หลังจากที่ดารานักแสดงหลายคนออกมาแสดงคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการต่อต้านการทุจริตในแคมเปญ #พูดหยุดโกง ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แต่หากย้อนดูจะพบว่ามีการใช้กฎหมายต่อประชาชนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นก่อนหน้านี้จำนวนไม่น้อย
เงื่อนไขที่จะทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ “ต้อง” ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้หลายช่องทาง ซึ่งการจะทำความเข้าใจวิธีการถอดถอนนายกรัฐมนตรีทั้งหมดได้ ต้องพิจารณาจากหลายมาตราประกอบกัน โดยเริ่มจากมาตราหลัก คือ มาตรา 170
จากการสลายชุมนุมหรือวิธีควบคุมการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ชุมนุมต้องเผชิญกับการใช้กำลังของตำรวจทั้งด้วยปืนฉีดน้ำแรงดันสูง แก๊สน้ำตา จนถึงกระสุนยาง กฎหมายได้ออกแบบช่องทางเพื่อให้บุคคลที่ได้รับผลกระทบสามารถได้รับการเยียวยาผ่านทาง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
คณะรัฐมนตรีกำลังจะเสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.โรคติดต่อ โดยมีบทยกเว้นความรับผิดให้เจ้าหน้าที่ ท่ามกลางกระแสข่าวการพยายามนิรโทษกรรมผู้มีอำนาจตัดสินใจเรื่องวัคซีน ซึ่งการเสนอและออกกฎหมายเพื่อยกเว้นความรับผิดเป็นเครื่องมือหลักที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ใช้มาตั้งแต่การทำรัฐประหาร 2557
สรุปความเคลื่อนไหวคดีที่สื่อมวลชนเป็นโจทก์ยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติและพวก จากกรณีได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงด้วยกระสุนยางของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสลายชุมนุม #ม็อบ18กรกฎา พร้อมยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว และคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งไต่สวนโดยฉุกเฉิน สั่งคุ้มครองไม่ให้ตำรวจใช้กระสุนยางในลักษณะนี้อีก
ยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 และจำนวนผู้เสียชีวิตรายวันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นภาพสะท้อนการบริหารจัดการวัคซีนที่ผิดพลาดของรัฐบาล จนเป็นสาเหตุ "นิรโทษกรรม" ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาวัคซีน ซึ่งที่ผ่านมามีใครที่เกี่ยวข้องและต้องรับผิดชอบบ้าง
เป็นวัยรุ่นยุคโควิด19 มันไม่ง่าย ชวนฟังความในใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยกับผลกระทบจากโควิด19 ทั้งการเรียนออนไลน์ที่ไม่ง่าย โอกาสในการเจอเพื่อนใหม่และการทำงานภาคปฏิบัติที่เสียไป และเรื่องหนักอกเมื่อ "บ้าน" อาจไม่ใช่พื้นที่เหมาะสมสำหรับการเรียนออนไลน์ และเสียงสะท้อนถึงผู้มีอำนาจว่าปัญหาใดคือเรื่องที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน
7 สิงหาคม 2564 ผู้สนับสนุนการชุมนุมใช้ #ม็อบ7สิงหา เป็นหลัก ซึ่งมีจำนวนทวิตทั้งหมด (รวมรีทวิต) มากกว่า 8 ล้านครั้ง และขึ้นเป็นเทรนด์อันดับหนึ่งประจำวัน ในอีกด้านหนึ่งก็ปรากฏแฮชแท็กของผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมด้วยเช่นกัน แม้จะมีจำนวนไม่มากเท่ากับแฮชแท็กของผู้ชุมนุม แต่ #ม็อบต้องการคนตาย ก็มีจำนวนทวิตมากกว่า 3 แสนครั้ง โดยในจำนวนนี้ประกอบไปด้วยทั้งทวิตจากกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมและกลุ่มผู้สนับสนุนการชุมนุมที่เข้าไปติดแฮชแท็กด้วยปะปนกันไป
ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระบุว่าขณะนี้มีคดีที่สื่อมวลชนที่ได้รับผลกระทบเป็นโจทก์ฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐจากการใช้กระสุนยาง จำนวน 2 คดี คือ จากเหตุการณ์การสลายการชุมนุม #ม็อบ20มีนา และ #ม็อบ18กรกฎา โดยทั้งสองคดีนั้น มีคำขอให้ศาลสั่งห้ามเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม
ดร.พัชร์ นิยมศิลป ให้ความเห็นในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญที่จะมาเบิกความประกอบการไต่สวนเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว คดีสื่อมวลชนถูกยิงด้วยกระสุนยางจากการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