เมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับ "มีชัย" เผยโฉม หนึ่งในประเด็นที่ต้องจับตาก็คือส่วนของบทเฉพาะกาลที่ได้ขยายระยะเวลาโรดแมปจากเดิมที่เป็นสูตร 6-4-6-4 เป็น 6-4-8-2-5 นั้นหมายความว่า ถ้าประชามติร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ประชาชนต้องอยู่กับ คสช. ไปอีกอย่างน้อย 5 เดือน
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 ร่างแรกถูกเผยแพร่เรียบร้อย หากไม่เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองเส้นทางของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะจบลงที่การทำประชามติ ระยะเวลาประมาณห้าเดือนหลังจากนี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญในการกำหนดทิศทางการออกเสียงประชามติ
บทบรรณาธิการจากไอลอว์ หลังติดตามเก็บข้อมูลการลักพาตัวผู้คนภายใต้รัฐบาลคสช.มาตั้งแต่หลังยึดอำนาจ จนถึงกรณีล่าสุดการบุกอุ้ม "จ่านิว" จากหน้ามหาวิทยาลัยกลางดึก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงถูกบังคับให้สูญหายได้ทุกเมื่อ
พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ เริ่มใช้จริงได้ไม่นาน ก็บันทึกปรากฏการณ์ได้หลายต่อหลายครั้ง ที่ทั้งตำรวจ ทหาร และผู้นำระดับบิ๊กเนม อ้างพ.ร.บ.ชุมนุมฯ เพื่อให้ประชาชนเลิกชุมนุมหรือไม่กล้าทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งในเรื่องการเมือง เรื่องปากท้อง เรื่องสิ่งแวดล้อม และเรื่องอื่นๆ
ความสับสนของการตีความกันเองของเจ้าหน้าที่รัฐ-ประชาชน ว่าการกระทำใดผิดหรือไม่ผิด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักการบางอย่างสอดแทรกในข้อถกเถียง รณกรณ์ บุญมี จะช่วยเรามองหน้าตาของสังคมไทยและกระบวนการยุติธรรมที่ควรจะเป็นไปนับจากนี้
ปี 2558 มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นภายใต้การปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จากการติดตามประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การจับกุมและดำเนินคดีทางการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมายและออกนโยบาย ใกล้สิ้นปีไอลอว์จึงขอหยิบเรื่องราว 10 เรื่องที่ถือว่าโดดเด่นและน่าจดจำที่สุด ในสายตาและการทำงานของเราตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา ให้ได้หวนระลึกกันอีกครั้ง
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ระบุ การรัฐประหารไม่ได้ง่ายดายอีกต่อไป เพราะมาเจอกับโลกไซเบอร์ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมการรัฐประหารครั้งนี้ทหารถึงต้องเข้ามาแทรกแซงโลกไซเบอร์จำนวนมาก เพราะเป็นพื้นที่ใหม่ที่ควบคุมไม่ค่อยได้ เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นยังพอควบคุมได้ด้วยการเชิญไปพูดคุย
วงเสวนาชี้ รัฐใช้มาตรา 44 พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษกระทบชาวบ้านหนัก และไม่กระตุ้นเศรษฐกิจเพราะนักลงทุนไม่กล้าเข้ามาเกรงมีปัญหากับชาวบ้าน ขณะที่เอ็นจีโอกังวลว่ารัฐอาจใช้มาตรา 44 ซ้ำ เพื่อจัดทำผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้ง่ายขึ้น และห้ามชาวบ้านโต้แย้งสิทธิในที่ดิน
ในงานเสวนาหัวข้อ “กฎหมาย VS การทำรายการโทรทัศน์” ตัวแทนจากฝั่งวิชาชีพสื่อ นักวิชาการ และกสทช. เห็นตรงกันว่า สามปัจจัยหลักที่จำกัดเสรีภาพสื่อโทรทัศน์ ได้แก่ ปัญหาการตีความมาตรา 37 กระบวนการคัดแยกเรื่องร้องเรียน และการที่คสช. ใช้ กสทช. เป็นกลไกในการควบคุมทีวีการเมือง
การควบคุมตัวนักโทษคดีความมั่นคงในสถานที่พิเศษ เกิดขึ้นหลายครั้งแล้วในประวัติศาสตร์ไทย เช่น ที่ทัณฑสถานเกาะตะรุเตา "แดนพิเศษ" ในเรือนจำบางขวาง หรือเรือนจำพิเศษหลักสี่ ก่อนที่ในยุคปัจจุบันจะประกาศให้ค่ายทหาร มทบ.11 เป็นที่ตั้งของเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี