ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ "รื้อระบอบประยุทธ์" ของกลุ่ม Re-solution เสนอให้ “ยกเลิกวุฒิสภา” เปลี่ยนมาใช้เป็นระบบ “สภาเดี่ยว” กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. “รื้อ” ที่มาองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งหมด รวมทั้งออกแบบกลไกใหม่ที่หวังจะป้องกันไม่ให้การรัฐประหารเกิดขึ้นได้อีก
แม้นักบวชของพุทธศาสนา จะมีจุดมุ่งหมายคือการเข้าสู่โลกแห่งธรรม และมุ่งถึงนิพพาน แต่ชีวิตและสถานะความเป็นภิกษุสงฆ์ในรัฐไทยก็ไม่แยกขาดออกจากเรื่อง “ทางโลก” เสียทีเดียว เมื่อรัฐไทยยังกำกับการปกครองคณะสงฆ์ มีกฎหมาย-กฎมหาเถรสมาคมมากำหนดเรื่องการพ้นจากสถานะความเป็นภิกษุสงฆ์ หรือการสละสมณเพศ
ร่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ กำหนดว่าการผ่านประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะต้องได้เสียงข้างมากสองชั้น ขณะที่หากเป็นประชามติในประเด็นอื่นๆ กำหนดให้ “ใช้เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียประชามติ” ซึ่งการกำหนดเช่นนี้มีความเหมือนและต่างจากกฎหมายประชามติในอดีต
5 เมษายน 2564 เวลา 13.30 - 16.30 น. ศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับโครงการบัณฑิตศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน จัดงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ "เสรีภาพทางวิชาการ ในสภาวะเสื่อมถอย"
ศาลรัฐธรรมนูญถูกก่อตั้งขึ้นครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 2540 ด้วยความคาดหวังว่า ศาลจะเป็นองค์กร "พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" ทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาททางกฎหมายหรือตรวจสอบอำนาจรัฐให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ แต่ทว่า หลังวิกฤติการเมืองที่เริ่มต้นในปี 2549 เป็นต้นมา ศาลรัฐธรรมนูญค่อยๆ ขยายบทบาทและเข้ามาเป็นผู้เล่นทางการเมืองเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มที่เป็นปรปักษ์กับพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมากจากประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการล้มรัฐบาล หรือ การสร้างสูญญากาศทางการเมืองเพื่อเปิดทางไปสู่การรัฐประหาร ด้วยเหตุนี้ ศาลรัฐธรรมนูญที่ควรจะเป็นผู้ยุติข้อพิพาทก็กลับกลายไปเป็นผู้สร้างข้อพิพาททางการเมืองจนนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา
สืบเนื่องจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็มที่เนื้อความไม่ได้ระบุว่ารัฐสภาจะทำประชามติได้ในขั้นตอนใด การตีความทั้งในแวดวงวิชาการ แวดวงผู้มีประสบการณ์ยกร่างรัฐธรรมนูญ และในบรรดาสมาชิกรัฐสภาเอง จึงแตกต่างหลากหลายและยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่ารัฐสภาจะลงมติในวาระที่สามนี้หรือไม่
17 มีนาคม 2564 ที่ประชุมร่วมของรัฐสภามีมติเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ..... ในวาระสาม เพียง 208 เสียง ซึ่งไม่เกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา จึงเป็นผลให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป หลังมีการหารือและอภิปรายกันมายาวนานมากกว่า 12 ชั่วโมง ว่าจะมีการลงมติร่างรัฐธรรมนูญในวันนี้หรือไม่ เพราะมีการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปในแนวทางที่แตกต่างกัน แต่ในท้ายที่สุด เสียงข้างมากของรัฐสภาก็มีมติให้เดินหน้าลงมติวาระสามร่างรัฐธรรมนูญในวาระสาม
28 มี.ค.64 ถือเป็นอีกหนึ่งนัดหมายสำคัญของประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลทั่วประเทศต้องออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล หรือ สท. หลังจากห่างหายไปนานกว่า 6 ปี นับตั้งแต่ที่ คสช.เข้ามาทำการรัฐประหารยึดอำนาจ
หลังจากสภามีมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญวาระที่สองเสร็จสิ้นไปแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการพิจารณาในวาระสามซึ่งเป็นวาระสุดท้าย หากรัฐสภามีมติเห็นชอบก็ให้ดำเนินการเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป แต่ทว่าเกมส์การแก้รัฐธรรมนูญในวาระสามไม่ใช่เรื่องง่าย หาก ส.ว.หรือพรรคฝ่ายค้านรวมตันกันไม่เห็นด้วย
1 มีนาคม 2564 โภคิน พลกุล แกนนำกลุ่มสร้างไทย ได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีสมาชิกรัฐสภาจำนวน 73 คนและมติของรัฐสภาที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเรื่องหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา