สมัชชาสาธารณสุขปกป้องประชาธิปไตย และกลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย ออกหนังสือแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมว่า ร่างรัฐธรรมนูญลดทอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน, ระบบการเลือกตั้งบิดผันเจตจำนงของประชาชน และเป็นการสืบทอดอำนาจองค์กรที่มาจากการแต่งตั้ง
บูรพา เล็กล้วนงาม อดีตนักข่าวผู้คร่ำหวอดในวงการการเมือง ประมวลเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ก่อนนำไปลงประชามติ สรุปทั้งฉบับมาให้เบาๆ ใน 5 หน้า สำหรับคนที่ไม่อยากอ่านเต็มทุกมาตรา
บทความจากนักศึกษานิติศาสตร์ เสนอความเห็นต่อมาตรา 15 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งสร้างภาระให้กับตัวกลางมากเกินไปในการต้องลบเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย และความเห็นต่อร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่บางมุมช่วยบรรเทาปัญหาได้ แต่บางมุมก็ยังไม่ดีขึ้น
หลายคนยังคงสับสนและงุนงงในหลายประเด็นสำหรับการออกเสียงประชามติที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เพื่อการเตรียมความพร้อม เราข้อย้ำเตือน 7 ประเด็นก่อนเข้าคูหาลงประชามติ
ตัวแทนแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เครือข่ายพลเมืองเน็ต และไพรเวซี อินเตอร์เนชั่นแนล ส่งจดหมายถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยในจดหมายระบุถึงข้อเสนอแนะและข้อสังเกตเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวที่กำลังเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ร่วมกับเครือข่ายประชากรข้ามชาติ ส่งหนังสือเปิดผนึกถึง สนช. เพื่อให้ทบทวนร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ โดยเห็นว่า การตราร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้นมาเพียงต้องการให้กระบวนการพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว โดยนำระบบไต่สวนมาใช้แทนระบบกล่าวหา แต่ไม่ได้ทบทวนสาเหตุของความล่าช้าในการดำเนินคดี และขาดการรับฟังความเห็นจากประชาชน
อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้ขบวนประชาชนทำการสนับสนุนรัฐประหาร ? ทำไมขบวนประชาชนถึงไม่ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับขบวนการประชาธิปไตย หรือต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย ขับไล่รัฐประหาร แต่กลับต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับขบวนการชาตินิยม นิยมอำนาจทหารและอนุรักษ์นิยมเพื่อขับไล่ประชาธิปไตยแทน ?
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดให้มีวิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมายโดยให้นักศึกษาทำโครงงานกฎหมายเพื่อช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำแก่ประชาชน กลุ่มหนึ่งในวิชานี่เลือกหัวข้อ "SMSกินตังค์" ซึ่งเป็นหัวข้อเกี่ยวกับ ผู้ประกอบการโทรคมนาคมส่ง SMS ให้แก้ผู้บริโภคโดยผู้บริโภคไม่ได้สมัครใช้บริการและเป็นเหตุให้ผู้บริโภคเสียค่าบริการ
ในสังคมอารยะ รัฐจะต้องไม่ทำลายอุดมคติเพื่อมวลมนุษยชาติและการใช้อำนาจจะต้องยึดโยงกับประชาชน ไม่ใช่เพื่อสร้างระบบราชการอันเข้มแข็งที่ทำลายความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ในการใช้ชีวิตของประชาชน
องค์กรสิทธิมนุษยชนไทยและต่างประเทศจัดงานรำลึก 12 ปี กับการหายตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร กับช่องโหว่ในคำพิพากษาศาลยุติธรรม ทั้งนี้องค์กรต่างๆ เรียกร้องให้มีการสอบสวนคดีดังกล่าวอีกครั้ง และให้ประเทศไทยดำเนินการตามอนุสัญญาระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด