การดำเนินการของ ศบค. ทำให้เกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ถึงสามระลอก จนเกินศักยภาพในการรับมือของสาธารณสุข และการเยียวยาประชาชนก็ไม่ตรงจุดและไม่ทั่วถึง ทำให้มีการตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการมี ศบค. ในการแก้ไขปัญหาจนมีข้อเสนอในมีการยุบ ศบค. ด้วยมีเหตุผลดังนี้
ภายใต้สถานการณ์โควิดที่ระบาดต่อเนื่องจนควบคุมไม่ได้ รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ บังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อย่างต่อเนื่อง จนขณะนี้ก็ยังไม่ยกเลิกการบังคับใช้และหาเครื่องมืออื่นมาใช้แก้ปัญหาโรคระบาดแทน หนึ่งใน "เครื่องมือ" ที่พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มอบให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งไม่มีความจำเป็นในสถานการณ์โรคระบาดเลย คือ "การยกเว้นความรับผิดให้เจ้าหน้าที่"
เปิดที่มาโครงสร้าง และรายชื่อบุคคลเบื้องหลังศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) อันมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้อำนวยการศูนย์
ความเป็นไปได้ของ "การเปลี่ยนม้าศึก" หรือเปลี่ยนตัวผู้นำรัฐบาล เพราะไม่เชื่อมั่นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะไม่สามารถรับมือกับวิกฤติได้ แต่การจะ "เปลี่ยนม้าศึก" ได้หรือไม่ได้ เงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งคือ "ท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาล" โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย
มิถุนายน 2564 ศาลอาญาได้นำข้อกำหนดใหม่มาใช้โดยสั่งห้ามไม่ให้ผู้สังเกตการณ์บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องพิจารณาคดีเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล ในต่างประเทศอย่างอังกฤษและสหรัฐฯเคยเป็นประเด็นมาแล้วแต่ศาลทั้งสองประเทศต่างยืนยันว่าการจดบันทึกในห้องพิจารณาคดีนั้นเป็นสิ่งที่ "พึงกระทำได้เป็นการทั่วไป"
รัฐธรรมนูญไทยส่วนใหญ่มักไม่กำหนดที่มานายกฯ จึงเปิดโอกาสให้มีนายกฯ คนนอก ที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชนจากการเลือกตั้ง หรือไม่ได้เป็น ส.ส. เข้ามาบริหารประเทศได้ ซึ่งที่ผ่านรัฐธรรมนูญไทยได้ออกแบบกติกาเปิดทางนายกฯ คนนอกด้วยวิธีการต่างๆ
หากมองย้อนไปในประวัติศาสตร์ ข้อเสนอให้นายกฯ ต้องมาจาก ส.ส. หรือการระบุ ให้นายกฯ มาจากการเลือกตั้ง เป็นการต่อสู้และการผลักดันของประชาชน ที่ต้องแลกมาด้วยความสูญเสียในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ดังนั้น การที่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ปฏิเสธหลักการดังกล่าว และการที่บรรดา ส.ว.แต่งตั้ง ปัดตกข้อเสนอเพื่อยืนยันหลักการดังกล่าว จึงไม่ใช่แค่การหมุนทวนเข็มนาฬิกาให้ประเทศถอยหลัง แต่ยังเป็นการแสดงความไม่เคารพต่อความฝัน เลือดเนื้อ และชีวิตของวีรชนที่จากไป
จากการตรวจดูผลการลงมติแก้รัฐธรรมนูญ พบว่า การลงมติของ ส.ว. เป็นไปอย่าง “ไม่สนโลก” ไม่ว่าจะเป็นการลงมติเพื่อขัดขวางเสียงข้างมากของสภาผู้แทนฯ การขาดประชุมของ ส.ว. ที่ควบตำแหน่งผู้นำเหล่าทัพ หรือ การเปลี่ยนจุดยืนของ ส.ว. ที่เคยลงมติปิดสวิตซ์ ส.ว.
ในโอกาสครบรอบ 89 ปี เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตย ชวนย้อนดูคำปรารภในรัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงฉบับปัจจุบัน ว่าคำปรารภรัฐธรรมนูญเหล่านั้นบอกเล่าเรื่องอะไรบ้าง และ “ประชาชน” มีพื้นที่มากแค่ไหนในคำปรารภรัฐธรรมนูญ
ศึกแก้ไขรัฐธรรมนูญ ภาคสอง พรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคแกนนำฝ่ายร่วมค้านเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแยกเป็น ห้าฉบับ ห้าประเด็น อย่างไรก็ตามประเด็นการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับถูกปัดตกไปตั้งแต่ยังไม่เริ่มพิจารณาในสภา ส่งผลให้ร่างรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยที่จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเหลือเพียงสี่ประเด็น