ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ได้เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวาระเริ่มแรกมี 250 คน มาจาการคัดลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกือบทั้งหมด และมี ส.ว.โดยตำแหน่งที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ 6 คน ด้วยเหตุว่าจะเข้ามาประคับประคองประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี
หนึ่งในข้อถกเถียงต่อร่างรัฐธรรมนูญที่สังคมสนใจ คือ การเปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือ 'นายกฯ คนนอก' ซึ่งเป็นประเด็นที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของไทย สุดท้ายร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะนำไปลงประชามติก็เปิดทางให้รัฐสภาตั้ง 'นายกฯ คนนอก' ได้อีกครั้ง สำหรับการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงครั้งเดียว
วิธีการปราบโกงที่ดีเป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องยากที่จะหาคำตอบ แต่ทว่าเมื่อ มีชัย ฤชุพันธ์ ในฐานะประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญได้อวดสรรพคุณร่างรัฐธรรมนูญของตนว่า เป็นฉบับ "ปราบโกง" ดังนั้น มันจึงควรค่าแก่การศึกษาว่าอะไรที่เรียกว่าปราบโกง และมันมีขั้นตอนอย่างไร
เดือนกุมภาพันธ์ 2559 ตำรวจและทหาร อ้างและใช้กฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมสามฉบับอย่างผิดเพี้ยน ทับซ้อนกัน จนสับสนวุ่นวายไปหมด หวังหยุดการเคลื่อนไหวภาคประชาชน แต่วิธีการนี้ไม่อาจบรรลุผลตราบที่ภาคประชาชนไทยยังเข้มแข็งพอ และสังคมพร้อมสนับสนุนไปด้วยกัน
ความมั่นคงและความเป็นส่วนตัวเป็นเพียงทางเลือกที่ได้อย่างก็ต้องเสียอย่างจริงหรือไม่ ความเป็นส่วนตัวอยู่ร่วมกับความมั่นคงได้หรือเปล่า มาร่วมหาคำตอบกับอาจารย์ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปด้วยกันได้เลย
ปิดรับข้อเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 สนช.ได้ส่งความคิดเห็นเพื่อให้ กรธ. พิจารณาแก้ไขให้ร่างรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการออกเสียงประชามติในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2559 โดย สนช.มีข้อเสนอหลายประเด็นที่น่าสนใจ
ภาคประชาชนระบุในงานเสวนา “เมื่อสิทธิชุมชนในร่างรัฐธรรมนูญหายไป ชาวบ้านจะพึ่งพาใคร?” เมื่อร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ไม่เขียนเรื่องสิทธิชุมชน ชาวบ้านไร้สิทธิปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หวั่นหลังรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ คำสั่งหัวหน้า คสช. ทั้งหมดกลายเป็นกฎหมาย ทั้งที่มีเนื้อหาละเมิดสิทธิชัดเจนและปิดกั้นเสียงประชาชน
รัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องอาศัยพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายลูกมาขยายความในรายละเอียด ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 กำหนดให้ร่างกฎหมายลูกอีก 10 ฉบับ และให้กรธ. มีเวลาอีกแปดเดือนเพื่อร่างเองทั้งหมด จึงนำมาสู่ข้อครหาว่าพยายามอยู่ในอำนาจต่อ โดยเอากฎหมายลูกเป็นข้ออ้าง
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย เขียนให้แก้ไขยากมาก จะแก้ไขได้ส.ว. 1 ใน 3 ต้องลงมติเห็นชอบ และต้องมีส.ส.ทุกพรรคลงมติเห็นชอบด้วย ในประเด็นหลักการใหญ่ รวมทั้งเรื่องคุณสมบัติไม่เคยทุจริตของนักการเมือง การแก้ไขต้องผ่านประชามติก่อน สุดท้ายยังอาจถูกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญคว่ำได้อีกชั้นหนึ่ง
ภายหลังที่มีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของ “มีชัย ฤชุพันธุ์” ไม่นานกระแสวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญก็ทยอยออกมาไม่ว่าจะเป็นความเห็นจากอดีตสมาชิกสภาปฏิรูแห่งชาติ นักการเมือง พรรคการเมือง นักวิชาการ นักกฎหมาย และภาคประชาสังคม ทั้งนี้ เราได้ทำการรวบรวมความเห็นส่วนหนึ่งไว้เพื่อสะท้อนมุมมองของแต่ละฝ่ายว่ามีความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร