กว่าห้าทศวรรษรัฐบาลพยายามทั้งเดินหน้าทั้งหยุดโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หนึ่งก็ด้วยการต่อต้านในพื้นที่ต่างๆ อีกหนึ่งก็คือการเปลี่ยนทางเลือกใช้พลังงานในระดับโลก ตอนนี้ยุคของรัฐบาล คสช.แผนการจัดสร้างโรงไฟฟ้าถูกอนุมัติอีกครั้ง สำหรับประเทศไทยจะเป็น “ความหวัง” หรือ “หายนะ”?
รายละเอียดหนังสือร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มาตรา 61 วรรคสองและวรรคสี่ ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญ
วันนี้ (27 เมษายน 2559) มีรายงานผ่านโลกออนไลน์เป็นระยะว่า ประชาชนคนธรรมดาถูกจับกุมและพาตัวไปจากบ้านตั้งแต่เวลารุ่งเช้า ท่ามกลางความสับสนของการใช้อำนาจจับกุมตัวบุคคลดังกล่าว ไอลอว์มีข้อสังเกตต่อเหตุการณ์ครั้งiนี้ว่า มันมีปัญหาในแง่ อำนาจที่ใช้กับฐานความผิดไม่สอดคล้องกัน
คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 13/2559 คือ ยาแรงตัวใหม่ที่ คสช. ใช้เพื่อจัดการคนทำความผิด โดยให้ทหารเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่จับกุม สอบสวน ดำเนินคดี แต่ทว่า ผลลัพธ์ของการใช้ยาแรงที่ผ่านมา อาทิ กฎอัยการศึก หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ก็ดี สิ่งเหล่านี้กลับไม่ได้ให้ผลลัพธ์ดีอย่างที่คิดเสมอไป
ร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ฉบับลงประชามติ ไม่เขียนให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ตัดเรื่องการเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาออก และเขียนนวัตกรรมใหม่ให้รัฐต้องส่งเสริมและเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพิ่มข้อยกเว้นเสรีภาพในการนับถือศาสนาต้อง "ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ"
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติของมีชัย ฤชุพันธ์ ยังยืนยันในรูปแบบที่คิดค้นขึ้นใหม่ คือระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ MMA โดยเชื่อมั่นว่าจะช่วยให้เสียงทุกเสียงมีความหมาย ขณะที่นักวิชาการพรรคการเมืองสะท้อนว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดรัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพ มีโอกาสที่จะซื้อเสียงมากขึ้น และไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของผู้ออกเสียง ฯลฯ
การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีการตั้งเงื่อนไขหลายข้อ เช่น การแก้ไขบททั่วไป หมวดพระมหากษัตริย์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ อำนาจหน้าที่ของศาลหรือองค์กรอิสระจะต้องผ่านการทำประชามติก่อน ส่วนขั้นตอนในการพิจารณาวาระต่างๆ ก็ต้องใช้เสียงของสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 3 และความเห็นชอบจากพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
หลายครั้งเวลาเกิดปัญหา เราสามารถที่จะเรียนรู้จากอดีตหรือมิตรสหายได้ ทั้งนี้ เมื่อประเทศไทยกำลังจะมี "กฎหมายสอดส่อง" จึงต้องขอยกบทเรียนจากต่างประเทศมาพิสูจน์ให้เห็นว่า อำนาจจากกฎหมายดังกล่าวกำลังก่อให้เกิดปัญหาอย่างไร และคุ้มค่าแล้วหรือไม่
หนึ่งในประเด็นที่สังคมให้ความสนใจก็คือเรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะนับตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญของบวรศักดิ์ อุววรณโณ จนถึงมีชัย ฤชุพันธ์ ทั้งสองร่างให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกลไกหนึ่งที่มีอำนาจควบคุมการบริหารประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อรัฐบาลต่อไปอย่างแน่นอน
หลังจากที่ได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติแล้ว คำถามต่อไปสำหรับหลายๆ คนที่อาจมองข้ามการทำประชามติไปเลยก็คือ แล้วเมื่อไหร่จะได้เลือกตั้ง? เรารวบรวมระยะเวลาที่ใช้ในระหว่างเดินไปสู่การเลือกตั้ง จนได้ข้อสรุปว่า กว่าจะได้เลือกตั้งต้องใช้เวลาถึง 480 วัน หรือ 16 เดือน นับจากวันลงประชามติ หรือให้ชัดกว่านั้นคือ ประมาณเดือนธันวาคม 2560