ทวิตเตอร์ออกรายงาน Protecting the Open Internet: Regulatory Principlesfor Policy Makers เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้กำหนดนโยบายในการออกข้อบังคับบนโลกอินเตอร์เน็ต ความท้าทายที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข ในขณะที่ก็ยังปกป้องหลัก Open Internet ที่เสรีและเปิดกว้างให้กับทุกคนเอาไว้
ชวนคุยกับรองศาสตราจารย์เวียงรัฐ เนติโพธิ์ ถึงประเด็นสำคัญที่น่าจับตาในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่กำลังจะเกิดขึ้น การเลือกตั้ง อบต. ที่จะถึงนี้มีความสำคัญอย่างไร อะไรคือปัญหาของการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาของไทย และประชาชนจะร่วมกันพัฒนาการปกครองท้องถิ่นให้ดีขึ้นได้อย่างไร
ตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 มีความพยายามแก้ไขทั้งหมดสามภาค คือ มีการเสนอและเปิดการประชุมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาลงมติกันแล้วทั้งหมดสามครั้ง ชวนดูบทวิเคราะห์การลงมติของส.ว.ทั้งสามภาค ดังนี้
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 มีกำหนดการประชุมรัฐสภา พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ "รื้อระบอบประยุทธ์" หนึ่งในข้อเสนอ คือ การใช้ "สภาเดี่ยว" ยกเลิกส.ว. เป็นวันที่สมาชิกวุฒิสภาอภิปรายน่าสนใจหลายคน ยังมีทั้งที่คัดค้านชัดเจน และคัดค้านแบบ "อ้อมๆ"
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 มีกำหนดการประชุมรัฐสภา ที่จะนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับที่เสนอโดยภาคประชาชน เข้าสู่การพิจารณา ร่างฉบับนี้มีชื่อเล่นว่าร่าง "รื้อระบอบประยุทธ์" มี ไอติม พริษฐ์, ปิยบุตร, ณัชปกร iLaw, ลูกเกด ชลธิชา และจักรินทร์ เป็นตัวแทนผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ชี้แจงร่างต่อสภา
ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติว่าประมวลกฎหมายฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 17 พ.ย. 2564 ชวนรับฟังเสียงจาก “เบิร์ด” และ “ช้าง” คู่รักที่คบกันมานานถึง 15 ปี ใช้ชีวิตร่วมกัน ทำงาน จ่ายภาษี แต่ยังไร้กฎหมายที่จะมารับรองสนับสนุนสิทธิเสรีภาพของพวกเขา
16-17 พฤศจิกายน 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีนัดพิจารณาและลงมติร่างรัฐธรรมนูญฉบับ "รื้อระบอบประยุทธ์" ที่นำโดยกลุ่ม Resolution โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีสาระสำคัญ คือ การยกเลิกวุฒิสภาแล้วกลับไปใช้ระบบ "สภาเดี่ยว" หรือ ให้เหลือแต่สภาผู้แทนราษฎรทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
เสียงจาก “เตย-แคลร์” คู่รักต่างสัญญาติ ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์และความกังวลต่างๆ ภายใต้สังคมที่ยังไม่มีกฎหมายมารับรองสถานะเฉกเช่นเดียวกันกับคู่รักชาย-หญิงทั่วไป ก่อนศาลรัฐธรรมนูญมีมติในวันที่ 17 พ.ย. 2564 ว่าประมวลกฎหมายแพ่งฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
อานนท์ มาเม้า และเข็มทองต้นสกุลรุ่งเรือง วิเคราะห์คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องในโอกาสที่ 17 พ.ย. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญจะลงมติครั้งประวัติศาสตร์ ว่าประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1448 ที่กำหนดการสมรสเฉพาะชาย-หญิง ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ อันอาจนำไปสู่ #สมรสเท่าเทียม
แม้ยุทธศาสตร์ชาติของไทยดูจะมีภาพลักษณ์ในการสืบทอดอำนาจมากกว่า แต่ก็มีตัวอย่างจากต่างประเทศมากมายที่แสดงให้เห็นถึงการมียุทธศาสตร์ชาติที่เป็นประชาธิปไตย มีการตรวจสอบและทบทวนจากหลากหลายภาคส่วน และวางรากฐานสู่อนาคตอย่างแท้จริง