆ จะมีไว้ทำไร
ถามคน ร่างกฎหมายนะครับ แล้วเมื่อไหร่ ประเทศไทยถึงจะ เจริญละครับ มัวแต่ปิดกั้น
แค่พูดแบบนี้ก็โดนข้อหาดูหมิ่น พรบ ละ ดูสิ
มาตรา 16 : น่าจะปราบปรามแผ่นผีต่างๆ ให้ได้ก่อนดีมั่ย หรือว่าทำไปเพื่อให้คนขายแผ่นผีได้มากขึ้น มี พรบ.ฉบับนี้แล้ว เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านหรือพ่อค้า นายทุน อย่างไหนอย่างไรกัน ??? ช่วยชี้แจงประโยชน์ของ ร่าง พรบ.ใหม่นี้ให้ฟังทีครับ ปัจจุบัน YOU TUBE อันตรายๆ มีเพียบ ผิดเห็นๆ ไม่เห็นมีข่าวว่าจับคนทำคนส่งได้เลย บางมาตราก้ยังไม่ชัดเจน ต่อการปฏิบัติตาม พรบ.อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ในภายหน้า แต่บางมาตราก้อเป็นประโยชน์
เสนอ : อยากให้ประชาชนผู้ใช้งานข้อมูล ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทุกส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาส่งข้อคิดเห็นให้ กระทรวงเจ้าของ พรบ.ได้รับทราบ เพื่อจัดทำกฏหมายใช้แบบมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ตามหลักประชาธิปไตย โดยไม่มีข้ออ้างจากฝ่าย สส.ทั้งหลาย ที่นำชื่อประชาชนว่าได้รับเลือกจากประชาชนเข้าสภาแล้วไปคิดไปทำกับกลุ่มเพื่อนพ้อง นายทุนทั้งหลาย เองโดยประชาชนผู้เกี่ยวข้องไม่รับรู้หรือเสนออะไรได้อืกเลยหลังจากผ่านการเลือก ฉอ.ฉอ. ได้แล้ว ชิชิ ...
ทำไมทำได้แค่นี้นะ น่าสงสารวะ
การใช้คำว่า มีไว้ในครอบครองครอบครอง มันค่อนข้างเบียดเบียนเสรีภาพเกินไปนะครับ
เป็นสิทธิ์อิสระที่จะครอบครองตราบเท่าที่ไม่มีผู้เดือดร้อน ไม่ใช่อาวุธสงครามนะครับ
และประเทศเราเป็นประชาธิปไตย แบบนี้มันจำกัดเสรีภาพกันเกินไป
อีกอย่างการเจาะระบบเป็นสิ่งจำเป็นมาก ถ้าให้เราเจาะเองไม่ได้ รัฐบาลจะมีพนักงานเจาะระบบให้หรือ
แก้ปัญหาเรื่องการใช้โปรแกรมเถื่อนให้ได้ก่อน แล้วมาว่าใหม่จะดีกว่านะครับ
ตรวจดูด้วยนะครับว่าหน่วยงานของรัฐใช้โปรแกรมแท้รึไหม แล้วมาพิจารณานะครับ
มีหนังสือโป๊ไม่ผิดแต่ถ้าสแกนลงเครื่องติดคุกทันที!!
ประเทศล่มจมเพราะระดับผู้นำมันได้แค่นี้ไง
ผมอยากจะบอกว่าสิ่งนี้มันเป็นการกดขี่ประชาชนหรือเยาวชนที่ใช้คอมพิวเตอร์ในความคิดของผมผมเห็นว่าการใช้กฎหมายตัวเดิมก็ไม่ทำให้เกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่สร้างปัญหาโดย๖รงให้รัฐบสลหรือประเทศชาติเลยแต่กฎหมายฉบับใหม่นี้ผมเห็นว่ามันไม่มีความยุติธรรมเลยผมว่ากฎหมายฉบับใหม่นี้ควรพิจารณาใหม่ตั้งแต่ต้นและถามความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ก่อนและผมคิดว่าคุณควรให้ความสำคัญกับเรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การรบที่ชายแดนเขมร ปัญหายาเสพติดที่ไม่หมดไปจากเยาวชน และเรื่องอื่นๆอีกมากมายที่สร้างปัญหาให้ประชาชนผมว่าคุณควรใส่ใจเรื่องพวกนี้มากกว่าส่วนเรื่องปัญหาทางคอมพิวเตอร์ผมว่าค่อยๆทำไปห็ไม่มีปัญหาอะไรมากมายหรอก
เอาเวลาไปแก้ไขปัญหา ยาเสพติด จะดีกว่าไหมครับ
ทำอะไรก็ผิดหมด ทำให้ลดความสามารถทางเทคโนโลยีลง
ผมจะขายคอมทิ้งครับ
กฎหมายมีไว้ไช้กับคนที่ไม่มีทางสู้ .
