กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) เรียกร้องให้สังคมไทยร่วมกันกดดันมิให้รัฐบาลชั่วคราวตัดสินใจเข้าร่วมใน TPP โดยอ้างเหตุผลเกี่ยวกับผลประโยชน์ของบางสินค้าและบางอุตสาหกรรม โดยมิได้พิจารณาผลกระทบต่อประชาชน ฐานทรัพยากร และอธิปไตยของประเทศ
เว็บไซต์ประชามติชวนประชาชนร่วมกิจกรรม “รัฐธรรมนูญแบบไหนไม่เอาแล้ว?” ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ในวันที่ 11 ต.ค.58 ผลจากการสำรวจความเห็นพบว่า ส่วนใหญ่ ไม่เอารัฐธรรมนูญที่มาจากการร่างของคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มเดียวโดยประชาชนไม่มีส่วนร่วม และเบื่อหน่ายกับการร่างรัฐธรรมนูญแล้วถูกฉีกซ้ำๆ
กระแสรัฐธรรมนูญกลับมาอีกครั้ง ล่าสุดมีการจัดงานเสวนาหัวข้อ "รัฐธรรมนูญของปวงชนจากหลากหลายมิติ" โดยเชิญนักวิชาการจากหลายสาขามาสะท้อนมุมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ขณะที่เว็บ Prachamati.org ก็เชิญชวนประชาชนติดแฮชแท็ก #ไม่เอาแล้ว เพื่อร่วมกันบอกว่ารัฐธรรมนูญแบบไหนที่ไม่เอาแล้ว?
ผิดหรือไม่? ถูกหรือไม่? ที่พลเมืองเน็ตแห่กันเข้าเว็บไซต์ของรัฐจนเล่มนั้น จะเข้าข่ายปฏิบัติการที่เรียกว่า DDos attack แล้วจะผิดกฎมายตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือเปล่า? หาคำตอบกับ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ตได้ที่นี้
เครือข่ายของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนตั้งข้อสังเกตว่า พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 อาจเป็นการ “ฟอกชมพู” ที่ดูเหมือนจะมีพัฒนาการทางความเท่าเทียมระหว่างเพศ แต่กลับมีส่วนที่ไม่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอยู่
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนออกความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญว่า "ไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์รัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย" มีแต่จะทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ จำกัดอำนาจของผู้แทนประชาชน รวมไปถึงมีกลไกพิเศษยึดอำนาจอย่างชอบธรรม
การทำรัฐประหารเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย และขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่มีความชอบธรรม เนื่องจากองค์กรที่เข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่าง ไม่มีองค์กรใดที่มีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน รวมถึงขั้นตอนการลงประชามติยังขัดหลักการลงคะแนนเสียงโดยเสรี
ปัจจุบันความเคลื่อนไหวของร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรดำเนินถึงขั้นตอนที่ยกร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราทั้งฉบับเสร็จสิ้นแล้วและนำร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ณ ช่วงเวลานี้เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญได้ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีความเห็นต่อความไม่ชอบธรรมทางประชาธิปไตยและความบกพร่องทางเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ 4 ประการ
ก่อนที่สภาปฏิรูปแห่งชาติจะลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) มีข้อสังเกตและไม่เห็นด้วยต่อมาตรา 183 ว่าด้วยการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ เพราะเห็นว่าไม่อาจสร้างกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุล การมีส่วนร่วม ระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญข้อหนึ่งในระบอบการเมืองประชาธิปไตย
คำตอบของผู้ร่าง รธน. ฉบับใหม่ เรียกว่ามีความคิดสร้างสรรค์ยิ่งกว่า รธน. ฉบับใดๆ ในอดีต เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่สุดยอดมาก ผมพอเข้าใจเหตุผลที่สุดยอดของผู้ร่าง เพียงแต่ผมอดคิดไม่ได้ว่า คำถามของยูเป็นคำถามที่ผิดอะนะ