หลังจากที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ถูกยุบไป ตามรัฐธรรมนูญชั่คราว 2557 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ตั้งสภาขับเคลือนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ขึ้นมาสานงานด้านปฏิรูปต่อจาก สปช. โดยมีสมาชิกไม่เกิน 200 คน มาจากการแต่งตั้งของนายกรัฐมนตรีทั้งหมด ทั้งนี้ สปท. จะไม่มีหน้าที่ในการลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเหมือน สปช.
รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกคำสั่งให้จัดตั้ง single gateway ดอน สัมพันธ์ธารักษ์ จากวารสาร Telecomasian เกาะติดประเด็นนี้อย่างใกล้ชิด เราจะมาคุยกับเขาถึงที่มาและผลกระทบของ single gateway อย่างคร่าวๆ กัน
ภายหลังมีการเปิดเผยว่ารัฐเตรียม "การจัดตั้ง single gateway" และภาคประชาชนหลายหมื่นก็ออกมาคัดค้าน ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้เราต้องขอกูรูเปิดวิชา #SingleGateway101 เพื่อทำความเข้าใจถึงผลกระทบไปพร้อมๆกัน
สปช. เสนอจัดตั้งธนาคารแรงงานเพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบและสนับสนุนให้คนงานมีเงินออม ข้อเสนอนี้ดูเหมือนจะเป็นความหวังของผู้ใช้แรงงาน แต่สิ่งสำคัญที่ขาดหายไปคือการฟังเสียงของผู้เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าง “คนงาน” ทำให้ธนาคารอาจไม่สามารถเป็นที่พึ่งของพวกเขาได้ เห็นได้ชัดจากโครงสร้างกรรมการธนาคารที่รัฐเป็นคนแต่งตั้งทั้งหมด
สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตป.ป.ช. มองข้อดีข้อเสียจากข้อเสนอปฏิรูปปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นของสปช. ระบุ ปัญหาตอนนี้ไม่ต้องแก้กฎหมาย คดีที่ล่าช้าต้องแก้ที่ระบบภายใน หลักสูตร ‘โตไปไม่โกง’ เป็นข้อเสนอที่ดี แต่ไม่จำเป็นต้องกำหนดชั่วโมง
ข้อเสนอการปฏิรูปท้องถิ่นของ สปช. มีสาระสำคัญคือการกระจายอำนาจและโอนถ่ายภารกิจไปยังท้องถิ่น แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียด กลับพบข้อเสนอที่ย้อนแย้งต่อหลักการกระจายอำนาจ เช่น การเพิ่มบทบาทกำกับดูแลท้องถิ่น จึงชวนให้สงสัยว่า ข้อเสนอการปฏิรูปท้องถิ่นของ สปช. มีทิศทางอย่างไรกันแน่
ประวัติศาสตร์ฉบับย่อ เกี่ยวกับคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 3 ชุด และการร่างรัฐธรรมนูญในรอบ 20 ปี น่าจะช่วยเราตอบคำถามว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่พึงปรารถนาควรมีที่มาอย่างไร? ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลแบบใด? และเราจะยังวนเวียนอยู่กับนักร่างรัฐธรรมนูญหน้าเก่าต่อไปอีกหรือ?
ข้อเสนอที่ สปช. ทำไว้มีความเป็นไปได้ที่จะถูกสานต่อโดย "สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป" แต่ทว่า ข้อเสนอที่ สปช. ทำไว้ก็ยังมีประเด็นหาอยู่มาก อาทิ วาระการปฏิรูปสื่อ ที่จะต้องให้สื่อมีความรับผิดชอบ ปลอดจากการครอบงำโดยทุนและรัฐ และมีองค์กรกำกับดูแล
ภายใต้กระแส "ปฎิรูปก่อนเลือกตั้ง" ทำให้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ ต้องสร้างโรงงานแห่งการปฎิรูปขึ้น ในนาม สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) อย่างไรก็ดี ผลงานของ สปช. กลับไม่ได้ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นมากนัก ทั้งที่ มีข้อเสนอจำนวนมาก ดังนั้นเราจึงขอ "ไฮไลท์" ผลงานให้สังคมได้พิจารณากัน
สรุปการทำงาน 11 เดือน ของสปช. มีข้อเสนอการปฏิรูปรวม 505 ข้อเสนอ จัดทำออกเป็น 62 เล่ม โดยใช้งบประมาณแผ่นดินไปกว่า 700 ล้านบาท ขณะที่ข้อเสนอส่วนมากยังเป็นแค่นามธรรม ไม่มีรายละเอียด หลักคิดยังมีปัญหาเพราะเน้นไปที่การตั้งหน่วยงานใหม่ ออกกฎหมายใหม่ และไม่มีการจัดลำดับความสำคัญ มีกำหนดเสร็จอีก 17 ปี