ก่อนจะมาถึงข้อวิเคราะห์ให้การชุมนุมเป็นการล้มล้างระบอบการปกครองฯ และคำสั่งห้ามกระทำการลักษณะเดิมอีก วิธีพิจารณาคดีและทำคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญมีข้อสงสัยและปัญหาในทางกฎหมายที่ต้องพิจารณาหลายประการ
ไอลอว์เปิดแบบสอบถาม เช็คความคิดเห็นคนในสังคมเกี่ยวกับ #สมรสเท่าเทียม ก่อนศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่าประมวลกฎหมายแพ่งฯ ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ในวันที่ 17 พ.ย. 64 ผู้ตอบแบบสอบถาม 99.9% เห็นด้วยให้มีกฎหมายรับรองสิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศ
ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติว่าประมวลกฎหมายแพ่งฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 17 พ.ย. 2564 ชวนรับฟังเสียงจาก “ลูกหมี” และ “ซัน” ที่จะมาแชร์เรื่องราว มุมมอง สิ่งที่อยากบอกกับคนอื่นๆ และข้อเรียกร้องต่อรัฐสภาอันเป็นผู้แทนประชาชน
ที่ผ่านมา ภาคประชาชนมีความพยายามจะจัดการกับปัญหาตุลาการภิวัฒน์และการแทรงแซงความเป็นอิสระของศาลรัฐธรรมนูญด้วยการเสนอร่างรัฐธรรมนูญให้ "เซ็ตซีโร่องค์กรอิสระ" หรือทำการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใหม่แบบยกชุดไปแล้วหนึ่งครั้ง แต่ผลคือร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกตีตกไป จนกระทั่ง มีการเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง ที่เรียกกันว่า "ร่างรื้อระบอบประยุทธ์" ที่นำโดยกลุุ่ม Resolution ที่มาพร้อมกับข้อเสนอในการจัดการกับสิ่งที่เรียกว่า "ตุลาการภิวัฒน์"
ข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ "รื้อระบอบประยุทธ์" จากกลุ่ม Resolution ที่มาจากการเข้าชื่อของประชาชนเตรียมเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา อีกครั้งหนึ่ง ถือเป็นภาคสามของการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 และเป็นครั้งที่สองที่ร่างจากประชาชนได้เข้าสู่สภา เนื้อหาสำคัญคือเสนอให้ยกเลิกวุฒิสภา แต่ยังคงต้องการเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. ด้วย
10 พฤศจิกายน 2564 ศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่ผลงาน "ช้ินโบว์แดง" อ่านคำวินิจฉัยในคดี "ล้มล้างการปกครอง" สั่งว่า การปราศรัยของอานนท์ นำภา, ไมค์ ภาณุพงศ์, รุ้ง ปนัสยา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เข้าข่ายการกระทำที่ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ทว่า ข้อเท็จจริงที่ศาลอ้างในคำวินิจฉัยกลับมีจุดที่ไม่กระจ่างอยู่หลายจุด
10 พฤศจิกายน 2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิฉัยให้การปราศรัยของ อานนท์ นำภา รุ้ง-ปนัสยา และ ไมค์ ภาณุพงศ์ เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพอันเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมห้ามกระทำการในลักษณะเดียวกันอีกในอนาคต ซึ่งคำวินิจฉัยยนี้ย่อมส่งผลต่อขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยที่ต่อสู้เพื่อสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวอย่างเท่าเทียมกัน แต่อีกหลายประเทศทั่วโลกล้วนผ่านขั้นตอนการต่อสู้มาแล้ว บ้างไปถึงปลายทางของสมรสเท่าเทียม แต่จำนวนไม่น้อยยังคงเก็บชัยชนะระหว่างทางอยู่
10 พฤศจิกายน 2564 ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยคดี "ล้มล้างการปกครองฯ" สืบเนื่องจากวันที่ 3 กันยายน 2563 ที่ณฐพร โตประยูร ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้ศาลสั่ง "เลิกการกระทำ" เพราะเหตุปราศรัยเรียกร้องในประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ ขัดกับรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 49
นิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่มีอัตราการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ต่อจำนวนประชากรในระดับที่ค่อนข้างต่ำ แม้นิวซีแลนด์จะไม่มีมาตรการเคอร์ฟิว ห้ามออกนอกจากเคหสถานในยามวิกาล แต่ก็ใช้ "ระบบเตือนภัยสี่ระดับ" เลือกใช้มาตรการได้ตามความรุนแรงของสถานการณ์