Articles

SEASON2
เปิดสภาพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญ ภาคสอง มีร่างถึง 13 ฉบับ ข้อเสนอทั้งจากพรรคฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างมีจุดร่วมเรื่อง แก้ไขระบบเลือกตั้ง เพิ่มสิทธิกระบวนการยุติธรรม เสนอปิดสวิตช์ ส.ว. แต่รายละเอียดที่ต่างกันก็มีอีกมาก ดูสรุปทั้ง 13 ฉบับ ได้ที่นี่  
Editorial
ศึก #แก้รัฐธรรมนูญ ภาคสอง แบบ "รายมาตรา" มีร่างถึง 13 ฉบับ ประเด็นยิบย่อยมากมาย ฝ่ายค้านก็ไม่สามัคคี ฝ่ายรัฐบาลก็แยกกันเสนอ ขอประชาชน "โฟกัส" ให้มั่นคง เป้าหมายปลายทางยังคงเป็นการ "เขียนรัฐธรรมนูญใหม่" โดยประชาชน ซึ่งต้องรื้อถอนอำนาจคณะรัฐประหารออกก่อน หากการแก้ไขไม่ไปหาเป้าหมายนี้ ก็ไม่ใช่ทางออกของประเทศ
เมื่อเด็กหรือเยาวชนถูกดำเนินคดี พวกเขาจะถูกดำเนินคดีในศาลเยาวชนและเยาวชน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินคดีที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ โดยพ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯที่เป็นกฎหมายกำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดีกับเด็กหรือเยาวชนมีเจตนารมณ์และบทบัญญัติที่มุ่งฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนที่ทำความผิดทางอาญามากกว่ามุ่งลงโทษ
PPRP
ข้อเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในภาคสองจากพรรคพลังประชารัฐ แยกได้เป็น 5 ประเด็น 13 มาตรา เพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรม แก้ไขระบบเลือกตั้งยกเลิกการทำ Primary Vote กลับไปใช้คล้ายกับปี 2540 ลดความเข้มงวดกลไกปราบโกง
Public Hearing
การพิจารณาคดีโดยเปิดเผย (Public Trial) มาคู่กันเสมอกับสิทธิการเข้าถึงการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Right to a Fair Trial) ครอบครัว ญาติ เพื่อนฝูง องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน หรือประชาชนคนทั่วไป ต้องสามารถเข้าไปร่วมรับฟังกระบวนการไต่สวนในศาลได้  
Pride Month Seminar
10 มิถุนายน 2564 กลุ่ม Nitihub จัดงานเสวนาวิชาการออนไลน์ในหัวข้อ "LGBTQI+ มีพื้นที่แค่ไหนในสังคม ?" ประกอบด้วยวิทยากรหลักห้าคน ได้แก่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ รองศาสตราจารย์มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล เคท ครั้งพิบูลย์ ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ศิริศักดิ์ ไชยเทศ และอัครวัฒน์ เลาวัณย์ศิริ พูดคุยกันถึงประเด็นปัญหาทางสังคม-กฎหมาย ที่ยังไม่เปิดพื้นที่แก่ LGBTQI+
judge and prosecutor examination
ระบบการสอบคัดเลือกผู้พิพากษา-อัยการในประเทศไทยแบ่งการสอบออกเป็นสามประเภท แบ่งตาม "วุฒิการศึกษา" ประกอบกับสถิติผู้สอบผ่านแต่ละสนามที่แตกต่างกันมาก ทำให้เกิดคำถามว่า แท้จริงแล้ว โอกาสที่คนธรรมดาจะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา-อัยการมีมากน้อยเพียงใด
นับจนถึงวันที่ 4 มิถุนายน 2564 มีผู้ต้องขังติดเชื้อในเรือนจำแล้วไม่น้อยกว่า 28,833 คน คิดเป็นร้อยละ 20.15 จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วประเทศจำนวนทั้งหมด 143,116 คน ที่ผ่านมาการรายงานตัวเลขผู้ต้องขังติดเชื้อมีความไม่ขัดเจนในรายละเอียดเช่น จำนวนสะสมของศบค.และกรมราชทัณฑ์ที่ไม่ตรงกัน
Chulabhorn royal academy act
ในยุคสภาแต่งตั้ง สนช. ได้ออกพ.ร.บ.เพื่อจัดตั้งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ขึ้นในปี 2559 และแก้ไขโครงสร้างตำแหน่งสำคัญในปี 2560 ด้วยเสียงเอกฉันท์ทั้งสองรอบ โดยให้เป็นองค์การมหาชน ไม่ใช่ส่วนราชการ มีระบบบริหารงานอิสระ ได้รับงบประมาณจากรัฐ ก่อนจะออกประกาศให้มีบทบาทจัดการวัคซีนโควิดในปี 2564
7yearsCON
หลัง คสช. ทำการรัฐประหารมาเป็นเวลากว่า 7 ปี คำสัญญาที่ว่าจะคืนอำนาจให้กับประชาชนถูกทดแทนด้วย “รัฐธรรมนูญ ปี 2560” ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่คนของคสช. เป็นคนร่าง และเต็มไปด้วยกลไกสืบทอดอำนาจอย่างเข้มข้นอีกทั้ง หนทางในการจะออกจากวังวนอำนาจของคสช. ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ก็เต็มไปด้วยอุปสรรค ตลอด 7 ปีที่ผ่านจึงเป็น 7 ปี ที่คสช. พยายามรักษาฐานอำนาจผ่านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และไม่ยอมให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง