เราพูดคุยกับ สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ 'บ.ก.ลายจุด' เพื่อให้เขาช่วยมองการทำงานของเว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) และสะท้อนภาพรวมของสังคมไทยปัจจุบัน นอกจากนี้เรายังชวนคุยถึงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้นกลางปีนี้ ว่าจะเอายังไงดี?
เว็บไซต์ประชามติเข้าพูดคุยกับ บัณฑูร เศรษฐศิโรจน์ อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ถึงสถานการณ์การมีส่วนร่วมของประชาชนบนโลกออนไลน์ปี 2558 อนาคตของร่างรัฐธรรมนูญและการออกเสียงประชามติ รวมทั้งทางออกหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องคว่ำไปอีกรอบ
สถานการณ์ทางการเมืองตลอดปี 2558 มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมไทย และการทำงานของเว็บไซต์ประชามติ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข หนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ จะมาสรุปบทเรียนในปีที่ผ่านมา และมองเป้าหมายการทำงานในอนาคตของเว็บไซต์
จากการทำงานมาเกือบหนึ่งปีของเว็บไซต์ประชามติพบว่า มีความคิดเห็นมากมายที่หลบซ่อนอยู่ในสังคม เราจึงขอให้โตมร ศุขปรีชา คอลัมนิสต์ และพิธีกรรายการ "วัฒนธรรมชุบแป้งทอด" หนึ่งในผู้เฝ้ามองสังคมไทย เป็นผู้วิเคราะห์สิ่งที่ซ่อนอยู่ในผลการโหวตของเว็บไซต์
“จอน อึ๊งภากรณ์” ผู้ผลักดันเว็บไซต์ประชามติได้ย้อนทบทวนการทำงานของเว็บไซต์ประชามติที่ผ่านมาว่ามีส่วนสร้างการมีส่วนร่วมในสังคมได้แค่ไหน และมองไปข้างหน้าว่าในปี 2559 นี้ที่รัฐบาลบอกว่าจะมีการทำประชามติจริงนั้น ทิศทางของเว็บประชามติจะเป็นอย่างไร
เปิดผลโหวตเว็บประชามติ 92 % ไม่เห็นด้วย การเรียกกำลังพลสำรอง เพราะกำลังพลปัจจุบันมีจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อนายจ้างที่ยังต้องจ่ายเงินเดือน เพิ่มภาระทางครอบครัวต่อคนทำงาน และอาจเปิดช่องให้มีการคอร์รัปชั่น แนะควรเพิ่มประสิทธิกองทัพด้วยเทคโนโลยีมากกว่าปริมาณกำลังพล
25 พฤศจิกายนของทุกปี ทั่วโลกจะรณรงค์ต่อต้านการยุติการความรุนแรงต่อผู้หญิง คุณนึกถึงใครบ้าง เด็กผู้หญิงที่โดนบังคับให้แต่งงาน ภรรยาที่ถูกสามีทำร้าย นักโทษหญิง แต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันเนล ประเทศไทยอยากจะขอพูดถึง คือ พนักงานบริการ ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง เช่นกัน
หัวหน้า คสช.ใช้มาตรา 44 ของรธน.ชั่วคราว 2557 ยุบ กก.ประกันสังคมปัจจุบัน เพื่อการปฏิรูปประกันสังคม ในขณะที่ กม.ประกันสังคม เพิ่งแก้ไขใหม่ และจะมีการเลือกตั้งกก.ประกันสังคม ในต้นปีหน้า คำถามคือการใช้อำนาจครั้งนี้เป็นการปฏิรูปประกันสังคมจริงหรือ?
ประชาธิปไตยจำเป็นต่อเศรษฐกิจแค่ไหน? ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย มักมีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดี หรือการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดี ต่างหากจึงจะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง? คำถามเหล่านี้ อาร์ม ตั้้งนิรันดร นักวิชาการผู้ชื่นชอบประเด็นกฎหมายกับการพัฒนาตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจต่อประเด็นเหล่านี้ว่าอย่างไร? ชวนอ่าน
เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ โต้งแย้งบทความของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เรื่องอำนาจจัดทำ‘แผนแม่บทบริหารจัดการแร่’ ในร่างพ.ร.บ.แร่ ชี้ถึงแม้จะมีแผนแม่บทก็ต้องยึดการแบ่ง Mining Zone เป็นหลัก ไม่อาจเขียนแผนแม่บทกระทบการแบ่ง Mining Zone ได้