Articles

Emergency regulation
การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั่วประเทศที่กินระยะเวลายาวนานตามมาด้วยข้อกำหนดห้ามการชุมนุมมากมายที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์โควิด และมีเนื้อหาทับซ้อนกันจนการเอามาใช้ยังสับสน
Universal principle regarding assembly
ในช่วงเวลาเดียวกับที่โควิดกำลังระบาดไปทั่วโลก และหลายประเทศก็ออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพของประชาชน วันที่ 17 กรกฎาคม 2563 คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) ได้มีมติที่ 44/20 เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในบริบทของการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งวางหลักการหลายอย่างไว้คุ้มครองการชุมนุมทั้งในสถานการณ์ปกติ สถานการณ์พิเศษ และสถานการณ์โรคระบาด  ชวนดูหลักการที่น่าสนใจ 
women in parliament, constitutional court and independent entity
เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล (8 มีนาคม) ชวนมาสำรวจตำแหน่งแห่งที่ของผู้หญิงในองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการเมืองไทย ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ ว่ามีผู้หญิงที่ปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรเหล่านี้เป็นสัดส่วนเท่าใดบ้าง 
Review of the 10-years proposal on Article 112
สรุปกิจกรรมเสวนา “จาก ครก.112 ถึง ครย.112: ทบทวน 10 ปี ข้อเสนอภาคประชาชนว่าด้วยมาตรา 112” โดยพวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการและผู้ร่วมก่อตั้ง ครก.112 และยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw และผู้ร่วมก่อตั้ง ครย. 112 
9 กุมภาพันธ์ 2565 สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติให้ครม. นำร่างกฎหมายถึง 4 ฉบับ ไปศึกษาก่อนรับหลักการ 60 วัน 3 ฉบับเป็นร่างกฎหมายน่าจับตา #สุราก้าวหน้า #สมรสเท่าเทียม ร่างพ.ร.บ.ฉุกเฉินฯ ชวนดูเทคนิคใหม่รัฐบาล ในการ "ยื้อเวลา" ร่างกฎหมาย
quorum-busting in numbers
สภาที่มาจากการเลือกตั้งชุดแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ประสบปัญหา "สภาล่ม" อยู่บ่อยครั้ง นับตั้งแต่การเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2562 จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 การประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมรัฐสภา "ล่ม" ไปแล้วรวมกันถึง 15 ครั้ง ย้อนดูสถิติสภาล่มที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยเฉพาะในขั้วรัฐบาล
What is quorum-busting?
นับตั้งแต่สภาชุดปัจจุบันที่มาจากการเลือกตั้งเข้าทำหน้าที่ในช่วงต้นปี 2562 เกิดเหตุการณ์ “สภาล่ม” ไปแล้วถึง 15 ครั้ง และยิ่งในช่วงที่รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคพลังประชารัฐกำลังสั่นคลอนจากปัญหาความขัดแย้งภายในพรรค เหตุการณ์สภาล่มก็ยิ่งเกิดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ชวนทำความรู้จักว่าสภาล่มคืออะไร การไม่แสดงตนคืออะไร ฝ่ายค้านใช้สภาล่มได้อย่างไร และผลของสภาล่มคืออะไร
lesser parties as the kingmaker
ย้อนดูเส้นทางของพรรคเล็ก จากที่เป็นผลผลิตอันผิดเพี้ยนของระบบเลือกตั้งและสูตรคำนวณที่นั่ง จนมาอยู่ในการดูแลของ “ฤๅษี” ชื่อธรรมนัส และอาจเป็นส่วนหนึ่งของการเดินเกมทางการเมืองล้มรัฐบาล
NGO testing the constitutionality of the emergency decree
คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) เข้ายื่นคำร้องกับศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยว่าพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
Stop Senate PM Vote
การล่ารายชื่อเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ตัดอำนาจวุฒิสภา (ส.ว.) เลือกนายกรัฐมนตรี นำโดย “คณะรณรงค์แก้ไข รธน. มาตรา 272” ได้รายชื่อประชาชนเกิน 50,000 รายชื่อ เรียบร้อยแล้วแต่ประชาชนยังสามารถลงชื่อเพิ่มได้เพื่อร่วมส่งเสียงให้รัฐสภารับฟังได้