รัฐสภาพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่สองเสร็จแล้ว จากนี้จะเข้าสู่การลงมติในวาระสาม ขั้นตอนต่างๆ จะเดินหน้าสู่การทำประชามติ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติม และจัดการเลือกตั้ง สสร. ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นในเวลาไม่นานถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญไม่สั่งคว่ำกระบวนการเสียก่อน
มาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 หรือมาตราที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการแก้รัฐธรรมนูญ คือ กุญแจสำคัญในการปลดล็อกการเมืองไทยออกจากวังวนอำนาจของคสช. และพาประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มไปได้อีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ จึงมีความพยายามของรัฐสภาที่จะแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในวาระสองเพื่อทำให้รัฐธรรมนูญแก้ง่ายขึ้น โดยให้ใช้เสียง "สามในห้า" ของรัฐสภา แต่ทว่า หลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวก็ยังคงทำให้คสช. เป็นฝ่ายได้เปรียบอยู่ดี
24 และ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมร่วมของรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสภาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จะมีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... ฉบับที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ) ได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว
สาระสำคัญของร่างแก้รัฐธรรมนูญ ฉบับ กมธ. คือ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จำนวน 200 คน โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นข้อเสนอเดียวกับร่างแก้รัฐธรรมนูญฉบับพรรคเพื่อไทย ในขณะที่ร่างแก้รัฐธรรมนูญฉบับรัฐบาลเสนอให้ สสร. มาจากการเลือกตั้ง 150 คน และมาจากการสรรหาจากกลุ่มต่างๆ อีก 50 คน
24 และ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมร่วมของรัฐสภาจะมีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... ฉบับที่คณะกรรมาธิการ ได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว โดยสาระสำคัญ คือ การเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ทว่า ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีข้อห้ามไม่ให้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่มีผลเป็นการแก้ไขหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์
สิทธิในการประกันตัว เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน แต่ทว่า สิทธิดังกล่าวกลับกลายเป็น "สิทธิที่ถูกยกเว้น" โดยเฉพาะกับผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 (คดี 112) ซึ่งเหตุผลที่ศาลใช้ในการไม่ให้สิทธิประกันตัว คือ "น้ำหนักของข้อหา" เพื่อทำให้เหตุผลเรื่องกลัวจำเลยหลบหนีหรือการกระทำความผิดซ้ำมีน้ำหนัก แต่ทว่า การให้เหตุผลของศาลทั้งกลัวการหลบหนีหรือกลัวการกระทำความผิดซ้ำ เป็นเหตุผลที่ขาดข้อเท็จจริงรองรับและขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยหรือผูู้ต้องหายังเป็นผู้บริสุทธิ์
จากการแถลงของโฆษกคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หรือ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 ระบุว่า กมธ.เสียงข้างมาก เห็นควรให้ สสร. มีจำนวน 200 คน และให้มาจากการเลือกตั้ง โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งแบบ "1 คน 1 เสียง" และได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการยกร่างบทบัญญัติให้มีความเชื่อมโยงให้ถูกต้องกับตามมติของที่ประชุม
เมื่อย้อนดู "หมวด 2 พระมหากษัตริย์" ที่กำลังกลายเป็นประเด็นต้องห้ามแก้ไข รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ได้กำหนดแตกต่างจากอดีต เรียกได้ว่าการแก้ไขหมวด 2 มีมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้ และมีลักษณะเป็นการขยายพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต
หลังกรรมการสิทธิฯ ถูก "เซ็ตซีโร่" เมื่อปี 2560 และชุดรักษาการก็ทยอยลาออก บทบาทขององค์กรนี้ก็หายหน้าไปในความขัดแย้งทางการเมือง ส่วนการสรรหาชุดใหม่ก็ช้า เพราะสภาของ คสช. "ไม่เห็นชอบ" ให้ใครมานั่งตำแหน่งนี้กันง่ายๆ จนกระทั่งลงมติไปสี่รอบจึงได้มา 6 จาก 7 คน และกำลังจะเริ่มงานแล้ว
ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนแถลงข่าวในหัวข้อ “หยุดใช้อำนาจนอกกฎหมาย หยุดใช้ความรุนแรง และหยุดใช้การดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรม” เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนในการยับยั้งการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ และหยุดวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิดของเจ้าหน้าที่ รวมถึงเรียกร้องมาตรฐานการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการดูแลการชุมนุม