Section 44 of the Interim Constitution of 2014 (the “Interim Constitution”), which was promulgated by the National Council for Peace and Order (NCPO) on 22nd May 2014, has been heavily criticized for its dictatorial nature and the absolute power solely consolidated into the Head of the NCPO.
หากมีสถานที่ใดดูเร้นลับ หนึ่งในนั้นคงต้องมี "เรือนจำชั่วคราว มทบ.11" อยู่ด้วย เพราะการไม่เปิดเผยพื้นที่คุมขัง ผู้ต้องหาต้องปิดตาและได้รับการคุ้มกันจากทหาร และการถามคำถามผู้ต้องหาก็ต้องขออนุญาต จากคำบอกเล่าของทนายที่เข้าไปเยี่ยมลูกความ ช่วยตอกย้ำว่าสถานที่ดังกล่าว "หวงห้าม" เพียงใด
กฎหมายการชุมนุมสาธารณะ: ความจริง-ปัญหา-ความท้าทาย เป็นการสรุปการเสวนาวิชาการในหัวข้อ "พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ สิทธิโดยชอบ หรือกรอบจำกัด" โดยมีมีสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือบ.ก.ลายจุด และพล.ต.ต.ศรกฤษณ์ แก้วผลึก ผู้บังคับการกองบังคับการฝึกอบรมตำรวจกลาง เป็นผู้ร่วมเสวนา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรือนจำพิเศษเป็นสถานที่ไว้ขังผู้ต้องหาที่ยังไม่ถูกตัดสินจากศาลทั่วไป เดือนก.ย.2558 มีการตั้งเรือนจำพิเศษที่ มทบ.11 ถึงวันที่ 9 พ.ย.2558 มีผู้ต้องหาเสียชีวิตจากที่นั่น 2 คน ชวนตั้งคำถามถึงความไม่ชอบมาพากลในการนำผู้ต้องหาไปไว้ในการดูแลของทหาร
การโกนผมมีความแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่และเวลา ในกระบวนการยุติธรรมการโกนหัวนั่นแสดงถึงอำนาจของรัฐในการควบคุมประชาชน โดยผู้ที่โกนจะถูกตราว่าเป็นผู้กระทำผิด และเป็นการประจานทำให้อับอายและเสียชื่อเสียง ทั้งๆ ที่ในบางกรณีตัวผู้ต้องหาเองยังไม่ได้ถูกจำคุกหรือถูกศาลตัดสินว่ามีความผิด
ข่าวผู้ต้องหาคดีแอบอ้างสถาบันฯ เสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัว เป็นที่สนใจของสังคม แต่ไม่ปรากฏรายงานข่าวว่ามีการ "ชันสูตรพลิกศพ" หรือ "ไต่สวนการตาย" โดยศาล เพื่อหาสาเหตุของการตายที่แท้จริงหรือไม่ ทั้งที่เป็นกระบวนการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำ พิจารณาเปรียบเทียบกับการตาย "อากงSMS" และ "สุรกริช"
เรื่องราวของขบวนการประชาธิปไตยที่กวางจูและเกาหลีใต้ไม่เป็นที่รับรู้มากนักในสังคมไทย ช่วงเวลาประมาณสองสัปดาห์ที่กวางจูทำให้ผู้เขียนเห็นภาพเปรียบเทียบบางอย่างของเกาหลีใต้กับประเทศไทย จึงขอนำประสบการณ์จากการเดินทางครั้งนี้มาแบ่งปัน
ประธาน สนช, เคยกล่าวว่า การให้พลเรือนขึ้นศาลทหารเป็นเรื่องปกติที่เคยปฎิบัติต่อกันมาตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ แต่จากเอกสารที่ สมลักษณ์ จัดกระบวนพล ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช. และอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา บันทึกไว้กลับให้ความจริงคนละชุดกัน
มีชัย ฤชุพันธ์ุ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ คนล่าสุด ผู้มีประสบการณ์โชกโชนในวงการเมืองและกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรอบ 20 ปัหลังเมื่อเกิดรัฐประหารเขาจะเป็นคนแรกที่ทหารคิดถึง ชวนทำความรู้จักมีชัย และความคิดบ้างส่วนของเขา
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558 มีการเปิดเผยชื่อคณะกรรมาการร่างรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีเสียงอีกด้านที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ "จ่านิว" นักศึกษาจากรั้วธรรมศาสตร์ ลองเปิดใจรับฟังเหตุผล และคำตอบของคำถามที่ว่า "รัฐธรรมนูญแบบไหน ไม่เอาแล้ว"