ไม่อยากโดนก็ไปเป็นพวกมันซะ.
ประมาณนั้น.
ใคร โหวตเนี่ยดูไหมว่าเขาจะตัดอะไร เนื้อหา มาตราที่ 14, 15, 16 ของปี 50 ค้อนข้างสำคัญเลยทีเดียว
อวสาร บิตทอเรนซ์...
ผมเบื่อ..!!
ผมกลัวเพื่อนต่างประเทศทีู่ยู่ใกล้ๆประเทศไทยจะเรียกเราว่า "ไอ้ไทย"
คนเก่งๆ IT ลาออกจากราชการกันจนหมดแล้ว ทนระบบราชการไม่ไหว ไปทำงานเอกชน ใช้ความเก่งหาเงินสร้างฐานะให้ตัวเอง คนเก่งๆบางคนที่ยังทำราชการก็ต้องมีอาชีพเสริมเพราะเงินเดือนมันน้อยเหลือเกิน แล้วรัฐคือผู้ออกกฎหมายจากคนเก่งITไม่กี่คนอ่านกฎหมายแล้วรู้ทันทีว่าน่าจะไม่เข้าใจเทคโนโลยี จริงกฎหมายเหล่านี้คือกฎหมายละเมิด กฎหมายลิขสิทธิ์ แต่มาออกซ้ำซ้อนเพื่อตามเทคโนโลยี
ถ้าเช่นนั้น google ผิดเต็มๆ ต้องสั่งปิด google เพราะ cache ข้อมูล มี bot เข้าไปในเว็บคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีภาพอนาจาร! เช่นนั้นหรือ คิดดีๆครับ
ถ้าคิดแบบจะเลี่ยงกฎหมาย มีคนทำเทคโนโลยีบิตแบบใหม่คือแยกไฟล์เป็นชิ้นๆเล็กๆเก็บในแต่ละบ้าน จะอ่านไฟล์หรือดูหนังทีก็วิ่งไปอ่านเครื่องแต่ละโหนดเอา อย่างนี้ก็ไม่ผิดกฎหมายแล้วเพราะผู้ใช้บริการแต่ละบ้านนั้นไม่ได้มีไฟล์ที่ครบถ้วนดูไม่ได้แน่ๆเพราะไฟล์เป็นชิ้นๆจนไม่สามารถรู้ว่าเป็นไฟล์อะไร และเปิดแชร์ไฟล์อย่างถูกกฎหมาย เวลาดูค่อยไป track ตามโหนดและเวลาโหลดดูหนังก็ไม่ได้แคชไว้
ผมว่าดูให้ละเอียด กว่านี้หน่อยนะครับ ไม่ใช่ทำเพื่อเพื่อนพ้องขอร้องฝากฝังให้ออก พรบ มีผลกระทบของคนที่ใช้งานอย่างสุจริตแต่อาจผิด กม.ใหม่นี้ และเป็นหนทางให้ คนสาปแช่ง คนที่เกี่ยวข้องกับการออก พรบ นี้ เดี๋ยวจะอายุสั้น บางข้อผมก็เห็นด้วยแต่บางข้อ น่าจะไปอยู่ใน อัฟกานิสถานนะครับ หรืออิรัก
หลังเขา
สรุปคือ ตอนนี้บังคับใช้หรือยังครับ ผมไม่ค่อยทราบเรื่องเท่าไร