เปิดพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 กฎหมายใหม่ที่ผ่านในยุค คสช. เพื่อสานต่อนโยบาย "ทวงคืนผืนป่า" มาพร้อมกับอัตราโทษที่แรงขึ้นกว่ากฎหมายเก่าและให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตรวจค้นได้โดยไม่มีหมายหากเข้าเงื่อนไขตามกฎหมาย
"การชุมนุมโดยสงบ" เป็นสิทธิที่ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศสมาชิกจะต้องเคารพและประกันสิทธิเสรีภาพดังกล่าวให้กับบุคคล และไทยเองก็เข้าเป็นภาคีและมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ 29 มกราคม 2543
การทำงานของผู้พิพากษา จะต้องเป็นอิสระไม่ถูกแทรกแซงจากองค์กรอื่นหรือจากบุคคลที่มีอำนาจจนทำให้การตัดสินคดีไม่อิสระ การกำหนดเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และสวัสดิการผู้พิพากษาจึงต้องกำหนดให้ผู้พิพากษาดำรงชีพได้อย่างไม่เดือดร้อน แต่เงินเหล่านั้น ก็มาจากงบประมาณของแผ่นดิน
ผู้ต้องขังคือหนึ่งในประชากรกลุ่มเปราะบางต่อการติดเชื้อโควิด19 ด้วยสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำที่แออัดและการเข้าถึงเครื่องมือป้องกันการติดเชื้ออย่างหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือที่จำกัด หากมีผู้ต้องขังติดเชื้อการแพร่ระบาดก็อาจยากเกินควบคุม หนึ่งอดีตผู้ต้องขังชี้ว่าการฉีดวัคซีนที่มีคุณภาพและการให้สิทธิประกันตัวเพื่อจำกัด"ประชากรคุก" กลุ่มใหม่คือมาตรการเร่งด่วนที่ราชทัณฑ์ต้องรีบทำ
การออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในช่วงวิกฤติจะถือเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ประชาชนพึงมีตามรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่รัฐบาลก็มีความพยายามในการตีความเอาผิดการแสดงออกดังกล่าวด้วยเช่นกัน ซึ่งหนึ่งในกฎหมายที่ถูกนำมากล่าวอ้างเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นก็คือ "พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์"
หลังสัญญาจัดซื้อวัคซีน "ฉบับแรก" ที่รัฐบาลไทยทำกับบริษัทแอสตร้าเซเนก้าเพื่อสั่งซื้อวัคซีนจำนวน 26 ล้านโดส ถูกเปิดเผยออกมา พบว่า เอกสารดังกล่าวมีการขีดเส้นทีบสีดำเพื่อปกปิดข้อมูลเอาไว้ในหลายจุด การค้นหาความจริงที่หายไปจึงได้เริ่มต้นขึ้น
อันวาร์ สาและ ส.ส.ปัตตานีเขต 1 คือ หนึ่งในนักการเมืองที่ออกมาแสดงจุดยืนว่า ถึงเวลาแล้วที่พรรคประชาธิปัตย์ควรถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล ทว่าเสียงกลับไม่ได้รับความสนใจ บางคนมองว่าข้อเสนอของเขาอาจนำการเมืองไปสู่ทางตันแต่อันว่าไม่คิดเช่นนั้น เขาเชื่อว่าการถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลจะเป็นทางออก
ทำความรู้จักกับ "ส่วนราชการในพระองค์" องค์กรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ถือกำเนิดจากกฎหมายสามฉบับที่ออกในยุค คสช. ถึงแม้จะรับงบประมาณจากรัฐ แต่ไม่ใช่ส่วนราชการ ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ ระบบกฎหมายอื่นเข้าไปตรวจสอบไม่ได้
ในวาระครบรอบ 16 ปีการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล และ คณะกมธ.พัฒนาการเมืองฯ จัดเสวนาออนไลน์ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ และหาทางออกที่ดีกว่าการใช้กฎหมายพิเศษ
ทุกการระบาดใหญ่ตั้งแต่ระลอกแรกไปจนถึงการระบาดใหญ่ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา รัฐไทยยังคงหวังใช้มาตรการควบคุมทางสังคม เช่น "การล็อคดาวน์" เป็นกลไกหลัก ทั้งที่ หัวใจสำคัญ คือ มาตรการทางสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเชิงรุก การติดตามผู้ป่วย ไปจนการฉีดวัคซีน แต่รัฐไทยก็กลับละเลย